มีฟอร์เวิร์ดเมลบอกว่า
น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีกำลังคุกคามสุขภาพคนไทย
แม่เรารู้จักกับเจ้าของผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช ตัวเจ้าของเค้ายังไม่กินเลย
ยังให้แม่บ้านเจียวน้ำมันหมูทำอาหารเหมือนเดิมค่ะ ก้อลองอ่านดูละกันนะ
เมื่อข้าพเจ้าเป็นเด็ก จะเห็นแม่สาละวนกับการเจียวน้ำมันหมูทุกๆ ๗ วัน เพื่อใช้ผัดกับข้าวให้พวกเรา รับประทาน น้ำมันหมูนี้มันเก็บได้ไม่นานเพราะไม่มีตู้เย็นเหมือนปัจจุบัน อีกทั้งการใช้ก็ตักทีละน้อย เพราะน้ำมันที่ผัดหรือทอดแล้วจะดำ และเหม็นหืนง่าย แต่พอข้าพเจ้าเป็นวัยรุ่น บรรดานักวิชาการสุขภาพ ก็เริ่มประกาศความมีพิษภัยของน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าว โดยโฆษณาชุดแรกๆ ก็เน้นที่ความไม่เป็นไข (แข็งตัว) เมื่ออุณหภูมิเย็นตัวลง ของน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี เมื่อเทียบกับน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าว โดยโฆษณาเน้นเรื่อง คอเลสเตอรอล ให้คนดูตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพเรื่อง โรคหลอดเลือด และหัวใจ
จะด้วยความโง่หรืออ่อนต่อโลกก็มิทราบได้ ทั้งน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวมิได้จับตัวเป็นไขในร่างกายคน เพราะอุณหภูมิสูงถึง ๓๗ องศาc (น้ำมันทั้ง ๒ ชนิดจะเป็นไขที่อุณหภูมิต่ำกว่า ๒๕ องศาเซลเซียส) แต่ข้าพเจ้าก็เปลี่ยนน้ำมันทั้ง ๒ ชนิดที่เคี่ยวเองได้หันมากินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี (Refined, Bleached, Deodorized) ด้วยความเชื่อนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่ารู้จริง รู้ดี จึงกล้าแนะนำประชาชน
หลายสิบปีผ่านไป การตรวจเลือดหาปริมาณคอเลสเตอรอล ยังคงได้ตัวเลขสูงกว่าค่าเฉลี่ยมากขึ้นทุกปี ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าก็ไม่อ้วน หรือน้ำหนักเกินดัชนีมวลกาย และได้เลิกใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าวไปนานแล้ว อีกทั้งร้านอาหารทุกแห่งไม่ว่าริมถนนหรือภัตตาคารก็ไม่มีใครทำน้ำมันใช้เอง อีกแล้ว
หลายสิบปีผ่านไป การตรวจเลือดหาปริมาณคอเลสเตอรอล ยังคงได้ตัวเลขสูงกว่าค่าเฉลี่ยมากขึ้นทุกปี ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าก็ไม่อ้วน หรือน้ำหนักเกินดัชนีมวลกาย และได้เลิกใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าวไปนานแล้ว อีกทั้งร้านอาหารทุกแห่งไม่ว่าริมถนนหรือภัตตาคารก็ไม่มีใครทำน้ำมันใช้เอง อีกแล้ว
แม่ของข้าพเจ้าป่วยตายด้วยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มหัวใจเมื่ออายุ ๘๑ ปี แต่ข้าพเจ้ากลับป่วยด้วยอาการ ของโรคไต (nephrosis) และมีอาการคล้ายกับเป็นแผลเบาหวานทั้งๆ ที่ น้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ๘ ชั่วโมงเพียง ๙๐ หน่วย (mg./dl) ดังนั้นแผลที่หายยากนั้นจึงเรียกว่า"โรคเส้นเลือดฝอยอักเสบเรื้อรัง"
ข้าพเจ้า โชคดีที่พบสาเหตุและยาแก้ แม้ว่าจะเป็นยาสมุนไพรที่กินยาก แต่ข้าพเจ้าก็หายได้เพราะความอดทน เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ข้าพเจ้าเลิกกินอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีนาน ๑ ปี ระดับคอเลสเตอรอล ก็ลดลงต่ำกว่า ๑๕๐ มก./ดล.(ค่าปกติ ๑๕๐-๒๐๐ มก./ดล.) ทั้งๆ ที่ น้ำมันพืชทุกชนิดมักจะอ้างว่าไม่มี คอเลสเตอรอลก็ว่าได้
ข้าพเจ้า ได้ตั้งคำถามถึงสาเหตุที่ข้าพเจ้าเป็นโรคไต แล้วค้นคว้าจนพบความจริงว่า น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี นี้แหละเป็นต้นเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้าป่วย เพราะกินน้ำมันนี้วันละ ๓ มื้อ มากกว่าอาหาร หรือ ยาชนิดใดใด และ น้ำมันพืชฯนี้มันถูกเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated) ทำให้ทอดอาหารได้กรอบอร่อย ใช้ได้หลายครั้ง ไม่เหม็นหืน แต่ก็เป็นกรดไขมันอิ่มตัวสูง เพราะโครงสร้างเคมีเปลี่ยนไปหลังผ่านกรรมวิธี เมื่อกินเข้าไป ในร่างกาย กลายเป็นคราบทำให้น้ำซึมผ่านไม่ได้ ไม่เหมือนอย่างน้ำมันมะพร้าวที่คั้นน้ำกะทิแล้วเคี่ยว จนเป็นน้ำมัน แม้น้ำมันมะพร้าวจะมีสัดส่วนไขมันอิ่มตัวสูง แต่ก็ไม่เปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางเคมี เพราะใช้ความร้อนสูง อีกทั้งยังละลายน้ำได้ จึงไม่เป็นคราบฝังแน่นในลำไส้และหน่วยไต
ท่านอาจจะยังไม่เชื่อ ข้าพเจ้า จึงอยากให้ทดลองเองที่บ้าน นำน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธียี่ห้อไหนก็ได้ ลองใส่ภาชนะแล้วตากแดดให้อุณภูมิใกล้เคียงกับภายในของมนุษย์ แล้วตรวจดูความเหนียวหนึบของมัน ลองกับน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวเอง แล้วเปรียบเทียบกัน แม่บ้านหลายคนกล่าวว่าการล้างจานชาม ที่เปื้อนน้ำมันหมู น้ำกะทิ และน้ำมันมะพร้าว ทำได้ง่ายกว่า น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีมาก
คราบเหนียวหนึบยึดติดนี้ จะเกิดในลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หลอดเลือดฝอยไต ( ติดในหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ติดในหลอดเลือดฝอยไต ทำให้เป็นโรคไต วายเรื้อรัง ) จะเห็นได้ว่าปีหนึ่งๆ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจเป็นอันดับหนึ่ง ติดตามด้วย โรคมะเร็ง
เมื่อน้ำไม่สามารถซึมผ่านคราบน้ำมันในลำไส้เล็ก ร่างกายก็จะขาดน้ำซึ่งควรจะมีอยู่ ๒/๓ ของน้ำหนักตัว สารละลายน้ำเช่นวิตามินบี ซี กรดอมิโน ก็จะกลายเป็นภาระของไตต้องกรอง ไตทำงานหนักมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรากินมากขึ้นตามความเรียกร้องของสมอง เพราะร่างกายที่ขาดสารอาหารละลายน้ำ ยิ่งกินมาก น้ำมันก็ยิ่งอุดตัน ไตก็ทำงานหนักขึ้นอีก แนวโน้มคนป่วยโรคไต ไตวายเรื้อรังมีมากถึง ๒๒ ล้านคน ถ้าไม่หักคนป่วยที่ตายไปแบบเฉียบพลันหรือที่เรียกว่า โรคไหลตาย และไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ต้องฟอกไต (๓ ปี) แล้วตาย ประมาณว่า กึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะป่วยเป็นโรคไตใน ๑๐-๒๐ ปีขึ้นอยู่กับอัตราการบริโภคน้ำมันพืชฯ ส่วนอีกกึ่งหนึ่งก็ตายเพราะโรคมะเร็ง เพราะสารอาหารสำคัญที่ ละลายน้ำไม่ถูกดูดซึมเป็น ๑๐ ปี ( สังเกตจากกรณีพระประชวรของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ ที่ทรงเสวย พระกระยาหารแบบเรียบง่าย เหมือนพสกนิกรทั่วไป หลังจากเคยหายจากโรคมะเร็งไปนานถึง ๑๐ ป ี)
คนไทยร้อยละ ๗๐ กำลังเป็นโรคอ้วน เพราะการบริโภคน้ำมันพืชฯ ค่าเฉลี่ยการบริโภคน้ำมันพืชฯ ต่อคนต่อเดือนสูงถึง ๑.๑ กก. หรือประมาณ ๑ ลิตร นั้นหมายความว่ามีคนเมืองจำนวนมาก ที่กินน้ำมันพืช มากกว่า ๑.๑ กก. เพราะในชนบทห่างไกล คนไทยจำนวนหนึ่งมิได้ใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี แต่ใช้น้ำมันหมูบ้าง น้ำมันมะพร้าวบ้าง
ในราวต้นปี ๒๕๕๐ บริษัทฟ้าสฟู้ด KFC ในต่างประเทศ ได้ประกาศเลิกใช้น้ำมันพืชที่เติมไฮโดรเจน โดยไม่บอกเหตุผล จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า เพราะเหตุใดธุรกิจจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสูตรการปรุงอาหาร เพิ่มต้นทุนการผลิตของตนเอง ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงทางการตลาดและกำไรที่ลดน้อยลง
ทำไมน้ำมันพืชผ่าน กรรมวิธีจึงมีอันตรายสะสม? คำตอบก็คือ การสกัดด้วยความร้อนทำให้เกิด การไหม้เกรียมและดำ ทำให้ต้องใช้เคมี เช่น โซดาไฟ ฟอกขาว และการเติมไฮโดรเจนทำให้น้ำมันพืช เก็บไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืนง่าย แต่ไฮโดรเจนก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีทำให้ น้ำมันพืชที่ไม่อิ่มตัว กลายเป็นน้ำมันพืชอิ่มตัว และมีลักษณะหนืดเหนียว จับกุมเป็นก้อนแข็งในอุณหภูมิ ๓๖-๔๐ องศาเซลเซียส
ดร.ณรงค์ โฉมเฉลาได้เขียนบทความ ''น้ำมันมะพร้าวและกะทิเป็นอันตรายหรือประโยชน์ต่อสุขภาพ' ในวารสาร "เกษตรกรรมธรรมชาติ" ใจความว่าประเทศที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวมีตัวเลขการตาย จากโรคหัวใจและมะเร็ง ต่ำกว่าประเทศที่บริโภคน้ำมันพืชอื่น
แล้วทำไมจึง มีงานวิจัยในอดีตที่กล่าวหาว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นสาเหตุของโรคหัวใจวาย ในอดีต จนทำให้ ใครๆ ต่างหวาดผวาน้ำมันมะพร้าว และเชื่อว่าน้ำมันมะพร้าวมีไขมันอิ่มตัวสูง มีคอเลสเตอรอลสูง ดร.ณรงค์กล่าวว่า American Soybean Association ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในอเมริกา วิจัยผลเสียของน้ำมันมะพร้าว เพื่อส่งออกถั่วเหลืองในตลาดโลก
ข้าพเจ้าอยากเตือนคนไทยทั้งหลาย โปรดสำรวจตนเองว่าท่านกินน้ำมันวันละซีซี มันระบายออกมา ได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าท่านไม่หยุดกิน โรคไต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคความดันเลือดสูง โรคมะเร็ง ฯลฯ จะมาเยือนท่านไม่ช้าก็เร็ว
นิตยสาร หมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒๙๑ ก.ค.๒๕๔๖ ลงบทความ "น้ำมันพืชใช้อย่างไรให้ถูกต้อง และปลอดภัย" แนะนำว่า การผัดอาหารควรใช้ น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว แต่หากจะทอดอาหารแล้วควรใช้ น้ำมันพืช หรือสัตว์ ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เพราะการทอดใช้ความร้อนสูง และจุดเดือดน้ำมันพืชประมาณ ๑๘๐ องศาเซลเซียส จะเกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายหลายชนิด เรียกรวมๆ ว่า โพลาร์คอมเพาวด์ (Polar Compound)
สารเคมีชนิดนี้ข้าพเจ้าเคยพบด้วยกลิ่นที่ทำให้แสบจมูก มีพ่อค้าทอดขนมกู๋ไช่คนหนึ่ง มีอาการตาพร่ามัว จึงไปพบจักษุแพทย์ และได้รับคำแนะนำให้เลิกอาชีพขาย อาหารทอด อาหารผัดอย่างถาวร มิฉะนั้น จะตาบอดได้
ทำไมน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อย่างน้ำมันหมู และน้ำมันมะพร้าว จึงเหมาะแก่การทอด?
คำ ตอบก็คือ น้ำมันทั้งสองชนิดนี้เป็นน้ำมันที่มี กรดไขมันอิ่มตัวสูง (น้ำมันหมู ๔๐% น้ำมันมะพร้าว ๘๘%) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่จับกับธาตุคาร์บอน (C) ในลักษณะแขนเดี่ยว (single bond) เมื่อโดนความร้อนสูงก็ทำให้อาหารกรอบ อร่อย ไม่มีสารเคมีเป็นพิษ และน้ำมันที่ใช้ทอดแล้วก็เก็บ ไว้ทอดซ้ำเกิน ๒ ครั้งไม่ได้เพราะจะดำและเหม็นหืน ซึ่งผิดกับน้ำมันพืชอื่นๆ ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งมีโครงสร้างเคมีเป็น แขนคู่ (double bond) ในการจับกับธาตุคาร์บอน จึงสามารถจับกับ ธาตุไฮโดรเจนเพิ่มได้อีก ๒ อะตอม จึงเหมาะกับการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) ซึ่งเรียกว่า Trans Fatty Acid (TFA)
'Trans' นี้เป็นผลลัพท์ของความพยายามที่จะทำให้น้ำมันพืช มีลักษณะเหมือน น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ที่ทำให้อาหารทอด กรอบอร่อย แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน มะเร็งเต้านม เพราะน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธี เหล่านี้ไม่สามารถขับ ออกจากร่างกาย ได้ง่ายๆ เหมือนน้ำมันมะพร้าวที่ละลายน้ำได้
บางคนที่เป็นปู่ย่าตายายในขณะนี้ (อายุ ๗๐ ปีขึ้นไป) จะบอกกล่าวว่า พ่อแม่ของท่านใช้น้ำมันหมู และน้ำมัน มะพร้าวทำอาหาร และท่านก็มีอายุถึง ๙๐ ปีกว่า ก่อนเสียชีวิต ไม่ได้กินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเลย แต่ก็มีอายุยืนยาวได้ ในทางกลับกัน คนไทยในสมัยนี้กินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีมานานกว่า ๓๐ ปี กลายเป็น โรคเบาหวานกันทั่วประเทศ ทุกหมู่บ้าน เด็กๆ ก็กลายเป็นโรคอ้วน เบาหวานในเด็ก ก็ลุกลามใหญ่โต จนใน ปีนี้องค์การเบาหวานโลก ได้เน้นการรณรงค์เบาหวานในวัยรุ่น ปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นในโลก ไม่น้อยกว่า ๕ ล้านคน
สารเคมีที่กิน เข้าไปคือ polar compound ยังไม่มีใครประกาศออกมาเลยว่ามีผลร้ายอย่างไร แต่ที่แน่ๆ คือ มันหนืดเมื่อโดนความร้อนสูง และติดหนึบหนับในลำไส้เล็กของเรา จนทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึม สารอาหารที่ละลายน้ำ เช่น กรดอมิโน วิตามินบี ซี เป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วยต่างๆโดยเฉพาะ การเจ็บป่วยแบบสะสม ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งยากต่อการสังเกตเห็น
บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมบทความนี้ เชียร์แต่น้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวเคี่ยวเอง น้ำมันปาล์ม ก็มีระดับกรดไขมันอิ่มตัวสูงถึง 48% ไม่เหมาะกับการทอดหรืออย่างไร? จริงๆ แล้วก็เหมาะสม ถ้าผ่านการหีบเย็น แต่น้ำมันปาล์มที่ขายอยู่นั้นผ่านกรรมวิธี refined,bleached,deodorized จึงมี polar compound เมื่อทอด
น้ำมันพืช ที่ได้จากการสกัดแบบธรรมชาติ คือ หีบเย็น (Cold press) หรือ การบีบคั้นโดยไม่ใช้ความร้อน ส่วนใหญ่แล้วดี มีคุณค่าทางโภชนาการ แต่เมื่อเอาไปดัดแปลงทางเคมี เติมไฮโดรเจนเข้าไปก็เลยเป็นโทษ น้ำมันพืชที่หีบเย็นถ้านำมากินโดยไม่ผ่านการผัด การทอดก็จะได้สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย สปาหลายแห่งจึงนำไปใช้เสริมสวย บำรุงผิวให้ลูกค้า
นิตยสาร'เกษตรกรรมธรรมชาติ' ฉบับ ๒/๒๕๔๘ บทความพิเศษ "น้ำมันมะพร้าวและกะทิเป็นอันตราย หรือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ"โดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา กล่าวไว้ว่า "น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันพืชที่ ประเทศต่างๆ ในเอเซียและแปซิฟิคใช้เป็นแหล่งพลังงาน และการหุงหาอาหารมาช้านาน โดยไม่ปรากฎ อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2521 ประเทศ ศรีลังกา เป็นเทศที่ใช้น้ำมันมะพร้าว มากที่สุดประเทศหนึ่ง มีอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ อุดตันเพียง ๑ในแสนคน เปรียบเทียบกับ ๑๘๗ ในแสนคนในประเทศที่ไม่ได้ใช้น้ำมันมะพร้าว"
ดร.ณรงค์ยังกล่าวด้วยว่า "น้ำมันมะพร้าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงระดับโคเลสเตอรอลในเลือด เนื้อมะพร้าว กับน้ำมะพร้าวลดระดับโคเลสเตอรอลอย่างมีนัยสำคัญ น้ำมันมะพร้าวเพิ่มปริมาณของ High density lipoprotein (HDL) ได้มากกว่าน้ำมันถั่วลิสง น้ำมันมะพร้าวไม่เพิ่มอัตราส่วนของ LDL ต่อ HDL ในขณะที่ไปลดระดับของไตรกลีเซอไรด์"
ข้าพเจ้าคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องเชื่อมั่นในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย แม้ว่าท่านทั้งหลาย จะไม่ได้บันทึกการทดลองทางเคมี ชีวะ ไว้ให้เราศึกษา แต่อย่าลืมว่าท่านได้ใช้ร่างกายของท่าน ทดลองเพื่อพวกเรามานานแสนนานแล้ว
ข้าพเจ้าได้คัดลอกความเห็นตอบกระทู้ของ ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา มาเพื่อท่านจะได้อ่านสะดวกดังนี้ :
คน ไทยใช้กะทิประกอบอาหารหวานคาวมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยไม่ปรากฎว่ามีใครเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน จนกระทั่งเราเปลี่ยนมาบรโภคนำมันไม่อิ่มตัว กะทิกับน้ำมันมะพร้าว เป็นสารตัวเดียวกัน แต่อยู่ในรูปต่างกัน มีข้อดีคือ
๑. มีความอิ่มตัว ทำให้ออกซิเจน และไฮโดรเจนเข้าแทรกไม่ได้ จึงไม่เกิด trans fat และไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งและทำอันตรายต่อเซลในร่างกาย
๒. เป็นโมเลกุลขนาดกลาง จึงเคลื่อนย้ายในร่างกายได้รวดเร็ว จากกระเพาะไปลำไส้ และเข้าไปเปลี่ยนเป็นพลังงานในตับ จึงไม่สะสมเป็นไขมัน ดังเช่นน้ำมันไม่อิ่มตัว
๓. มีภูมิคุ้มกันเกิดจากกรดลอริก ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกันกับนมแม่ที่ช่วยให้ทารกมีภูมิคุ้มกันโรค อีกทั้งยังทำลายเชื้อโรคแทบทุกชนิดได้
๔. มีวิตามินอี ที่มีอานุภาพช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เข้ามาทำลายเซลล์ ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และโรคแห่งความเสื่อมอีกหลายโรค มีประจักษพยานมากมายจากชนชาติ ที่บริโภคกะทิ และน้ำมันมะพร้าวมาเป็นเวลานับพันปี โดยไม่มีผู้ใดเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ฯลฯ จนกระทั่งพวกเราหันไปบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัวภูมิปัญญาของคนไทยคือการใช้กะทิ ในอาหารไทย ช่วยให้ปลอดโรค ร่างกายแข็งแรง และไม่อ้วน เกือบ ๓๐ ปีมาแล้วที่เราถูกเขาหลอกให้บริโภค น้ำมันไม่อิ่มตัว เพราะผลประโยชน์อันมหาศาล แต่ได้ทำลายอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าวและกะทิของเรา รวมทั้งรายได้ของชาวสวนมะพร้าว ตลอดจนต้องเสียเงินอีกมาก ในการสั่งซื้อน้ำมันไม่อิ่มตัวเข้ามาบริโภค และในการรักษาโรคที่เกิดจากการบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว ถึงเวลาแล้วที่เราจำต้องตอบโต้ กับการปรักปรำกะทิและน้ำมันมะพร้าว และรณรงค์ให้คนไทยหันกลับมาบริโภคกะทิ ดังที่บรรพบุรุษของเราได้ปฏิบัติมาเป็นแล้วช้านาน
สำหรับเมล์นี้ประเด็นที่น่าสนใจนำมาวิเคราะห์คือ น้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหารกันอยู่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ มีpolar compoundอยู่ในน้ำมันพืชก่อนทอดจริงหรือไม่ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าวและกะทิมีประโยชน์หรือไม่ ควรเลิกใช้น้ำมันพืชแล้วกลับไปใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าวดีหรือไม่ ไขมันอิ่มตัวเป็นประโยชน์หรือให้โทษกันแน่ เรื่องคุณประโยชน์และโทษของน้ำมันชนิดต่างๆนี้มีความสับสนอยู่มาก แม้ในหมู่นักวิชาการหรือแพทย์ก็ตาม บ้างก็ว่าน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มมีโทษ บ้างก็ว่ามีประโยชน์
ดังนั้นการที่จะดูว่าน้ำมันปรุงอาหารชนิดใดดีหรือไม่นั้นจึงควรดูจากส่วน ประกอบต่างและคุณสมบัติของน้ำมันแต่ละชนิด เช่น ในน้ำมันจากทั้งพืชและสัตว์จะมีกรดไขมันทั้งชนิดอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่ม ตัว แต่ในน้ำมันจากสัตว์จะมี cholesterol อยู่ด้วย ส่วนในพืชไม่มีcholesterol หรือมีก็น้อยมาก
กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) มีมากในน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมูซึ่งโครงสร้างของไขมันจะเป็นแบบมีแถบคาร์บอนยาว มีคาร์บอนอยู่ 16-18 ตัว( long chain carbon) ต่างกับกรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม (มีเฉพาะใน palm kernel oilซึ่งสกัดมาจากเมล็ดปาล์ม ส่วน palm oil และ palm oleinซึ่งสกัดมาจากเนื้อปาล์ม ไม่มี) ซึ่งโครงสร้างเป็นแบบมีแถบคาร์บอนยาวปานกลาง มีคาร์บอนอยู่ 10 - 12 ตัว( medium chain carbon) ซึ่งอยู่ในรูปของกรด lauric ความแตกต่างของน้ำมันในเรื่องความยาวของสายคาร์บอนนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่าง หนึ่งซึ่งจะได้กล่าวต่อไป กรดไขมันอิ่มตัวจะมีจุดเดือดของน้ำมันสูงกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว
กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) มีอยู่ 2 ชนิดคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว(Mono unsaturated)ในรูปของ กรด oleic และกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (poly unsaturated )ในรูปของกรด linoleic (โอเมก้า6) และในรูปของกรด alpha linolenic (โอเมก้า 3) กรดไขมันไม่อิ่มตัวทุกชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3 มากเกินไปก็จะเกิดโทษ (ดูเรื่องโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6)
กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated fatty acid, MUFA) เป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีความคงตัวสูง ทำปฏิกริยากับออกซิเจนในอากาศน้อย เกิดสารอนุมูลอิสระไม่มาก ไม่ใคร่เหม็นหืน ทนความร้อนได้สูง เหมาะใช้ปรุงอาหารประเภททอดหรือผัดที่ใช้เวลานาน ๆ กรดไขมันชนิดนี้ตัวอย่าง เช่น โอเลอิก (Oleic acid ) ซึ่งพบมากในน้ำมันพืชต่อไปนี้ คือ มะกอก, คาโนลา, ถั่วลิสง, งา ปาล์มโอเลอิน (สกัดจากเนื้อปาล์ม มิใช่เมล็ดปาล์ม), ดอกคำฝอยแปลง และเมล็ดทานตะวันแปลง MUFA นี้ ช่วยลดโคเลสเตอรอล ลด LDL-C และเพิ่ม HDL-C ป้องกันเส้นเลือดตีบได้
กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง หรือกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Poly unsaturated (linoleic -โอเมก้า6 และ alpha linolenic-โอเมก้า 3) เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง พบได้ในน้ำมัน safflower น้ำมันงา น้ำมันข้าวโพด น้ำมันฝ้าย และน้ำมันถั่วเหลือง ไขมันชนิดนี้ลดระดับ LDL เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากมากไปก็จะไปลดระดับ HDL ด้วย
ไขมันทรานซ์ (Trans Fats or Hydrogenated Fats หรือ partially Hydrogenated Fats )
ไม่ได้เป็นไขมันมีอยู่ตามธรรมชาติแต่เป็นไขมันที่คนเราทำขึ้นมา โดยการใส่ไฮโครเจนเข้าไปในน้ำมันพืช เพื่อให้มีความคงตัว เก็บไว้ได้นานขึ้น และมีรสชาติของน้ำมันที่ดีขึ้น เนื่องจากไฮโดรเจนที่เติมเข้าไปนี้จะเติมเข้าไปเกาะกับสายคาร์บอนในไขมัน เพียงบางส่วนจึงเรียกอีกชื่อว่า partially Hydrogenated Fats แต่หากเติมไฮโดรเจนให้ไปเกาะกับสายคาร์บอนทุกสายเป็น fully hydrogenated fat แล้วก็จะเกือบไม่มี transfat แต่จะเปลี่ยนเป็นไขมันทิ่อิ่มตัวแทน
ลักษณะของน้ำมันพืชที่ partially Hydrogenated แล้วมีตั้งแต่เป็นของเหลว หรือ เป็นครีมไปจนถึงเป็นไขมันแข็ง แล้วแต่การใส่ไฮโดรเจนหรือการ hydrogenated เข้าไปมากน้อยเพียงใด ยิ่งมากก็จะยิ่งทำให้น้ำมันพืชแข็งตัวขึ้น อาหารที่มีไขมันทรานซ์พบได้ในพวก มาร์การีน หรือน้ำมันซึ่งนำไปทำอาหารประเภทโดนัท อาหารทอด เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ขนมคุกกี้ ขนมคบเคี้ยวและขนมอบต่างๆ ไขมันชนิดนี้มีโทษมากกว่าไขมันอิ่มตัวของสัตว์ โดยไปจะเพิ่มระดับ cholesterol ที่ไม่ดีในร่างกาย โดยเพิ่มทั้ง total cholesterol และcholesterol ที่ไม่ดี( LDL) และไปลดcholesterolที่ดี( HDL)ในร่างกาย จึงควรใช้ไขมันชนิดนี้ให้น้อยที่สุดหรือไม่ใช้เลยจะยิ่งเป็นการดี
ข้อมูลของไขมันทรานซ์นี้กำลังสร้างความตระหนกและตื่นตัวในต่างประเทศว่า ทั้งในยุโรป อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจากผลวิจัยพบว่าไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อ หัวใจและหลอดเลือดมากที่สุดเมื่อเทียบกับไขมันชนิดอื่นๆ ในยุโรปและสหรัฐกำหนดให้ต้องมีฉลากแสดงจำนวนของไขมันทรานซ์ที่มีอยู่ในอาหาร ที่เกินกว่า0.5 กรัม บางประเทศห้ามใช้ไขมันทรานซ์นี้ประกอบอาหารเลย ทำให้ Mcdonal และKFC และบริษัท fast foodอื่นๆ ต้องเปลี่ยนไปใช้น้ำมันสำหรับทอดที่ไม่มีไขมันทรานซ์ ในสหรัฐและยุโรปแล้ว แต่ก็อาจยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่ยังไม่ใส่ใจในเรื่องนี้
ในประเทศไทยยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหาร และยังไม่มีการกำหนดให้ต้องระบุในฉลากผลิตภัณฑ์
No comments:
Post a Comment