นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทความทั่วไป

Wednesday, October 27, 2010

โรคภูมิแพ้จมูก - อันตรายที่คาดไม่ถึง



เมื่อข้าพเจ้าเป็นเด็กก็เคยเป็นโรคภูมิแพ้จมูกอยู่ระยะหนึ่ง แต่ก็ไม่เป็นมากเหมือนเด็กในยุคนี้ เพราะในยุคนั้น มิได้นอนห้องแอร์ เมื่อตื่นนอนก็จะทอดเสื้อเพราะร้อนจนเคยชิน บางวันอากาศเย็นตอนเช้า ก็จะทำให้จามได้ 3-4 ครั้ง แต่เมื่อสั่งน้ำมูกออกแล้ว อาการน้ำมูกไหลเยิ้ม ก็มิได้เป็นอีกในวันนั้น

ในยุคนั้นข้าพเจ้าก็ชอบกินกล้วยแขกทอด ข้าวเม่าทอด หมูทอด และสารพันอาหารทอด เพราะความกรอบ ความมัน ข้าพเจ้ากินกล้วยแขกทีละ 1 ถุง (ใช้กระดาษสมุดนักเรียนใช้แล้วพับ) แต่ก็ไม่เกิดอาการป่วย เจ็บคอ คอแดง คออักเสบ เป็นไข้หวัด แต่อย่างไร มาวันนี้ กว่า 40 ปีแล้วข้าพเจ้าเลือกร้านกล้วยแขกที่ใช้ น้ำมันใหม่เอี่ยมในการทอด และก็กินแต่น้อย 2 ชิ้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อาการคอแดง คออักเสบ เป็นหวัด น้ำมูกไหล และมีไข้
   คำถามก็คือว่า เกิดอะไรขึ้นกับกล้วยแขกในยุคนี้ ทำไมมันมีพิษภัยมากขนาดนั้น เราก็เลือกร้านที่ใช้น้ำมันใหม่ๆ ตามที่แพทย์แนะนำ เหตุไฉนจึงเกิด oxidation ในร่างกายฉันได้

Allergic Rhinitis หรือโรคภูมิแพ้จมูก คือมีความแตกต่างจากโรคหวัด คือ ภูมิแพ้จะเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง น้ำมูกใส จามเพราะคันจมูก คัดจมูก บางครั้งก็มีอาการคันตา มักไม่มีไข้ปน แต่อาจจะไอเรื้อรังเพราะเสมหะ ไหลลงคอ  ส่วนโรคหวัดมักจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกายร่วมด้วย

หันมามองดูเด็กๆ ในกทม.ยุคนี้เป็นภูมิแพ้จมูก
   บางคนก็มีน้ำมูกไหลหยดย้อย บางคนก็สังเกตได้จากเสียง ที่ออกมาเหมือนพูดด้วยปากครึ่งจมูกครึ่งไม่ชัดเจนเหมือนคนจมูกโล่ง   คำถามก็คือเด็กรุ่นใหม่ทำไมจึงเป็น โรคภูมิแพ้จมูกกันมาก

ปัจจัยที่ แพทย์คิดว่าเป็นสาเหตุของการก่อโรคภูมิแพ้ก็คือ ฝุ่น ไรฝุ่น ละอองหญ้า
  เกสรดอกไม้ ฝุ่นควัน จากรถยนต์ การหุงต้มอาหาร และมลภาวะต่างๆในอากาศ แพทย์ธรรมชาติบำบัดบางคนบอกว่า เกิดจาก นมโคเลี้ยงด้วยฮอร์โมนเพศ บางคนให้หันไปดื่มน้ำนมแพะแทนนมโค แต่หมอโบราณไม่เห็นว่า นมโคและ นมแพะจะแตกต่างกัน เพราะเป็นสัตว์กินหญ้าเหมือนกัน

แพทย์แผนปัจจุบันพบว่า ถ้าพ่อหรือแม่เคยเป็นโรคภูมิแพ้ลูกก็มีโอกาสเป็นแบบเดียวกันสูงถึงร้อยละ 50 แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่ เคยเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ ลูกก็มีโอกาสเป็นแบบเดียวกันสูงถึงร้อยละ 70 ทารกที่กินนมแม่ เพียงอย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน พบว่าโอกาสเป็นภูมิแพ้น้อยลง ทารกที่ได้อาหารเสริมตั้งแต่อายุ 4 เดือน มีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้มากกว่าทารกที่ไม่ได้รับอาหารเสริมถึง 3 เท่า

แพทย์แผนปัจจุบันยังพบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เป็นเด็กและวัยรุ่นซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่เหลือก็พบในคนทุกวัย
  โรคภูมิแพ้จมูกนี้มีอาการเรื้อรังและสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่าง มาก และอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ โรคนอนกรน เป็นต้น

แพทย์โบราณมิได้แยกโรคภูมิแพ้จมูกออกจากโรคไข้ หวัด เพราะอาการที่เห็นภายนอกไม่ต่างกัน แล้วก็ไม่เกิดประโยชน์ในการรักษา ข้าพเจ้าได้พบครูแพทย์โบราณคนหนึ่ง ท่านจ่ายยาแก้ไข้พิษขนานหนึ่ง ให้กับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูกเรื้อรัง ปรากฎว่าผู้ป่วยภูมิแพ้เรื้อรังกินยาได้ไม่นานก็หายขาด

ที่ยกตัวอย่างมา มิได้ตั้งใจจะบอกว่าหมอโบราณเก่งกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน เพียงแต่อยากบอกว่า ยังมีผู้ สามารถรักษาโรคที่การแพทย์ตะวันตกไม่รู้จัก หากวินิจฉัยสมุฏฐานโรคได้ถูกต้อง ก็จะรักษาโรคได้

จากการวิจัยของข้าพเจ้าพบว่า คนไทยร้อยละ 80 ใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารที่กินวันละ 3 มื้อ น้ำมันเหล่านี้ หากเป็นน้ำมันที่มีพิษน้อย เช่น น้ำมันมะพร้าว
RBD ที่แม่ค้าเคยใช้ทอดกล้วยแขกเมื่อข้าพเจ้าเป็นเด็กๆ ก็คงไม่ทำให้เกิดโรคต่างๆ มากมายอย่างที่เกิดในปัจจุบัน อาทิ โรคคอแดง คออักเสบ ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ภูมิแพ้จมูก และผิวหนัง โรคไต และไตวายเรื้อรัง โรคพังพืดงอกในที่ต่างๆ ของร่างกาย  เนื้องอก ซีสต์ ตลอดจนโรคมะเร็ง (cancer) ต่างๆ ฯลฯ

น้ำมันพืชในยุคนี้เป็นน้ำมัน
RBD เหมือนกับน้ำมันมะพร้าวในอดีต กล่าวคือ R = refining, B = bleaching,
D = deodorizing แต่ความเป็นพิษแตกต่างกันเพราะ น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเป็นไขมันอิ่มตัวสูง เมื่อเติมเคมีต่างๆ ลงไป โครงสร้างทางเคมีก็ไม่เปลี่ยนแปลงมาก การจับกับเคมีอื่นกลายเป็นสารเคมีใหม่ก็ไม่ เกิดขึ้น ในขณะที่น้ำมันพืชยุคนี้เน้นน้ำมันไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งความไม่อิ่มตัวทำให้มันสามารถจับกับเคมีที่ ผสมเข้าไประหว่างขบวนการ RBD และความร้อนก็ได้ทำให้เกิด Polarization ทำให้โครงสร้างเคมีเปลี่ยน เป็น Trans fat หรือไขมันอิ่มตัวสูงรูปแบบใหม่

Trans fat จะมีคุณสมบัติข้น เหนียวเมื่อได้รับความร้อนที่อุณหภูมิห้อง 35 องศาซีขึ้นไป ในขณะที่น้ำมันหมู และน้ำมันมะพร้าว RBD จะแข็งตัวเป็นไขเมื่ออุณหภูมิ 25 องศาซีลงไป ดังนั้นท่านผู้อ่านคงรู้แล้วว่า Trans fat จะทำอันตรายอย่างไรแก่ร่างกายคน ใน ขณะที่น้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวจะไม่มีวันเป็นไขในร่างกาย คนเรา เพราะถ้าคนไหนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาซีก็หมายถึงความตาย หรือ ศพ

น้ำมันพืช
Trans fat นี้แหละเป็นสาเหตุต้นทางของโรคภูมิแพ้จมูก ถ้าใครมิเชื่อก็ลองงดน้ำมันพืชดูสัก 1 เดือน ดูซิว่าอาการภูมิแพ้จะดีขึ้นไหม กินแต่อาหารต้ม ปิ้ง นึ่ง ย่าง

Trans fat ทำให้ดุลความเป็นกรด-เบสในเลือดผิดปกติ การที่เลือดคนจะกลายเป็นกรดมากขึ้น มักเกิดจาก อดอาหารนานๆ ร่างกายสลายเนื้อเยื่อไขมันออกมาใช้เป็น พลังงานจึงเกิด Ketone acidosis หรือ ภาวะกรดคีโตน ซึ่งภาวะนี้สามารถทำให้คนเสียชีวิตได้ แต่ผู้ที่บริโภคน้ำมันพืชเติมไฮโดรเจน หรือ Trans fat ก็จะค่อยๆ เพิ่มภาวะความเป็นกรดในเลือด ทำให้เลือดข้น คอเลสเตอรอลสูง เพราะเหตุที่หน่วยไตมีความ สามารถขับธาตุไฮโดรเจนอิออนออกได้ช้าๆ ธาตุไฮโดรเจนส่วนเกินจึงปนอยู่ในเลือดเกิดภาวะกรดที่สะสม เป็นเหมือนดินพอกหางหมู หรือเรียกว่า ภาวะป่วยผ่อนส่ง

ความ เหนียว+ความข้น ของน้ำมันพืชในยุคนี้ยังสามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจอุดตัน เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด และทำให้เส้นเลือดฝอยไตอุดตันกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง และสารพัดโรคที่จะตามมา เช่น โรคกรดไหลย้อนกลับ โรคมะเร็งต่างๆ โรคความดันโลหิตสูง

ในเด็กอายุก่อน 9 ขวบที่กินไก่ทอดหมูทอดเป็นประจำ มีสิ่งปกติเกิดขึ้นคือ เด็กชายมีองคชาติสั้นผิดพ่อ และในเด็กหญิงมีระดูมาเร็วกว่าที่ควรจะเป็น คือ มีระดูครั้งแรกอายุ 10-11 ปี ในหลายรายมีระดู ไม่ปกติ มาๆ ขาดๆ ทำให้เกิดโรคพังพืดในรังไข่และมดลูก ทำให้มีบุตรยากในวัยเจริญพันธุ์
  ในเด็กชายเมื่อเข้าสู่ วัยรุ่นเกิดภาวะผิดเพศ อยากเป็นหญิง บางรายก็เป็นเอาตอนแก่ๆ หลังจากมีลูกโตเป็นหนุ่มเป็นสาวกันไปแล้ว ซึ่งน่าจะเกิดจากภาวะ"นกเขาไม่ขัน (Erectile dysfuntion)" อันเกิดจากการพร่องฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน โรคไตและโรคทางเดินปัสสาวะ ทำร้ายระบบสืบพันธุ์ ซึ่งก็เกิดจากการสะสมของน้ำมันพืชเหมือนกัน

ขอย้อนกลับมาที่โรคภูมิแพ้จมูกบ้าง อันตรายที่คาดไม่ถึงก็คือ เมื่อน้ำมันพืชได้อุดตันการดูดซึมสารอาหารที่ ละลายน้ำที่ลำไส้เล็กและหน่วยไตแล้ว สารอาหารต่างๆ ที่เคยเป็นภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย คือ เป็นอาหารของ เม็ดเลือดขาวก็ร่อยหรอ เม็ดเลือดขาวก็กลายเป็นทหารอ่อนแอ ส่วนเม็ดเลือดแดงก็กลายเป็นเสบียงที่อ่อน คุณค่า
  เมื่อเซลล์ร่างกายก่อกลายพันธุ์ก็ไม่มีทหารแข็งแรงและเสบียงที่มีคุณค่าพอ ที่จะรบพุ่งกับสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย  ในรายผู้ป่วยภูมิแพ้จมูก อาการเรื้อรังไม่หายจากน้ำมูกเป็นเวลานานๆ เป็นปีๆ เป็นสัญญาณเตือนว่าถ้ามี การก่อกลายพันธุ์ร่างกายจะไม่สามารถเอาชนะได้  เหมือนอย่างเช่นกรณีที่เป็น แผลภายนอกหากแผลหายยาก ไม่ตกสะเก็ดใน 3-5 วัน  ล่วงถึง 7 วันยังมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มมีการกลัดหนอง ก็เป็นสัญญาณบอกเตือนคล้ายๆ กัน

ในชีวิตของข้าพเจ้าเคยเห็นผู้ป่วย ที่เป็นน้ำมูกไม่หาย แล้วกลับตายเพราะโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ๒ ราย รายหนึ่งอายุ 81 ปี อีกรายอายุเพียง 25 ปี ซึ่งตรงกับการสังเกตการณ์ของหมอโบราณ ซึ่งกล่าวว่า หากใครเป็นไข้หวัดน้อย หรือไข้หวัดใหญ่แล้วรักษาไม่หาย อาจจะกลายเป็นโรคฝีภายในได้

หากใครรักษาโรคภูมิแพ้มานานหลายปีแล้วไม่มีทีท่าจะหายขาด อยากแนะนำว่าควรจะเปลี่ยนไปปรึกษา หมอโบราณที่รู้วิธีการรักษาโรคนี้
  ดีกว่ารอวันที่โรคแทรกจะปรากฎขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นคงยากแก่การเยียวยา



รักษาโรคแบบองค์รวม



การแพทย์ทางเลือก (Alternative medication) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในบรรดาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาทิ โรคปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคมะเร็ง ฯลฯ

การแพทย์ทางเลือกมีมากมายหลายสาขา ตั้งแต่ Medical spa, การนวดแผนโบราณ การอบสมุนไพร การฝังเข็ม กดจุด ธรรมชาติบำบัด (Homeopathy) การทำคีเลชั่น (Chelation) โภชน์บำบัด (เช่น ชีวจิต) แพทย์แผนจีนโบราณ และแพทย์แผนไทย

ทำไมคนป่วยจึงหันมาหาการแพทย์ทางเลือกมากขึ้น?
คำตอบ ก็คือ การแพทย์ทางเลือกสามารถบำบัดอาการโรคได้ดีกว่า และถูกกว่า

ท่านผู้อ่านอาจจะมีคำถามขึ้นในใจว่า ถูกกว่าจริงหรือ? สปสช.รักษาฟรี สปส.ก็ฟรี (หักเงินเดือนไปแล้วไม่ใช้ก็ไม่ได้คืน) ประกันสุขภาพหมู่ (สวัสดิการขององค์กร บริษัท) ก็ฟรี แล้วจะมีอะไรถูกกว่านี้อีกหรือ?
ก็ คงไม่มี ในด้านค่าใช้จ่าย ต้องยอมรับว่าที่กล่าวมาราคาถูกหมด แต่ต้นทุนที่เกิดจากความเจ็บป่วย ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ นั้นมีค่ามาก มากจนคนป่วยยอมจ่ายเพิ่มจากสวัสดิการข้างต้น การแพทย์ทางเลือกจึงผุดขึ้นมามากมายในปัจจุบัน ทดแทนการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียง

การแพทย์ทางเลือกจะวาง ตำแหน่งการตลาด (marketing positioning) ในลักษณะการรักษาโรคแบบองค์รวม (Holistic healthcare) ซึ่งมีความแตกต่างจากการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งเน้นการให้ยา การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีบำบัด

การแพทย์แบบองค์รวมมักมีแนวทางในการรักษาด้วยการล้างพิษ (detoxification) อาหาร (รวมอาหารเสริมและวิตามิน) อารมณ์ (การให้กำลังใจ การใส่ใจคนป่วย) และการออกกำลังกาย

พร บ.สุขภาพแห่งชาติ ปี๒๕๕๐ มีนโยบายเชิงรุกเพื่อการป้องกันความเจ็บป่วย แต่ ๓ ปีผ่านไป ในทางปฏิบัติกลับไม่เป็นผล คนไทยป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์มีสัดส่วนมากขึ้นในงบประมาณแผ่นดิน ทั้งการนำเข้ายารักษาโรค และการลงทุนเพื่อให้บริการสาธารณสุข เช่น อาคารผู้ป่วย ท่านเคยคิดไหมว่ากลไกอะไรผิดปกติ เฟืองตัวไหนไม่ทำงาน

ใน ฐานะที่ข้าพเจ้าจบการศึกษามาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ขอวิเคราะห์ว่า ประการที่หนึ่ง งบประมาณแผ่นดินที่ให้กับการวิจัยทางการแพทย์มีไม่มากเมื่อเทียบกับค่าใช้ จ่ายทางการแพทย์ของประชาชน ประการที่สอง งานวิจัยกระจุกตัวอยู่กับนักวิชาการทางการแพทย์บางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการแพทย์ทางเลือก ประการที่สาม งานวิจัยมุ่งเน้นไปที่อัตตาของผู้วิจัยและคณะกรรมการอนุมัติงานวิจัย

ใน ประการที่ ๑ รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยไม่ยอมสนับสนุนงบประมาณเพราะกว่างานวิจัยจะเห็นผลเป็น รูปธรรมก็เปลี่ยนรัฐบาลไปแล้ว และในประการที่ ๒ นั้นท่านผู้อ่านก็คงจะเข้าใจดี แพทย์ที่รักษาผู้ป่วยมักไม่มีเวลามาทำวิจัย ยกเว้นอาจารย์แพทย์ในมหาวิทยาลัย ส่วนประการที่ ๓ นั้น นักวิจัยมักลงลึกระดับเซลล์ gene DNA เพื่อผลิตยาแก้ไขอาการ (ไม่แก้ไขโรค) นอกจากนี้การวิจัยเพื่อป้องกันในเชิงระบาดวิทยานักวิจัยที่เป็นแพทย์มักไม่ ชอบทำกัน เนื่องจากแพทย์นักวิจัยประเภทมีอัตตาสูง ต้องการผลวิจัยไปต่อยอดในการผลิตยาแก้อาการป่วย ท่านเคยสังเกตไหมว่า ปัจจุบันนี้คนป่วยเริ่มกินยาแทนอาหาร กล่าวคือ ต้องกินทุกวันจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เพราะยาใช้แก้ไขอาการ ไม่ได้แก้ไขต้นเหตุของโรค

ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท ๒ ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยประเภทนี้ไม่มีปัญหาเรื่องตับอ่อนเสีย สามารถผลิตอินซูลินได้พอเพียง แต่ต้องกินยาลดน้ำตาลในเลือดตลอดชีวิต

คำถามมีว่า นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่รู้สาเหตุของโรคเบาหวานประเภท ๒ หรอกเหรอ
คำตอบ คือ รู้ รู้ลึกด้วย เช่นงานวิจัย "Diabetes contributes to cholesterol metabolism"
ก็ รู้ว่าโรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากความผิดปกติของเมตาบอลิสม์ของคอเลสเตอรอล   แต่บริษัทผลิตยายักษ์ใหญ่ก็สนใจผลิตแต่ยาที่ประคับประคองอาการ ต้องกินทุกวันเพื่อการค้าและความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น

แล้วรัฐบาลจะ ทำอะไรได้เมื่อตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ คำตอบคือ แม้ไม่สามารถคิดค้นประดิษฐ์ยาแก้ได้ ก็ควรจะวิจัยหาทางป้องกันโรคเบาหวานประเภท ๒ ซึ่งทุกวันนี้ระบาดไปทั่วประเทศไทยแล้ว ทุกหมู่บ้านเป็นกันหมด เดิมทีก็ว่าเป็นโรคทางพันธุกรรม แต่พอสืบย้อนไปหาปู่ย่าตายายก็ไม่พบว่าเป็นโรคนี้ แสดงว่าเป็นโรคที่เกิดจากอาหารการกิน แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งสรุปว่ากินแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ขาดการออกกำลังกายจึงป่วยเป็นเบาหวาน

นักวิชาการสาธารณสุข ต้องเข้าไปวิจัยว่า น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีที่เติมไฮโดรเจนกันหืนนั้น เป็นสาเหตุของความผิดปกติของเมตาบอลิสม์ของคอเลสเตอรอลหรือไม่ แม้ว่าน้ำมันพืชฯจะไม่มีคอเลสเตอรอลก็ตาม แต่เมื่อใช้ทอดหรือผัดอาหารที่มีโปรตีน เมื่อกินลงไปแล้ว Lipoprotein (Lipid+protein) ก็ถูกสังเคราะห์ขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะ Low density lipoprotein (LDL)

สารตกค้างในน้ำมันพืชฯ ครีมเทียม เนยเทียม (ซึ่งเติมไฮโดรเจน เรียกรวมๆ ว่า Trans fat) และ/หรือ โครงสร้างทางเคมีที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นผลจากการเติมไฮโดรเจนเพื่อกันหืน ทำให้เมตาบอลิสม์ของคอเลสเตอรอลผิดปกติจริงหรือไม่ ต้องรีบวิจัย ก่อนที่จะมีแต่คนพิการถูกตัดอวัยวะมือเท้าเพราะแผลเบาหวาน

ยอดขาย น้ำมันพืชฯ ครีมเทียม เนยเทียม เป็นหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า คนไทยกำลังป่วยเพราะเพราะกินมันเข้าไปวันละ ๓-๕ มื้อ ท่านผู้อ่านสามารถปกป้องตนเองด้วยการดีท๊อกซ์ จะใช้วิธีดีท๊อกซ์แบบแพทย์แผนไทย คือกินยาแก้กษัย หรือกินยาแผนจีน ดีท๊อกซ์น้ำกาแฟแบบชีวจิต ธรรมชาติบำบัด หรือใช้ยาเหน็บแผนปัจจุบันก็ได้ แต่ต้องเลิกกิน Trans fat และอาหารที่หุงด้วย Trans fat เช่น ข้าวมัน  หันมาใช้พลังงานกลูโคสภายในเลือด ด้วยการเดินขึ้นบันได แทนบันไดเลื่อน หรือลิฟท์ เพื่อระบายไฮโดรเจนออกทางลมหายใจ กินพืชที่ขับปัสสาวะ เช่น สัปรด เพื่อขับไฮโดรเจนส่วนเกินออกจากร่างกาย จัดตั้งชมรมต่อต้าน Trans fat เหมือน http://www.bantransfats.com/  ทำ เช่นนี้แล้วท่านก็เหมือนได้ป้องกันสุขภาพตนเอง และลูกหลานในอนาคต เมื่อชมรมหลายๆ ชมรมรวมตัวกันเข้า ก็มีอำนาจต่อรองเรียกร้องให้รัฐบาลต้องออกประกาศ หรือกฎหมายคุ้มครองเหมือนในสหรัฐอเมริกา ดังข้อมูลข้างล่างนี้

ข้อมูล :
อาร์โนลด์ ชวาชเนกเกอร์ ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย กับการแบนการใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี
  โดยกล่าวว่า การใช้น้ำมันพืชผ่าน กรรมวิธี ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ…” 

หนังสือ Poison in the food : Hydrogenated oils ของ Mike Adams จากเว็ป http://www.truthpublishing.com/poisonfood_p/yprint-cat21284.htm ก็ยืนยันว่า trans fat มีผลก่อเกิดโรคหัวใจ ก่อเกิดคอเลสเตอรอลเลว LDL และลดระดับคอเลสเตอรอลดี HDL ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและเป็นโรคอ้วน(Obesity) เร่งขยายการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 หรือคลิกไปดูที่ http://transfatdisease.com/why.html

รัฐเท็กซัส USA. ออกพระราชบัญญัติ ขจัดน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีให้หมดจากร้านอาหาร ภัตตาคาร เบเกอรี่ ภายใน สิงหาคม 2553  http://dallas.bizjournals.com/dallas/stories/2009/05/04/daily72.html 

KFC คาดการณ์ว่าคนจะเห็นโทษของ Trans fat แล้วหันไปกินอาหารอื่น จึงออกเมนูไร้ Trans fat  http://abcnews.go.com/Health/OnCall/story?id=2615217

McDonald ประกาศใช้น้ำมันไม่เติมไฮโดรเจนแทนน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี(Trans fat) เมื่อปี 2007 เริ่มต้นที่ 1,200 สาขาในสหรัฐอเมริกา http://www.msnbc.msn.com/id/16873869/

Dunkin Donut ประกาศเลิกใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี (Trans fat) ตั้งแต่ปี 2550
เมื่อ ท่านไม่ป้อนสิ่งที่เป็นพิษเข้าสู่ร่างกาย ล้างพิษภายในออกจากตัว ด้วยการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การหายใจออก การออกเหงื่อ ก็นับว่าท่านได้ก้าวสู่ธรรมชาติบำบัด รักษาโรคแบบองค์รวม แล้วร่างกายจะแข็งแรงปราศจากโรค ชีวิตจะยืนยาวอย่างมีคุณภาพ


อนุมูลอิสระ


อนุมูลอิสระ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อนุมูลอิสระ (อังกฤษ: radical และมีการใช้ free radical) หมายถึง สารซึ่งมีอิเล็กตรอนซึ่งไม่มีคู่อยู่ในวงรอบของอะตอม หรือโมเลกุล เราให้ความสำคัญกับสารซึ่งมีออกซิเจนเป็น ศูนย์กลาง คือ hydroxyl radical, superoxide, peroxyl, alkoxyl และ oxides ของ nitrogen โดยปกติสารเหล่านี้เกิดขึ้นโดยปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะเวลามีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิล อยู่เป็นจำนวนน้อยๆ มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่และร่างกายก็จะมีระบบของแอนติออกซิแด้นท์ขจัด ออกไป แต่ถ้าร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอกมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีส่วนประกอบของไขมันสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูงๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสี ultraviolet การแผ่รังสี (radiation) รังสี x-ray หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ ถ้าสารเหล่านี้มีมากกว่าความสามารถของแอนตี้ออกซิแด้นท์ในร่างกายจะขจัดหมด หรือในภาวะที่จำนวนแอนติออกซิแด้นท์ในร่างกายลดลง เช่น ผู้สูงอายุ ก็จะทำให้มีสารอนุมูลอิสระและสารที่ไม่ใช่อนุมูลอิสระเช่น ไฮโดเจนเพอออกไซด์ ซึ่งมีออกซิเจนเป็นศูนย์กลางเช่นกัน โดยรวมเรียกว่า reactive oxygen species (ROS) มากเกินไปก่อให้เกิดอันตรายได้

อนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อไขมัน (โดยเฉพาะ low density lipoprotein) โปรตีน หน่วยสารพันธุกรรม DNA และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ทำให้เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด โรคที่สำคัญและมีการศึกษากันมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคมะเร็งบางชนิด Alzheimer's disease หรือโรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ โรคความแก่ เป็นต้น

เราจึงควรหลีกเลี่ยงการที่จะได้รับสารอนุมูลอิสระเข้าไปในร่างกาย เช่น มลพิษในสิ่งแวดล้อม ก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันบุหรี่ เป็นต้น


น้ำมันพืชฯมีดีที่ไหนกัน?




ข้าพเจ้าได้พบโฆษณาขายหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Poison in the food : Hydronenated Oils แต่งโดย Mike Adams จากเว็ป http://www.truthpublishing.com/poisonfood_p/yprint-cat21284.htm
บทคัดย่อของโฆษณามีความดังนี้

The U.S. population is being slowly poisoned by a single ingredient deliberately added to the human food supply!
คำแปล : ประชากรสหรัฐฯกำลังถูกวางยาพิษอย่างช้าๆ จากส่วนผสมบางอย่างที่ตั้งใจใส่เข้าไปเป็นอาหารของมนุษย์ชาติ

At first, it sounds like nonsense. But then you realize, after learning more, that the World Health Organization tried to outlaw this ingredient decades ago. You find out that hundreds of doctors, researchers and scientists are blatantly warning us about the detrimental health effects of this ingredient. And you learn that this substance causes cancer, birth defects, heart disease, diabetes and many other fatal diseases.
คำแปล: ฟังดูเหมือนเป็นคำพูดเหลวไหล แต่ถ้าท่านศึกษามากขึ้น จะพบว่าองค์การอนามัยโลกก็พยายามวางกฎเกี่ยวกับส่วนผสมนี้หลายทศวรรษมาแล้ว  และมีแพทย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ จำนวนเป็นร้อยๆ ออกมาเตือนพวกเราเกี่ยวกับสุขภาพที่ทรุดโทรมลงเพราะส่วนผสมอันนี้   นอก จากนี้ท่านจะเข้าใจว่าส่วนผสมนี้ก่อให้เกิดมะเร็ง ความบกพร่องในการเกิดทารก โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคสำคัญต่างๆ ที่นำไปสู่ความตาย

What happens when you eat hydrogenated oils? Just how bad is this ingredient for your health? Consider this list of detrimental health effects caused by hydrogenated oils, published in this report:  
คำแปล : จะ เกิดอะไรเมื่อท่านกินน้ำมันเติมไฮโดรเจน ความเลวร้ายและภยันตรายของส่วนผสมต่อสุขภาพของท่าน โปรดพิจารณาผลกระทบต่อสุขภาพดังต่อไปนี้เมื่อท่านกินน้ำมันเติมไฮโดรเจน

Directly promotes heart disease  คำแปล : ผลกระทบโดยตรงก่อเกิดโรคหัวใจ

Promotes cancers: breast cancer, prostate cancer, colon cancer คำแปล :ส่งผลให้เกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งทรวงอก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่

Results in low birth weight infants คำแปล :ทำให้เด็กทารกเกิดใหม่มีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

Raises LDL (bad) cholesterol and lower HDL (good) cholesterol คำแปล :ก่อเกิดคอเลสเตอรอลเลว LDL และลดระดับคอเลสเตอรอลดี HDL

Raises blood sugar levels and promotes weight gain คำแปล :ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและน้ำหนักเพิ่ม (อ้วน)

Interferes with the absorption of essential fatty acids and DHA คำแปล :ขัดขวางการดูดซึมกรดไขมันสำคัญๆ และDHA

Impairs brain function and damages brain cells คำแปล :ทำลายการทำงานของสมองและเซลล์สมอง

Accelerates tumor growth คำแปล :เร่งการเจริญเติบโตของเนื้องอก

Accelerates the progress of type-2 diabetes คำแปล :เร่งขยายการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2

Raises serum cholesterol คำแปล :ยกระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

Impairs immune system function คำแปล :ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน

Promotes attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) คำแปล : ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น

Impairs development of the brains of fetuses คำแปล :ทำลายการพัฒนาของสมองเด็กในครรภ์

Causes gallbladder disease คำแปล :ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี

Causes liver disease คำแปล :ก่อให้เกิดโรคตับ

Causes 30,000 deaths per year in the United States alone คำแปล :ทำให้ผู้ป่วยตายปีละ 3 หมื่นคนในสหรัฐฯ

Clogs blood, makes blood cells stick together คำแปล :ทำให้เซลล์เลือดเหนียวยึดติดกันเป็นก้อน

Blocks the body's creation of natural pain-reducing hormones (eicosanoids)
คำแปล :ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน eicosanoids ซึ่งเป็นตัวลดความเจ็บปวด

Causes the creation of free radicals that promote inflammation คำแปล :ทำให้เกิดอนุมูลอิสระและการอักเสบ

Creates nutritional deficiencies of healthy oils and essential fatty acids (EFAs)
คำแปล :ทำให้ร่างกายขาดน้ำมันและไขมันที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

Promotes cystic fibrosis  คำแปล :ก่อให้เกิดเนื้องอก ประเภทถุงน้ำ (ซีสต์)

Lowers essential fatty acids in the breast milk of nursing mothers คำแปล :ลดไขมันดีๆ ในน้ำนมมารดา

Clogs artery walls and promotes atherosclerosis คำแปล :ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง

Cause gum disease and rotted teeth คำแปล :ทำให้เกิดโรคเหงือกและฟัน

Lowers tissue oxygen intake คำแปล :ทำให้เนื้อเยื่อดูดซึมอ๊อกซิเจนได้น้อยลง

Causes infertility คำแปล :ทำให้เป็นหมัน

Directly damages blood vessels คำแปล :ทำลายหลอดเลือดโดยตรง

Causes high blood pressure คำแปล :ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง

Weaken cell walls and compromises cellular structure
คำแปล :ทำให้ผนังเซลล์อ่อนแอ และโครงสร้างเซลล์ผิดเพี้ยน

Causes dandruff and acne คำแปล :ก่อให้เกิดรังแคและสิว

ผล ร้ายเหล่านี้ ล้วนถูกรวบรวมบันทึกไว้เป็นข้อมูลจากแพทย์และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ใน สหรัฐฯ แต่รัฐบาลสหรัฐฯก็ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ผลิตน้ำมันพืช และเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมันชนิดต่างๆ เป็นเวลาหลายทศวรรษ

เมื่อ มีผู้ป่วยเจ็บตายกันมากขึ้นเรื่อยๆ FDA หรือ อย.ในสหรัฐฯก็ได้แต่ออกกติกาให้ผู้ผลิตระบุส่วนประกอบของ Trans fat ข้างขวดน้ำมันพืช และบนหีบห่อของอาหารสำเร็จรูป เท่านั้น

ส่วน รัฐนิวยอร์คและแคลิฟอร์เนีย ก็ประกาศเทศบัญญัติให้ร้านอาหาร ภัตตาคาร เบเกอรี่ ลด ละ เลิก น้ำมันเติมไฮโดรเจนทั้งชนิดเต็มรูปแบบ (fully hydrogenated) ได้แก่ ครีมเทียม มาการีน และ ชนิดเติมเพียงบางส่วน (Partially hydrogenated) ได้แก่ น้ำมันพืชที่เติมไฮโดรเจนเพื่อกันหืน

รัฐบาล สหรัฐยังไม่กล้ากล่าวโทษของน้ำมันเติมไฮโดรเจนเหล่านี้ตามที่ Mike Adams เขียนไว้ จะด้วยเหตุผลกลใดนั้น ไม่มีใครทราบ แต่ที่แน่ๆ คนรวย คนมั่งมี อภิมหาเศรษฐี ของสหรัฐฯ ซึ่งมีนักโภชนาการเป็นผู้จัดการด้านอาหาร ล้วนหลีกเลี่ยงน้ำมันเติมไฮโดรเจนทั้งนั้น  ล่าสุดร้านอาหาร KFC ที่สหรัฐฯก็ประกาศเลิกใช้น้ำมันเติมไฮโดรเจนแล้ว

ข้าพเจ้า ได้พยายามเตือนคนไทยทั้งหลายมาเกือบ 1 ปีแล้วว่าน้ำมันเติมไฮโดรเจนมีพิษสะสมร้ายแรงกว่าน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว มากมายนัก โดยการทดสอบล้างภาชนะที่เปื้อนน้ำมันทั้งสองประเภท (เติม H และไม่เติม H) ด้วยน้ำยาล้างจานชนิดเดียวกัน  น้ำมันที่ไม่เติมไฮโดรเจนจะล้างออกได้ง่ายกว่ามากๆ แต่กระนั้นน้ำมันไม่เติม H ก็มีโทษสะสมในระยะยาวเช่นกัน ถ้าบริโภคเกินขนาด

ข้าพเจ้า อยากให้คนไทยทุกๆ คน ช่วยกันรณรงค์ให้ญาติพี่น้อง ตลอดจนเพื่อนสนิทของท่านทั้งหลาย ตระหนักถึงภัยอันจะบ่อนทำลายสุขภาพคนไทย ให้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังในที่สุด เพราะถ้าต้องฟอกไตสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ถูกที่สุดก็คิดเป็นเงิน 3,000 บาท เดือนละ 12,000 บาท  ส่วนโรคมะเร็งชนิดต่างๆ โรคช็อคโกแลตซีสต์ โรคพังผืดยึดข้อมือ นิ้วล็อค โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต นั้นเป็นของแถม ซึ่งจะมาก่อนหรือหลังโรคไตวายเรื้อรัง ก็แล้วแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังมีโรคกรดไหลย้อนกลับ โรคบ้านหมุน โรคสติวิปลาส ฯลฯ


น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีอันตรายจริงหรือ


มีนาคม 3, 2553 05:03 by Jirawan

             ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมาได้รับอีเมล์จากเพื่อนๆ เกี่ยวกับอันตรายของน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี พอไปอ่านแล้วรู้สึกขำและสงสารในเวลาเดียวกัน เพราะว่าคนที่เขียนนั้นเขียนผิดเขียนถูกและกำกวม เอาลิงค์บทความต่างประเทศมาใส่เสียมากมาย เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ แต่จริงๆ แล้วเหมือนเอามาหลอกคนไทยส่วนใหญ่ที่ยังไม่รู้จักไขมันทรานส์ ซึ่งถือเป็นสิ่งใหม่

            น้ำมัน พืชผ่านกรรมวิธีที่คนไทยเรียกกันคือ การเอาพืชมาผ่านวิธีการสกัดเอาน้ำมันออกมา แต่ไขมันทรานส์เกิดจากการเติมก๊าซไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืชเพื่อให้เปลี่ยน รูปร่างจากที่เหลวเป็นสภาพแข็งมากขึ้น พบได้ในกระบวนการผลิตเนยเทียม (มาการีน) และเนยขาว (Shortening) ฉะนั้น อย่าจำสับสนนะคะว่าน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีกับไขมันทรานส์เป็นสิ่งเดียวกัน เพราะมันคนละเรื่องกันเลย! เจ้า ไขมันทรานส์ตัวนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีทำให้เกิดคอเลสเตอรอลตัวร้าย หลายประเทศต่างออกมารณรงค์ให้ผู้ผลิตอาหารลดปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารรวมถึง ระบุปริมาณไขมันทรานส์ข้างฉลากเพื่อให้ผู้บริโภคทราบก่อนเลือกซื้อ

            สำหรับวิธีการเลือกน้ำมันพืชรวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ถูกต้องอย่างง่ายๆ ก็คือ มองหาสัญลักษณ์อาหารรักษ์หัวใจซึ่งทางมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้มอบให้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ จำกันให้ดีนะคะว่าของแท้ต้องมีชื่อของสองสถาบันเขียนไว้ที่โลโก้หัวใจด้วย ตอน นี้มีสินค้าอาหารหลายยี่ห้อเอารูปหัวใจมาติดบนฉลากเพื่อให้ตาสีตาสาคิดว่า สินค้าเค้าดีต่อสุขภาพ แต่จริงๆ แล้วไม่เกี่ยวกันเลย ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องรู้ทันนะคะ


น้ำมันหมู สู่ Trans Fat หัวใจยังอันตราย

เมื่อ 30 -40 ปีที่แล้ว น้ำมันหมู ใช้ทอด ใช้ผัด ใช้ทำอาหาร แต่ต้องเลิกไปเพราะรู้ว่าเป็นสาเหตุใหญ่ของสารพัดโรค โดยเฉพาะโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ

    วันนี้ทุกคนรับรู้ทั่วกันว่า น้ำมันหมูไม่ใช่อาหารสุขภาพ พากันหลีกเลี่ยงน้ำมันหมูใช้ทำอาหาร หันมาใช้น้ำมันพืชประกอบอาหารกันทั่วไปแทบทุกครัวเรือน ทุกคนก็สบายใจว่า ตนเองน่าจะปลอดภัยจากโรคร้ายประเภทมันจุกอก ไขมันอุดตันในเส้นเลือดหัวใจ

     หลังจากหลงใช้น้ำมันพืชมานานพอสมควรก็มีข่าวคราวเพิ่มเติมออกมาอีกว่า น้ำมันพืชบางชนิดก็ไม่ใช่น้ำมันเพื่อสุขภาพ เพราะเมื่อเราหนีจากน้ำมันหมู อัตราการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลง เพราะน้ำมันพืชบางชนิดมีคุณสมบัติทำร้ายร่างกายเราเหมือนกับน้ำมันหมู คือเป็นไขมันอิ่มตัว เหมือนกัน เช่น น้ำมันปาล์ม ที่ร้านค้าส่วนใหญ่นิยมใช้ทอดประกอบอาหาร ยิ่งกินเข้าไปยิ่งทำให้โคเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น

     คนที่รักสุขภาพก็จะทราบดีว่า การเลือกใช้น้ำมันประกอบอาหารเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เมื่อหนีมาใช้น้ำมันพืชก็ต้องเลือกน้ำมันพืชสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง ดอกคำฝอย น้ำมันพืชกลุ่มนี้เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ( Unsaturated Fat) ไม่อันตรายต่อสุขภาพ

    แต่ก็มีข้อควรระวัง แม้เราเลือกใช้ไขมันที่ดี ไขมันไม่อิ่มตัว แต่ถ้าใช้ทอดใช้ผัดในอุณหภูมิที่สูงมากเกินไป เป็นระยะเวลานาน ๆ หรือคิดประหยัดโดยการนำเอามาใช้ซ้ำ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะไปเพิ่มสารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ทำร้ายเซลล์ในร่างกายเรา ที่เป็นสาเหตุโรคร้ายสารพัดในปัจจุบันนี้

     เราน่าจะปลอดภัยถ้าเลือกใช้น้ำมันพืชที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว แต่ความเจริญของโลกทุนนิยม ก็ทำร้ายสุขภาพเราได้อีก ทั้ง ๆ ที่เราระมัดระวังเต็มที่แล้ว     เพราะ อุตสาหกรรมน้ำมันจะนำเอาน้ำมันพืชที่ดี ไปผ่านกระบวนการกันหืน และยืดอายุของสินค้าด้วยวิธีการทางเคมีโดยเติมไฮโดรเจนเข้าไปที่เราเรียกกัน ว่า HYDROGENATED


ไฮโดรจีเนท ทำให้น้ำมันพืชที่ดีกลายเป็นน้ำมันพืชที่อันตรายได้

     ในอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปจะนำเอาไขมันที่ผ่านกระบวนการไฮโดรจีเนทไปเป็น ส่วนประกอบสำคัญของอาหาร เช่น  คุกกี้ แครกเกอร์ แม้แต่ขนมปัง ขนมเค้ก เราเรียกไขมันแย่ ๆ ตัวนี้ว่า ไขมันทรานส์ หรือ TRANS FAT เป็น การทำให้อาหารหมดอายุได้ช้า แต่ถ้าเรากินเข้าไปมาก ๆ อายุเราจะหมดเร็ว เพราะจะไปทำให้ไขมันตัวดี HDL ของเราลดลง และไปเพิ่มไขมันตัวร้าย LDL เพิ่มโอกาสให้หลอดเลือดเราตีบตันได้

      น้ำมันพืชประกอบอาหารที่เหมาะกับสุภาพของเราอย่างยิ่งคือ น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า ซึ่งข้างขวดจะเขียนว่าไม่ผ่านกระบวนการหรือ Unrefined หรือเขียนว่า บริสุทธิ์ VIRGIN OIL แม้ราคาจะแพงกว่าน้ำมันทั่วไปแต่ระยะยาวดีต่อสุขภาพแน่นอน

     ไขมันทรานส์ จะมีมากในอาหารสำเร็จรูป วิธีการเลี่ยงคือต้องดูฉลากก่อนซื้อ โดยดูว่ามีข้อความว่า มี TRANS FAT หรือไม่ ถ้ามีก็ไม่ควรกินเลย หรือบางทีก็จะเขียนมาว่า partially hydrogenated ก็อย่าเสียเงินมากินให้เสียสุขภาพ

    เรื่องไขมันยังคงคุยกันได้อีกมาก แต่ตอนนี้เริ่มต้นด้วยหลีกหนีให้ไกลจากน้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันที่ผ่านกระบวนการ ไฮโดรจีเนท กระทั่งไขมันทรานส์ที่หลาย ๆ ประเทศกำลังออกกฎหมายให้ระบุฉลากให้ชัดเจน หรือ ห้ามใช้ในบางประเทศแล้ว

    แต่สำหรับบ้านเราไม่ต้องรอให้ใครมาเตือนมาบอก เรารู้แล้วบอกกันเอง เตือนกันเองก่อน เพราะเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ของหลาย ๆ คน แต่ก็ควรเลือกกินเพราะจะได้อยู่เพื่อกินไปนาน ๆ

น้ำมันพืชอันตราย



มีฟอร์เวิร์ดเมลบอกว่า

           น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีกำลังคุกคามสุขภาพคนไทย

            แม่เรารู้จักกับเจ้าของผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช ตัวเจ้าของเค้ายังไม่กินเลย

            ยังให้แม่บ้านเจียวน้ำมันหมูทำอาหารเหมือนเดิมค่ะ ก้อลองอ่านดูละกันนะ



เมื่อข้าพเจ้าเป็นเด็ก จะเห็นแม่สาละวนกับการเจียวน้ำมันหมูทุกๆ ๗ วัน เพื่อใช้ผัดกับข้าวให้พวกเรา รับประทาน น้ำมันหมูนี้มันเก็บได้ไม่นานเพราะไม่มีตู้เย็นเหมือนปัจจุบัน อีกทั้งการใช้ก็ตักทีละน้อย เพราะน้ำมันที่ผัดหรือทอดแล้วจะดำ และเหม็นหืนง่าย แต่พอข้าพเจ้าเป็นวัยรุ่น บรรดานักวิชาการสุขภาพ ก็เริ่มประกาศความมีพิษภัยของน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าว โดยโฆษณาชุดแรกๆ ก็เน้นที่ความไม่เป็นไข (แข็งตัว) เมื่ออุณหภูมิเย็นตัวลง ของน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี เมื่อเทียบกับน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าว โดยโฆษณาเน้นเรื่อง คอเลสเตอรอล ให้คนดูตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพเรื่อง โรคหลอดเลือด และหัวใจ

จะด้วยความโง่หรืออ่อนต่อโลกก็มิทราบได้ ทั้งน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวมิได้จับตัวเป็นไขในร่างกายคน เพราะอุณหภูมิสูงถึง ๓๗ องศาc (น้ำมันทั้ง ๒ ชนิดจะเป็นไขที่อุณหภูมิต่ำกว่า ๒๕ องศาเซลเซียส) แต่ข้าพเจ้าก็เปลี่ยนน้ำมันทั้ง ๒ ชนิดที่เคี่ยวเองได้หันมากินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี (Refined, Bleached, Deodorized) ด้วยความเชื่อนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่ารู้จริง รู้ดี จึงกล้าแนะนำประชาชน

หลายสิบปีผ่านไป การตรวจเลือดหาปริมาณคอเลสเตอรอล ยังคงได้ตัวเลขสูงกว่าค่าเฉลี่ยมากขึ้นทุกปี ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าก็ไม่อ้วน หรือน้ำหนักเกินดัชนีมวลกาย และได้เลิกใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าวไปนานแล้ว อีกทั้งร้านอาหารทุกแห่งไม่ว่าริมถนนหรือภัตตาคารก็ไม่มีใครทำน้ำมันใช้เอง อีกแล้ว

แม่ของข้าพเจ้าป่วยตายด้วยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มหัวใจเมื่ออายุ ๘๑ ปี แต่ข้าพเจ้ากลับป่วยด้วยอาการ ของโรคไต (nephrosis) และมีอาการคล้ายกับเป็นแผลเบาหวานทั้งๆ ที่ น้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ๘ ชั่วโมงเพียง ๙๐ หน่วย (mg./dl) ดังนั้นแผลที่หายยากนั้นจึงเรียกว่า"โรคเส้นเลือดฝอยอักเสบเรื้อรัง"

ข้าพเจ้า โชคดีที่พบสาเหตุและยาแก้ แม้ว่าจะเป็นยาสมุนไพรที่กินยาก แต่ข้าพเจ้าก็หายได้เพราะความอดทน เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ข้าพเจ้าเลิกกินอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีนาน ๑ ปี ระดับคอเลสเตอรอล ก็ลดลงต่ำกว่า ๑๕๐ มก./ดล.(ค่าปกติ ๑๕๐-๒๐๐ มก./ดล.) ทั้งๆ ที่ น้ำมันพืชทุกชนิดมักจะอ้างว่าไม่มี คอเลสเตอรอลก็ว่าได้

ข้าพเจ้า ได้ตั้งคำถามถึงสาเหตุที่ข้าพเจ้าเป็นโรคไต แล้วค้นคว้าจนพบความจริงว่า น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี นี้แหละเป็นต้นเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้าป่วย เพราะกินน้ำมันนี้วันละ ๓ มื้อ มากกว่าอาหาร หรือ ยาชนิดใดใด และ น้ำมันพืชฯนี้มันถูกเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated) ทำให้ทอดอาหารได้กรอบอร่อย ใช้ได้หลายครั้ง ไม่เหม็นหืน แต่ก็เป็นกรดไขมันอิ่มตัวสูง เพราะโครงสร้างเคมีเปลี่ยนไปหลังผ่านกรรมวิธี เมื่อกินเข้าไป ในร่างกาย กลายเป็นคราบทำให้น้ำซึมผ่านไม่ได้ ไม่เหมือนอย่างน้ำมันมะพร้าวที่คั้นน้ำกะทิแล้วเคี่ยว จนเป็นน้ำมัน แม้น้ำมันมะพร้าวจะมีสัดส่วนไขมันอิ่มตัวสูง แต่ก็ไม่เปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางเคมี เพราะใช้ความร้อนสูง อีกทั้งยังละลายน้ำได้ จึงไม่เป็นคราบฝังแน่นในลำไส้และหน่วยไต

ท่านอาจจะยังไม่เชื่อ ข้าพเจ้า จึงอยากให้ทดลองเองที่บ้าน นำน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธียี่ห้อไหนก็ได้ ลองใส่ภาชนะแล้วตากแดดให้อุณภูมิใกล้เคียงกับภายในของมนุษย์ แล้วตรวจดูความเหนียวหนึบของมัน ลองกับน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวเอง แล้วเปรียบเทียบกัน แม่บ้านหลายคนกล่าวว่าการล้างจานชาม ที่เปื้อนน้ำมันหมู น้ำกะทิ และน้ำมันมะพร้าว ทำได้ง่ายกว่า น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีมาก

คราบเหนียวหนึบยึดติดนี้ จะเกิดในลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หลอดเลือดฝอยไต ( ติดในหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ติดในหลอดเลือดฝอยไต ทำให้เป็นโรคไต วายเรื้อรัง ) จะเห็นได้ว่าปีหนึ่งๆ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจเป็นอันดับหนึ่ง ติดตามด้วย โรคมะเร็ง

เมื่อน้ำไม่สามารถซึมผ่านคราบน้ำมันในลำไส้เล็ก ร่างกายก็จะขาดน้ำซึ่งควรจะมีอยู่ ๒/๓ ของน้ำหนักตัว สารละลายน้ำเช่นวิตามินบี ซี กรดอมิโน ก็จะกลายเป็นภาระของไตต้องกรอง ไตทำงานหนักมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรากินมากขึ้นตามความเรียกร้องของสมอง เพราะร่างกายที่ขาดสารอาหารละลายน้ำ ยิ่งกินมาก น้ำมันก็ยิ่งอุดตัน ไตก็ทำงานหนักขึ้นอีก แนวโน้มคนป่วยโรคไต ไตวายเรื้อรังมีมากถึง ๒๒ ล้านคน ถ้าไม่หักคนป่วยที่ตายไปแบบเฉียบพลันหรือที่เรียกว่า โรคไหลตาย และไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ต้องฟอกไต (๓ ปี) แล้วตาย ประมาณว่า กึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะป่วยเป็นโรคไตใน ๑๐-๒๐ ปีขึ้นอยู่กับอัตราการบริโภคน้ำมันพืชฯ  ส่วนอีกกึ่งหนึ่งก็ตายเพราะโรคมะเร็ง เพราะสารอาหารสำคัญที่ ละลายน้ำไม่ถูกดูดซึมเป็น ๑๐ ปี ( สังเกตจากกรณีพระประชวรของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ ที่ทรงเสวย พระกระยาหารแบบเรียบง่าย เหมือนพสกนิกรทั่วไป หลังจากเคยหายจากโรคมะเร็งไปนานถึง ๑๐ ป ี)

คนไทยร้อยละ ๗๐ กำลังเป็นโรคอ้วน เพราะการบริโภคน้ำมันพืชฯ ค่าเฉลี่ยการบริโภคน้ำมันพืชฯ ต่อคนต่อเดือนสูงถึง ๑.๑ กก. หรือประมาณ ๑ ลิตร นั้นหมายความว่ามีคนเมืองจำนวนมาก ที่กินน้ำมันพืช มากกว่า  ๑.๑ กก. เพราะในชนบทห่างไกล คนไทยจำนวนหนึ่งมิได้ใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี แต่ใช้น้ำมันหมูบ้าง น้ำมันมะพร้าวบ้าง

ในราวต้นปี ๒๕๕๐ บริษัทฟ้าสฟู้ด KFC ในต่างประเทศ ได้ประกาศเลิกใช้น้ำมันพืชที่เติมไฮโดรเจน โดยไม่บอกเหตุผล จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า เพราะเหตุใดธุรกิจจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสูตรการปรุงอาหาร เพิ่มต้นทุนการผลิตของตนเอง ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงทางการตลาดและกำไรที่ลดน้อยลง

ทำไมน้ำมันพืชผ่าน กรรมวิธีจึงมีอันตรายสะสมคำตอบก็คือ  การสกัดด้วยความร้อนทำให้เกิด การไหม้เกรียมและดำ ทำให้ต้องใช้เคมี เช่น โซดาไฟ ฟอกขาว และการเติมไฮโดรเจนทำให้น้ำมันพืช เก็บไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืนง่าย แต่ไฮโดรเจนก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีทำให้ น้ำมันพืชที่ไม่อิ่มตัว กลายเป็นน้ำมันพืชอิ่มตัว และมีลักษณะหนืดเหนียว จับกุมเป็นก้อนแข็งในอุณหภูมิ ๓๖-๔๐ องศาเซลเซียส

ดร.ณรงค์ โฉมเฉลาได้เขียนบทความ ''น้ำมันมะพร้าวและกะทิเป็นอันตรายหรือประโยชน์ต่อสุขภาพ' ในวารสาร "เกษตรกรรมธรรมชาติ" ใจความว่าประเทศที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวมีตัวเลขการตาย จากโรคหัวใจและมะเร็ง ต่ำกว่าประเทศที่บริโภคน้ำมันพืชอื่น

แล้วทำไมจึง มีงานวิจัยในอดีตที่กล่าวหาว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นสาเหตุของโรคหัวใจวาย ในอดีต จนทำให้ ใครๆ ต่างหวาดผวาน้ำมันมะพร้าว และเชื่อว่าน้ำมันมะพร้าวมีไขมันอิ่มตัวสูง มีคอเลสเตอรอลสูง ดร.ณรงค์กล่าวว่า American Soybean Association ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในอเมริกา วิจัยผลเสียของน้ำมันมะพร้าว เพื่อส่งออกถั่วเหลืองในตลาดโลก

ข้าพเจ้าอยากเตือนคนไทยทั้งหลาย โปรดสำรวจตนเองว่าท่านกินน้ำมันวันละซีซี มันระบายออกมา ได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าท่านไม่หยุดกิน โรคไต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคความดันเลือดสูง โรคมะเร็ง ฯลฯ จะมาเยือนท่านไม่ช้าก็เร็ว

นิตยสาร หมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒๙๑ ก.ค.๒๕๔๖ ลงบทความ "น้ำมันพืชใช้อย่างไรให้ถูกต้อง และปลอดภัย" แนะนำว่า การผัดอาหารควรใช้ น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว แต่หากจะทอดอาหารแล้วควรใช้ น้ำมันพืช หรือสัตว์ ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เพราะการทอดใช้ความร้อนสูง และจุดเดือดน้ำมันพืชประมาณ ๑๘๐ องศาเซลเซียส จะเกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายหลายชนิด เรียกรวมๆ ว่า โพลาร์คอมเพาวด์ (Polar Compound)

สารเคมีชนิดนี้ข้าพเจ้าเคยพบด้วยกลิ่นที่ทำให้แสบจมูก มีพ่อค้าทอดขนมกู๋ไช่คนหนึ่ง มีอาการตาพร่ามัว จึงไปพบจักษุแพทย์ และได้รับคำแนะนำให้เลิกอาชีพขาย อาหารทอด อาหารผัดอย่างถาวร มิฉะนั้น จะตาบอดได้

ทำไมน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อย่างน้ำมันหมู และน้ำมันมะพร้าว จึงเหมาะแก่การทอด?
คำ ตอบก็คือ น้ำมันทั้งสองชนิดนี้เป็นน้ำมันที่มี กรดไขมันอิ่มตัวสูง (น้ำมันหมู ๔๐% น้ำมันมะพร้าว ๘๘%) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่จับกับธาตุคาร์บอน (C) ในลักษณะแขนเดี่ยว (single bond) เมื่อโดนความร้อนสูงก็ทำให้อาหารกรอบ อร่อย ไม่มีสารเคมีเป็นพิษ และน้ำมันที่ใช้ทอดแล้วก็เก็บ ไว้ทอดซ้ำเกิน ๒ ครั้งไม่ได้เพราะจะดำและเหม็นหืน ซึ่งผิดกับน้ำมันพืชอื่นๆ ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งมีโครงสร้างเคมีเป็น แขนคู่ (double bond) ในการจับกับธาตุคาร์บอน จึงสามารถจับกับ ธาตุไฮโดรเจนเพิ่มได้อีก ๒ อะตอม จึงเหมาะกับการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) ซึ่งเรียกว่า Trans Fatty Acid (TFA)

'Trans' นี้เป็นผลลัพท์ของความพยายามที่จะทำให้น้ำมันพืช มีลักษณะเหมือน น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ที่ทำให้อาหารทอด กรอบอร่อย แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน มะเร็งเต้านม เพราะน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธี เหล่านี้ไม่สามารถขับ ออกจากร่างกาย ได้ง่ายๆ เหมือนน้ำมันมะพร้าวที่ละลายน้ำได้

บางคนที่เป็นปู่ย่าตายายในขณะนี้ (อายุ ๗๐ ปีขึ้นไป) จะบอกกล่าวว่า พ่อแม่ของท่านใช้น้ำมันหมู และน้ำมัน มะพร้าวทำอาหาร และท่านก็มีอายุถึง ๙๐ ปีกว่า ก่อนเสียชีวิต ไม่ได้กินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเลย แต่ก็มีอายุยืนยาวได้ ในทางกลับกัน คนไทยในสมัยนี้กินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีมานานกว่า ๓๐ ปี กลายเป็น โรคเบาหวานกันทั่วประเทศ ทุกหมู่บ้าน เด็กๆ ก็กลายเป็นโรคอ้วน เบาหวานในเด็ก ก็ลุกลามใหญ่โต จนใน ปีนี้องค์การเบาหวานโลก ได้เน้นการรณรงค์เบาหวานในวัยรุ่น ปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นในโลก ไม่น้อยกว่า ๕ ล้านคน

สารเคมีที่กิน เข้าไปคือ polar compound ยังไม่มีใครประกาศออกมาเลยว่ามีผลร้ายอย่างไร แต่ที่แน่ๆ คือ มันหนืดเมื่อโดนความร้อนสูง และติดหนึบหนับในลำไส้เล็กของเรา จนทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึม สารอาหารที่ละลายน้ำ เช่น กรดอมิโน วิตามินบี ซี เป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วยต่างๆโดยเฉพาะ การเจ็บป่วยแบบสะสม ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งยากต่อการสังเกตเห็น
บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมบทความนี้ เชียร์แต่น้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวเคี่ยวเอง น้ำมันปาล์ม ก็มีระดับกรดไขมันอิ่มตัวสูงถึง 48% ไม่เหมาะกับการทอดหรืออย่างไร? จริงๆ แล้วก็เหมาะสม ถ้าผ่านการหีบเย็น แต่น้ำมันปาล์มที่ขายอยู่นั้นผ่านกรรมวิธี refined,bleached,deodorized  จึงมี polar compound เมื่อทอด

น้ำมันพืช ที่ได้จากการสกัดแบบธรรมชาติ คือ หีบเย็น (Cold press) หรือ การบีบคั้นโดยไม่ใช้ความร้อน ส่วนใหญ่แล้วดี มีคุณค่าทางโภชนาการ แต่เมื่อเอาไปดัดแปลงทางเคมี เติมไฮโดรเจนเข้าไปก็เลยเป็นโทษ น้ำมันพืชที่หีบเย็นถ้านำมากินโดยไม่ผ่านการผัด การทอดก็จะได้สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย สปาหลายแห่งจึงนำไปใช้เสริมสวย บำรุงผิวให้ลูกค้า

นิตยสาร'เกษตรกรรมธรรมชาติ' ฉบับ ๒/๒๕๔๘ บทความพิเศษ "น้ำมันมะพร้าวและกะทิเป็นอันตราย หรือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ"โดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา กล่าวไว้ว่า "น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันพืชที่ ประเทศต่างๆ ในเอเซียและแปซิฟิคใช้เป็นแหล่งพลังงาน และการหุงหาอาหารมาช้านาน โดยไม่ปรากฎ อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2521 ประเทศ ศรีลังกา เป็นเทศที่ใช้น้ำมันมะพร้าว มากที่สุดประเทศหนึ่ง มีอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ อุดตันเพียง ๑ในแสนคน เปรียบเทียบกับ ๑๘๗ ในแสนคนในประเทศที่ไม่ได้ใช้น้ำมันมะพร้าว"

ดร.ณรงค์ยังกล่าวด้วยว่า "น้ำมันมะพร้าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงระดับโคเลสเตอรอลในเลือด เนื้อมะพร้าว กับน้ำมะพร้าวลดระดับโคเลสเตอรอลอย่างมีนัยสำคัญ น้ำมันมะพร้าวเพิ่มปริมาณของ High density lipoprotein (HDL) ได้มากกว่าน้ำมันถั่วลิสง น้ำมันมะพร้าวไม่เพิ่มอัตราส่วนของ LDL ต่อ HDL ในขณะที่ไปลดระดับของไตรกลีเซอไรด์"

ข้าพเจ้าคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องเชื่อมั่นในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย แม้ว่าท่านทั้งหลาย จะไม่ได้บันทึกการทดลองทางเคมี ชีวะ ไว้ให้เราศึกษา แต่อย่าลืมว่าท่านได้ใช้ร่างกายของท่าน ทดลองเพื่อพวกเรามานานแสนนานแล้ว

ข้าพเจ้าได้คัดลอกความเห็นตอบกระทู้ของ ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา มาเพื่อท่านจะได้อ่านสะดวกดังนี้ :
คน ไทยใช้กะทิประกอบอาหารหวานคาวมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยไม่ปรากฎว่ามีใครเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน จนกระทั่งเราเปลี่ยนมาบรโภคนำมันไม่อิ่มตัว กะทิกับน้ำมันมะพร้าว เป็นสารตัวเดียวกัน แต่อยู่ในรูปต่างกัน มีข้อดีคือ
๑. มีความอิ่มตัว ทำให้ออกซิเจน และไฮโดรเจนเข้าแทรกไม่ได้ จึงไม่เกิด trans fat และไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งและทำอันตรายต่อเซลในร่างกาย
๒. เป็นโมเลกุลขนาดกลาง จึงเคลื่อนย้ายในร่างกายได้รวดเร็ว จากกระเพาะไปลำไส้ และเข้าไปเปลี่ยนเป็นพลังงานในตับ จึงไม่สะสมเป็นไขมัน ดังเช่นน้ำมันไม่อิ่มตัว
๓. มีภูมิคุ้มกันเกิดจากกรดลอริก ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกันกับนมแม่ที่ช่วยให้ทารกมีภูมิคุ้มกันโรค อีกทั้งยังทำลายเชื้อโรคแทบทุกชนิดได้
๔. มีวิตามินอี ที่มีอานุภาพช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เข้ามาทำลายเซลล์ ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และโรคแห่งความเสื่อมอีกหลายโรค มีประจักษพยานมากมายจากชนชาติ ที่บริโภคกะทิ และน้ำมันมะพร้าวมาเป็นเวลานับพันปี โดยไม่มีผู้ใดเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ฯลฯ จนกระทั่งพวกเราหันไปบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัวภูมิปัญญาของคนไทยคือการใช้กะทิ ในอาหารไทย ช่วยให้ปลอดโรค ร่างกายแข็งแรง และไม่อ้วน เกือบ ๓๐ ปีมาแล้วที่เราถูกเขาหลอกให้บริโภค น้ำมันไม่อิ่มตัว เพราะผลประโยชน์อันมหาศาล แต่ได้ทำลายอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าวและกะทิของเรา รวมทั้งรายได้ของชาวสวนมะพร้าว ตลอดจนต้องเสียเงินอีกมาก ในการสั่งซื้อน้ำมันไม่อิ่มตัวเข้ามาบริโภค และในการรักษาโรคที่เกิดจากการบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว ถึงเวลาแล้วที่เราจำต้องตอบโต้ กับการปรักปรำกะทิและน้ำมันมะพร้าว และรณรงค์ให้คนไทยหันกลับมาบริโภคกะทิ ดังที่บรรพบุรุษของเราได้ปฏิบัติมาเป็นแล้วช้านาน

       
สำหรับเมล์นี้ประเด็นที่น่าสนใจนำมาวิเคราะห์คือ    น้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหารกันอยู่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ มีpolar compoundอยู่ในน้ำมันพืชก่อนทอดจริงหรือไม่         น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าวและกะทิมีประโยชน์หรือไม่ ควรเลิกใช้น้ำมันพืชแล้วกลับไปใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าวดีหรือไม่  ไขมันอิ่มตัวเป็นประโยชน์หรือให้โทษกันแน่   เรื่องคุณประโยชน์และโทษของน้ำมันชนิดต่างๆนี้มีความสับสนอยู่มาก แม้ในหมู่นักวิชาการหรือแพทย์ก็ตาม  บ้างก็ว่าน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มมีโทษ  บ้างก็ว่ามีประโยชน์ 

        ดังนั้นการที่จะดูว่าน้ำมันปรุงอาหารชนิดใดดีหรือไม่นั้นจึงควรดูจากส่วน ประกอบต่างและคุณสมบัติของน้ำมันแต่ละชนิด เช่น ในน้ำมันจากทั้งพืชและสัตว์จะมีกรดไขมันทั้งชนิดอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่ม ตัว  แต่ในน้ำมันจากสัตว์จะมี cholesterol อยู่ด้วย  ส่วนในพืชไม่มีcholesterol หรือมีก็น้อยมาก

กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) มีมากในน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมูซึ่งโครงสร้างของไขมันจะเป็นแบบมีแถบคาร์บอนยาว  มีคาร์บอนอยู่ 16-18 ตัว( long chain carbon)   ต่างกับกรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม (มีเฉพาะใน palm kernel oilซึ่งสกัดมาจากเมล็ดปาล์ม  ส่วน palm oil และ palm oleinซึ่งสกัดมาจากเนื้อปาล์ม ไม่มี)   ซึ่งโครงสร้างเป็นแบบมีแถบคาร์บอนยาวปานกลาง มีคาร์บอนอยู่ 10 - 12 ตัว( medium chain carbon)   ซึ่งอยู่ในรูปของกรด lauric   ความแตกต่างของน้ำมันในเรื่องความยาวของสายคาร์บอนนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่าง หนึ่งซึ่งจะได้กล่าวต่อไป  กรดไขมันอิ่มตัวจะมีจุดเดือดของน้ำมันสูงกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว

        กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) มีอยู่ 2 ชนิดคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว(Mono unsaturated)ในรูปของ กรด oleic   และกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (poly unsaturated )ในรูปของกรด linoleic (โอเมก้า6)  และในรูปของกรด alpha linolenic (โอเมก้า 3)  กรดไขมันไม่อิ่มตัวทุกชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกาย  แต่หากโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3 มากเกินไปก็จะเกิดโทษ (ดูเรื่องโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6) 

                        กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated fatty acid, MUFA) เป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  มีความคงตัวสูง ทำปฏิกริยากับออกซิเจนในอากาศน้อย เกิดสารอนุมูลอิสระไม่มาก ไม่ใคร่เหม็นหืน ทนความร้อนได้สูง เหมาะใช้ปรุงอาหารประเภททอดหรือผัดที่ใช้เวลานาน ๆ   กรดไขมันชนิดนี้ตัวอย่าง เช่น โอเลอิก (Oleic acid ) ซึ่งพบมากในน้ำมันพืชต่อไปนี้ คือ มะกอก, คาโนลา, ถั่วลิสง, งา ปาล์มโอเลอิน (สกัดจากเนื้อปาล์ม มิใช่เมล็ดปาล์ม), ดอกคำฝอยแปลง และเมล็ดทานตะวันแปลง   MUFA นี้ ช่วยลดโคเลสเตอรอล ลด LDL-C และเพิ่ม HDL-C ป้องกันเส้นเลือดตีบได้

                        กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง หรือกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน  (Poly unsaturated (linoleic -โอเมก้าและ alpha linolenic-โอเมก้า 3)   เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง  พบได้ในน้ำมัน safflower  น้ำมันงา น้ำมันข้าวโพด  น้ำมันฝ้าย และน้ำมันถั่วเหลือง  ไขมันชนิดนี้ลดระดับ LDL เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากมากไปก็จะไปลดระดับ HDL ด้วย



ไขมันทรานซ์ (Trans Fats or Hydrogenated Fats หรือ partially Hydrogenated Fats ) 

ไม่ได้เป็นไขมันมีอยู่ตามธรรมชาติแต่เป็นไขมันที่คนเราทำขึ้นมา โดยการใส่ไฮโครเจนเข้าไปในน้ำมันพืช  เพื่อให้มีความคงตัว เก็บไว้ได้นานขึ้น  และมีรสชาติของน้ำมันที่ดีขึ้น  เนื่องจากไฮโดรเจนที่เติมเข้าไปนี้จะเติมเข้าไปเกาะกับสายคาร์บอนในไขมัน เพียงบางส่วนจึงเรียกอีกชื่อว่า partially Hydrogenated Fats    แต่หากเติมไฮโดรเจนให้ไปเกาะกับสายคาร์บอนทุกสายเป็น fully hydrogenated fat แล้วก็จะเกือบไม่มี transfat แต่จะเปลี่ยนเป็นไขมันทิ่อิ่มตัวแทน       

ลักษณะของน้ำมันพืชที่ partially Hydrogenated แล้วมีตั้งแต่เป็นของเหลว หรือ เป็นครีมไปจนถึงเป็นไขมันแข็ง แล้วแต่การใส่ไฮโดรเจนหรือการ hydrogenated เข้าไปมากน้อยเพียงใด  ยิ่งมากก็จะยิ่งทำให้น้ำมันพืชแข็งตัวขึ้น  อาหารที่มีไขมันทรานซ์พบได้ในพวก มาร์การีน  หรือน้ำมันซึ่งนำไปทำอาหารประเภทโดนัท  อาหารทอด เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ขนมคุกกี้ ขนมคบเคี้ยวและขนมอบต่างๆ   ไขมันชนิดนี้มีโทษมากกว่าไขมันอิ่มตัวของสัตว์ โดยไปจะเพิ่มระดับ cholesterol ที่ไม่ดีในร่างกาย โดยเพิ่มทั้ง total cholesterol และcholesterol ที่ไม่ดี( LDL)    และไปลดcholesterolที่ดี( HDL)ในร่างกาย    จึงควรใช้ไขมันชนิดนี้ให้น้อยที่สุดหรือไม่ใช้เลยจะยิ่งเป็นการดี   

ข้อมูลของไขมันทรานซ์นี้กำลังสร้างความตระหนกและตื่นตัวในต่างประเทศว่า ทั้งในยุโรป อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจากผลวิจัยพบว่าไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อ หัวใจและหลอดเลือดมากที่สุดเมื่อเทียบกับไขมันชนิดอื่นๆ  ในยุโรปและสหรัฐกำหนดให้ต้องมีฉลากแสดงจำนวนของไขมันทรานซ์ที่มีอยู่ในอาหาร ที่เกินกว่า0.5 กรัม  บางประเทศห้ามใช้ไขมันทรานซ์นี้ประกอบอาหารเลย     ทำให้ Mcdonal และKFC และบริษัท fast foodอื่นๆ ต้องเปลี่ยนไปใช้น้ำมันสำหรับทอดที่ไม่มีไขมันทรานซ์ ในสหรัฐและยุโรปแล้ว  แต่ก็อาจยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่ยังไม่ใส่ใจในเรื่องนี้ 

ในประเทศไทยยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหาร และยังไม่มีการกำหนดให้ต้องระบุในฉลากผลิตภัณฑ์

Monday, September 13, 2010

เปรียบเทียบเทคโนโลยี 3.9G HSPA+ vs LTE

สวัสดีครับ ในวันนี้ เราจะมาคุยกันถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในโมบายล์บรอดแบนด์ ที่อยู่ในระดับ 3.9G หรือยุค 3G ที่เกือบจะถึง 4G นั่นเองครับ แต่คราวนี้ พอพูดถึงเทคโนโลยี 3.9G มันหมายถึงเทคโนโลยีตัวไหนล่ะ เพราะขนาด 3GPP เอง ก็มีเทคโนโลยีอยู่หลายตัวอยู่ เช่น WiMAX, UMTS, GetSM เป็นต้นอย่างไรก็ตาม สำหรับบ้านเรา WiMAX ก็จะถูกจัดเป็นเทคโนโลยีอีกประเภทไปเลย ดังนั้น ก็คงไม่พ้นสายที่มาจาก GSM ซึ่งสำหรับความเร็วของการให้บริการที่ได้ใกล้เคียงกับ 3.9G นั้น จะว่าไปแล้ว ก็มีเพียง HSPA ซึ่งพัฒนามาจากสาย UMTS และ LTE ซึ่งยังไม่อาจจะนับเป็น 4G ได้ ณ ขณะนี้ ดังนั้น ในวันนี้ เราก็จะมาเปรียบเทียบเทคโนโลยีทั้งสองตัวนี้กัน และมาดูกันว่า ตัวไหนมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับสถานการณ์ไหน อย่างไรบ้าง โดยเริ่มแรก เราจะมาดูกันว่า ในปัจจุบันนี้ มีการใช้งานเทคโนโลยีแต่ละชนิดมากน้อยเพียงใด แล้วเทคโนโลยีตัวไหนจะเป็นอย่างไรกันบ้าง โดยจะเปรียบเทียบในแง่ตัวเทคโนโลยีก่อน จากนั้น ก็จะเปรียบเทียบในแง่ Performance แล้วก็สถานการณ์การใช้งานในปัจจุบัน แล้วจึงค่อยสรุปกันว่าทิศทางโดยรวมนั้นเป็นอย่างไร

เปรียบเทียบเทคโนโลยี

เนื่องจากเทคโนโลยีทั้งสองนี้ เป็นเทคโนโลยีที่มาจาก 3GPP ด้วย กัน ดังนั้น การคุยถึงเรื่องการเปรียบเทียบเทคโนโลยีของทั้งคู่นั้น ก็เสมือนกับการเปรียบเทียบพี่น้อง ซึ่งทั้งสองจะมีอะไรๆ คล้ายๆ กันอยู่เช่นกัน และสามารถที่จะทำงานร่วมกัน หรือเปลี่ยนแปลงไปหากันได้พอสมควร ดังนั้น ในการเปรียบเทียบ เราจะเปรียบเทียบเฉพาะเทคโนโลยีเด่นๆ ที่แตกต่างกัน และความแตกต่างที่ค่อนข้างชัดเจน

1. Architecture

ส่วนแรกนี่ก็คือ ส่วน Architecture ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว ส่วนนี้เป็นส่วนที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ มักจะโฆษณาว่าสามารถที่จะ Migrate หา กันได้ เพื่อให้อุปกรณ์ของตนสามารถที่จะรองรับเทคโนโลยีในอนาคตได้ ก็ว่ากันไปนะครับ ส่วนที่ว่าจะทำได้จริงไม่จริงเพียงใด ก็คงต้องไปเปรียบเทียบกันดู ในที่นี้ ก็จะแค่บอกความแตกต่างของเทคโนโลยีทั้งสองเท่านั้นเอง

HSPA+ เทคโนโลยีตัวนี้ เป็นเทคโนโลยีที่เสริมต่อขึ้นมาจากเทคโนโลยีของ UMTS ซึ่งก็คือเทคโนโลยี 3G นั่นเอง โดยหลักๆแล้ว เทคโนโลยี UMTS จะถือว่าเป็นเทคโลยีของ 3GPP R99 (และจากนั้นจะเป็น R4, R5 ไปตามลำดับ) ซึ่งจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาจากเทคโนโลยีของ GSM อีกต่อหนี่ง ดังนั้น โครงสร้างต่างๆ จะเป็นในรูปแบบเดียวกัน นั่นก็คือ เมื่อแบ่งออกเป็นสองส่วนแล้ว ส่วนที่เป็นเรื่องของ Core Network จะเหมือนกัน มีส่วนของ MSC ซึ่งจะคอยดูแลเรื่องของบริการการสนทนาหรือ Voice และส่วนของ GGSN / SGSN ซึ่งดูแลเรื่องของการสื่อสารข้อมูลหรือ Data โดยในส่วนที่สองนี้ จะประกอบด้วย SGSN ซึ่งจะดูแลเรื่องของการทำ Mobility Management ว่ายูสเซอร์ตอนนี้อยู่ที่ไหน มีสถานภาพอย่างไร และ GGSN ซึ่งเปรียบเสมือนกับเกตเวย์ที่จะเชื่อมต่อ IP Network ด้านนอกและควบคุม Session การเชื่อมต่อของยูสเซอร์ ซึ่งจะมีการสร้าง Tunnel จากยูสเซอร์ตรงมาที่ GGSN นั่นเอง

ในส่วนของ Radio Access Network นั้น ก็จะประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนก็คือ RNC (Radio Network Controller) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนสมองที่คอยควบคุมการเคลื่อนไหวเป็นไปต่างๆของเครือข่ายส่วนนี้ ซึ่งหลักๆก็คือ Mobility Management ที่ดูแลเรื่องการส่งต่อยูสเซอร์ระหว่างสถานีฐาน และส่วนของ Radio Resource Management ซึ่งจะคอยดูแลการกำหนดทรัพยากรความถี่ให้กับยูสเซอร์ต่างๆ การกำหนด Scheduling ในการใช้งานทรัพยากรความถี่ในการรับส่งข้อมูล เป็นต้น และมี Node B ซึ่งเป็นสถานีฐานในการทำงานทางด้านคลื่นความถี่โดยเฉพาะ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การพัฒนาของ UMTS นั้น จะพัฒนาขึ้นตรงๆ จาก GSM มาตรงๆ เลยทีเดียว แค่อาจจะเปลี่ยนชื่อ ใช้เทคโนโลยีต่างกันบ้างเท่านั้นเอง

สำหรับ HSPA ก็จะพัฒนาตามโครงสร้าง Architecture นี้ โดยจะพัฒนาขึ้นมาเป็น HSDPA ใน R5, HSUPA ใน R6, และพัฒนาขึ้นเป็น HSPA+ หรือ HSPA Evolution ใน R7 ขึ้นไป โดยจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง Architecture นี้แต่อย่างใด

LTE สำหรับ LTE นั้น ก็จะมีการปรับปรุงเรื่องของ Architecture เพื่อให้โครงสร้างแบนราบมากขึ้น โดยสำหรับ Core Network ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็น Evolved Packet Core ซึ่งเป็นเรื่องของการสื่อสารข้อมูลเป็นหลัก โดยภายในอาจจะแบ่งหน้าที่ออกเป็น MME และ SAE ตามลำดับ MME (Mobility Management Entity) และ SAE (System Architecture Evolution) Gateway โดยส่วน MME นั้น จะทำหน้าที่เป็นส่วนควบคุมของเครือข่าย LTE รวมทั้งสัญญาณ Signaling ต่างๆ รวมถึงการตรวจสอบต่างๆ ในระบบ และรวมถึงการทำงานร่วมกันของเครือข่าย 2G/3G กับ LTE ด้วย และส่วน SAE Gateway จะทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ให้กับข้อมูลในการรับส่งต่างๆออกจากเครือข่าย และ Core Network อันนี้สามารถที่จะเชื่อมต่อได้ทั้งเทคโนโลยี 3GPP ต่างๆ เช่น GSM / UMTS / LTE หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีอื่น เช่น Wi-Fi, WiMAX, CDMA เป็นต้น

สำหรับในส่วนของ Radio Access Network นั้น จะปรับปรุงให้เจ้า Node B มีความฉลาดมากขึ้น โดยพัฒนาขึ้นเป็น eNode B หรือ evolved Node B ซึ่งจะรวมเอาหน้าที่ของ RNC เข้า ไปด้วย เพื่อให้มีความฉลาดมากขึ้น สามารถที่จะจัดการอะไรๆ ได้ด้วยตัวเอง และโครงสร้างที่แบนราบมากขึ้น สามารถที่จะส่งต่อการเชื่อมต่อไปยังสถานีฐานข้างๆ ได้ด้วย X2 interface ที่เชื่อมระหว่างกัน ทำให้มีค่า Latency ต่ำลง ดังรูปที่ 3 ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบโครงสร้าง Radio Access Network ของทั้งคู่

ในส่วนของการสนทนาหรือ Voice ใน LTE นั้น จะไม่ได้มีการกำหนดไว้ เพราะคาดว่าจะเป็นการใช้งานในลักษณะของ VoIP มากกว่า เพราะว่าเทรนด์มีแนวโน้มที่จะไปใช้งานในลักษณะของ VoIP มากขึ้น อีกทั้งในเทคโนโลยี HSPA ก็เริ่มที่จะมีการใช้งานฟีเจอร์เพื่อการใช้งานในลักษณะดังกล่าว เช่น CS Voice over HSPA ซึ่งเป็นการใช้งานการเชื่อมต่อแบบ HSPA (ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบ Data) ไปยัง RNC และมาใช้การเชื่อมต่อแบบ Circuit Switch เข้าไปที่ MSC ตามรูปแบบ Voice ปรกติ หรือ VoIP over HSPA ซึ่งจะต้องใช้งาน IMS ด้วย และนำเสนอขึ้นมาใน 3GPP R8

ดังนั้น หากจะเทียบในเรื่องของ Architecture แล้ว ทาง LTE ถือว่าได้เปรียบในเรื่องของ Latency ที่ดีกว่า และสามรถที่จะเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีต่างๆ ได้มากมายกว่า

2. Multiple Access Technology

เทคโนโลยีต่อไปที่จะทำการเปรียบเทียบก็คือ เทคโนโลยีด้านคลื่นความถี่ ซึ่งจะเน้นหนักทางด้าน Multiple Access Technology เป็นหลักครับ HSPA+ อย่างที่ได้กล่าวมา เทคโนโลยีของ HSPA นั้นพัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยี UMTS เป็นหลัก ด้วยเหตุนี้เอง การทำงานของ HSPA นั้น จะเน้นไปที่เทคโนโลยี CDMA แต่เป็น WCDMA (Wideband CDMA) ซึ่งหลักการก็คือ การผสมผสานข้อมูลที่รับส่งกันนั้นเข้ากับรหัสหรือ Code ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ข้อมูลของยูสเซอร์ของแต่ละคนไม่ซ้ำกัน และสามารถที่จะแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด และด้วยการใช้งาน WCDMA นั้นหมายความว่า ข้อมูลของยูสเซอร์ทุกคนจะถูกขยายออกไปด้วยการเข้ารหัสไปจนเต็มแบนด์วิธ 5 MHz ที่กำหนดให้ และสำหรับ WCDMA นั้นจะกำหนดแบนด์วิธให้แบบเดียวก็คือ 5 MHz เท่านั้น (แต่ใน Release หลังๆ เช่น R8, R9, R10 เราสามารถที่จะใช้งานความถี่ได้มากกว่า โดยจะเป็นลักษณะ 5, 10, 20 MHz เป็นต้นครับ)

การเข้ารหัสหรือ Coding นั้น ก็จะใช้งานรหัสที่เรียกว่า เป็น Orthogonal ต่อกัน และกำหนดขึ้นจากโครงสร้าง Code Tree ที่มีข้อจำกัดในการกำหนดรหัสให้กับยูสเซอร์ที่อาจจะไม่สามารถใช้งานได้ทุกรหัส เนื่องจากการทำให้เป็น Orthogonal นั่นเอง และสำหรับการกำหนดรหัสนั้น ก็จะเป็นเสมือนทรัพยากรหนึ่งในการใช้งานที่จะต้องคำนึงถึงด้วย ซึ่งใน HSDPA นั้น จะมี 15 รหัสให้ใช้งาน ซึ่งอาจจะใช้งานเพียงรหัสเดียว หรือใช้งานทั้งหมด 15 รหัสก็ได้ สำหรับ HSDPA นั้น หากใช้งาน 5 รหัส ก็จะได้ความเร็วสูงสุดที่ 3.6 Mbps (ซึ่งแน่นอนว่า ต้องสูญเสียไปบ้างกับ Header หรือการเข้า Error Coding เพื่อรองรับกับการส่งสัญญาณที่ไกลขึ้น) 10 รหัสก็จะได้ที่ 7.2 Mbps และ 15 รหัสที่ 14.4 Mbps สำหรับเทคโนโลยี HSDPA ในด้านดาวน์ลิงก์ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะใช้งานการมอดูเลชันแบบ 16QAM หรือ QPSK แต่เมื่อมีการพัฒนาขึ้นเป็น HSPA+ ใน R7 ก็มีการนำเสนอ 64QAM ขึ้นมา ซึ่งทำให้ได้ความเร็วสูงสุดที่ 21 Mbps ในแบนด์วิธความถี่ 5MHz นี้ แต่สำหรับอัพลิงก์ ยังคงใช้งาน 16QAM อยู่ ซึ่งจะได้ความเร็วที่ประมาณ 11 Mbps

ใน R8 ขึ้นไปนั้น ก็ได้เปิดให้สามารถใช้งานความถี่ได้มากกว่า 1 แบนด์วิธเดิมที่มีเพียง 5MHz ก็จะกลายเป็น 10MHz และ 20MHz ใน R9 ซึ่งจะช่วยเรื่องของความเร็วในการรับส่งสูงสุดที่มากขึ้นตามลำดับ
LTE สำหรับ LTE นั้น จะใช้เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าขึ้นมาอีกขั้น นั่นก็คือ เทคโนโลยี OFDMA (Orthogonal Frequency Division Multiple Access) ที่มีพื้นฐานของ FDM ซึ่งเป็นเพียงการแบ่งสัญญาณความถี่ออกจากกัน แต่ไม่ได้ใช้วิธีการใช้ Guard Band เพื่อแยกแต่ละความถี่ออกจากกัน หากแต่ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า การทำให้มันเป็นอิสระต่อกัน หรือ Orthogonal ทำให้ไม่ต้องใช้ Guard band และช่วยให้มีประสิทธิภาพความถี่มากขึ้น

จากนั้น เมื่อได้สัญญาณ OFDM ก็จะทำการแบ่งออกเป็นกลุ่มความถี่ย่อยๆหรือ Sub-carrier ที่มีขนาดกลุ่มละ 180 kHz เวลา 1 ms ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงความถี่ภายในเพื่อกระจายความผิดพลาดที่มักจะเกิดแบบ Narrow band ออกไปเพื่อให้สามารถที่จะแก้ไขข้อมูลได้ง่ายขึ้น

ข้อดีของการใช้งาน OFDMA ก็ คือ ประสิทธิภาพที่ดี ทั้งในเรื่องของการใช้งานความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ไขปัญหาสัญญาณรบกวนได้ดี อีกทั้งยังสามารถที่จะเลือกใช้ความถี่ต่างๆได้อย่างยืดหยุ่นมากกว่า แต่ก็จะมีข้อเสียก็คือ ค่า PAPR (Peak to Average Power Ratio) ที่สูง มีประสิทธิภาพด้านพลังงานที่ลดลง จึงเหมาะกับการใช้งานด้านดาวน์ลิงก์มากกว่า

ถ้าเป็นด้านอัพลิงก์ของ LTE นั้น ก็จะใช้อีกเทคโนโลยีหนึ่งก็คือ SC-FDMA หรือ Single Carrier FDMA ซึ่งก็เป็นการปรับขึ้นมากจาก OFDMA อีกทอดหนึ่ง ซึ่งวิธีการนั้นก็จะยุ่งยากกว่า OFDMA ขึ้นมานิดหนึ่ง แต่ก็ช่วยให้ มีการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่มีค่า PAPR ต่ำลง ประหยัดพลังงานมากขึ้น จึงเหมาะกับที่ LTE จะนำมาใช้งานกับทางด้านอัพลิงก์ ที่จะต้องคำนึงถึงต้นกำเนิดพลังงานที่มาจากแบตเตอรี่เป็นหลัก


3. Radio Bearer Technology

ในส่วนของ Radio Bearer Service นั้น จะพูดถึงลักษณะบริการ Bearer Service ที่ได้รับจาก HSPA และ LTE โดยเราจะเริ่มที่ HSPA ก่อนแล้วค่อยอธิบาย LTE เช่นเดียวกับส่วนที่แล้ว

HSPA+ ในส่วนของ HSPA นั้น จะพัฒนาต่อเนื่องมาจาก UMTS ซึ่งก็จะต้องรองรับบริการต่างๆในลักษณะเดียวกับ UMTS เช่นกัน โดยแรกเริ่มเดิมที ใน UMTS นั้น ก็จะรองรับการเชื่อมต่อในลักษณะ Dedicated ที่มีความเร็วตั้งแต่ 64, 128, ไปจนถึง 384kbps เลยทีเดียว โดยจะมีการรองรับทั้งการสนทนาแบบ Voice และการเชื่อมต่อ Data ซึ่งเป็นแบบ Dedicated ซึ่งได้ความเร็วไม่มากนักและค่อนข้างที่มีประสิทธิภาพต่ำสำหรับการเชื่อมต่อแบบ Data ที่มีข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาขึ้นมาเป็นแบบ HSPA ก็ได้มีการพัฒนาการใช้งานทรัพยากรเป็นแบบ Shared ซึ่งเมื่อมีการใช้งานช่องสัญญาณจากหลายๆคน ก็สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ด้วยการทำ Scheduling ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานทรัพยากรให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันนั้น การใช้งานสนทนาแบบVoice ก็ยังใช้งานกันแบบ Dedicated อยู่เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม ก็มีการพัฒนาการใช้บริการ Voice ในรูปแบบที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ฟีเจอร์ CS over HSPA ซึ่งจะทำการปรับเปลี่ยนการเชี่อมต่อแบบ Voice ระหว่างเครื่องโทรศัพท์และสถานีฐานไปยัง RNC มาเป็นการใช้งานบนบริการ HSPA ซึ่งเป็นลักษณะ Shared Resource หรือการเปิดให้มีการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน หรือฟีเจอร์ VoIP over HSPA ซึ่งจะต้องมีการรวมเอา IMS เข้ามาใช้งานร่วมกันด้วย ซึ่งในการรองรับบริการ Voice บน HSPA ก็จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนด QoS ที่ชัดเจนด้วย สำหรับการกำหนด QoS นั้น ใน UMTS/HSPA ได้แบ่ง Class ไว้ออกเป็น 4 Class คือ Conversational, Streaming, Interactive, Background ซึ่งก็จะมีค่า Attribute ที่กำหนดมาแตกต่างกัน

LTE นั้นก็จะมีการทำงานของ Bearer Service ที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย เนื่องจากไม่มีการกำหนดทรัพยากรแบบ Dedicated ให้กับ Voice เพราะใช้งานแบบ VoIP แทน ดังนั้น การกำหนดทรัพยากรต่างๆ จะเป็นแบบ Shared ทั้งหมด และมีการกำหนดให้มีความสามารถที่จะส่งต่อ VoIP นั้นไปยัง 2G/3G เพื่อใช้งานได้ต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้ง CS Fallback ที่ส่งไปใช้ 2G/3G ทันทีเมื่อมีการใช้งาน Voice หรือว่า Single Radio Voice Call Continuity (SR-VCC) เพื่อส่งจาก VoIP ใน LTE ไปยัง 2G/3G



ส่วนการกำหนด QoS ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับ HSPA นั่นเอง ดังที่เคยได้เขียนในเรื่อง E2E QoS ไปแล้วครั้งหนึ่งครับ

4 MIMO technology
ในเรื่องของการทำ Multiple Input Multiple Output หรือ MIMO โดยใช้งานเสาอากาศ (antenna) หลายๆ ต้นนั้น เราสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีได้หลายๆ ตัวมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรับส่งสัญญาณได้ ซึ่งเทคโนโลยีที่ว่า ได้แก่
Spatial Multiplexing
หลักการคร่าวๆ ก็คือ การแยกสัญญาณออกเป็นสองชุดที่แยกจากกัน แล้วส่งไปยัง Antenna ที่แยกจากกันเช่นกัน ซึ่งก็จะดูเหมือนว่า เราสามารถที่จะเพิ่มความเร็วในการรับส่งได้ประมาณ 2 เท่า และใช้เรื่อง Multipath เข้ามามีส่วนช่วยให้สัญญาณที่แยกส่งกันมานั้นแยกจากกันได้ เนื่องจากสัญญาณทั้งสองจะผ่าน Multipath แบบสุ่มที่แตกต่างกันมา และเมื่อมาถึงผู้รับก็จะมีลักษณะของเฟสและแอมปลิจูดที่แตกต่างกันไปเป็น ลักษณะของตัวเอง มาถึง Antenna ด้านรับที่แยก จากกันเช่นกัน ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงนั้น multipath ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ถึงกับทำให้สัญญาณทั้งสองแยกจากกันได้อย่างร้อย เปอร์เซ็นต์ แต่ก็จะทำให้ได้ความจุสัญญาณที่มากขึ้นอย่างแน่นอน และอาจจะได้เกือบๆ สองเท่าเลยทีเดียว แต่ก็ขึ้นกับสภาพ multipath ด้วย
ในรูปแบบของ Spatial Multiplexing นั้น จะมีแบบที่ใช้งานร่วมกันของยูสเซอร์เดียว ที่ 3GPP เรียกว่า Single User MIMO (SU-MIMO) และแบ่งให้ใช้งานกับหลายๆยูสเซอร์ที่เรียกว่า (Multi User MIMO (MU-MIMO)
Antenna Diversity
ซึ่งจะใช้ได้กับทั้งด้านส่ง (Tx) หรือด้านรับ (Rx) โดยหลักการก็คือ จะรับหรือส่งสัญญาณเดียวกันทั้งสอง Antenna หากแต่ว่าด้วยความแตกต่างกันของ Antenna เช่น ตำแหน่งที่ต่างกัน หรือมุมที่ต่างกัน ก็ทำให้สามารถที่จะเพิ่มความสามารถในการรับหรือส่งขึ้นได้ประมาณ 3-5 dB
Beamforming
เป็นเทคโนโลยีที่เอาข้อดีของการรวมสัญญาณของ Antenna มากกว่าหนึ่งตัว แล้วจะมีรูปแบบที่แตกต่างออกไป มีส่วนที่สัญญาณเพิ่มขึ้นและส่วนที่สัญญาณลดลง ซึ่งเมื่อเอาส่วนที่มีสัญญาณแรงๆเน้นไปที่ยูสเซอร์ ก็จะได้สัญญาณที่ดีขึ้น และสามารถที่จะกำจัดสัญญาณในบางทิศทาง เพื่อให้ได้สัญญาณอ่อนลง และมีการรบกวนกันน้อยลง
HSPA มีการใช้งาน Rx Diversity มาตั้งแต่สมัยยังเป็น GSM และมีการใช้งาน Tx Diversity ใน R99 ส่วนการใช้งาน Spatial Multiplexing ใน R7 และจะใช้งานร่วมกับ 64QAM เพื่อเพิ่ม Throughput ใน R8
LTE ข้อดีของ LTE นั้นก็คือ มีการกำหนดเรื่องของ MIMO ไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งทำให้เทอร์มินอลของ LTE นั้น จะรับรู้และสามารถใช้งาน MIMO ได้ตั้งแต่แรกและใช้งานกันทั่วไปมากกว่า HSPA และรูปแบบการใช้งานของ LTE ก็จะหลากหลายมากกว่า ทั้งการใช้งาน MU-MIMO และ Beamforming
5 Evolution
เทคโนโลยีทั้งสองนี้ จะว่ากันไปก็เหมือนกับเป็นเทคโนโลยีสายเดียวกัน ทั้งๆที่มีการกำหนดรายละเอียดหลายๆ อย่างเหมือนกัน หากแต่เพียงมาแยกกันในรายละเอียดบางอย่าง ทำให้กลายเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งไป แต่ก็จะอ้าง 3GPP เหมือนกัน โดย HSPA นั้น แม้ว่าจะมี LTE กำหนดขึ้นมาในมาตรฐานแล้ว ก็ไม่ได้หยุดยั้งการพัฒนา ได้มีการพัฒนาขึ้นต่อไป โดยใน R8 นั้น ก็จะมีการพัฒนาให้มีการใช้งานสองความถี่พร้อมกันในด้านดาวน์ลิงก์ และไม่จำเป็นต้องเป็นความถี่เดียวกัน เพื่อให้รองรับแบนด์วิธที่เพิ่มขึ้น จากนั้นก็มีการพัฒนาขึ้นต่อในด้านอัพลิงก์ด้วย และให้มีการใช้งาน 4 ความถี่ในด้านดาวน์ลิงก์ ซึ่งทำให้ได้ Performance และ Peak Throughput ที่ใกล้เคียงกับ LTE เลยทีเดียว
สำหรับ LTE นั้น ก็จะมีการพัฒนาต่อไปยัง LTE-A (LTE Advanced) ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยี 4G อย่างจริงๆ จังๆ แต่ในรายละเอียดยังไม่ชัดเจน เพราะการกำหนดมาตรฐานนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ครับ

เปรียบเทียบ Performance

เนื่องจากในปัจจุบัน ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่าใครดีกว่าใคร โดยใช้สมมติฐานที่ต่างกัน ก็จะขอยกผลการศึกษาของ Telenor มาคุยกันละกันนะครับ

Capacity ในส่วนของ Capacity นั้น เราจะเน้นในส่วนของ Data Capacity ซึ่งเป็นตัวหลักของทั้งสองเทคโนโลยี และน่าจะเทียบกันได้ดีกว่า Voice ซึ่งจะใช้หลักการที่ต่างกัน โดย HSPA จะเป็นแบบ Circuit Switched ในขณะที่ LTE จะเน้นไปที่ VoIP ซึ่งแน่นอนว่า LTE ย่อมจะรองรับได้มากกว่าแน่นอน แต่ก็จะมีประเด็นที่ยุ่งยากมากกว่าด้วย ดังนั้น เราจะเน้นไปที่ Data Capacity อย่างเดียว

เมื่อเราต้องการที่จะเปรียบเทียบเรื่องของ Data Capacity วิธีและตัววัดหนึ่งที่เปรียบเทียบได้ดีก็คือ Spectral Efficiency เพราะว่าจะสามารถที่จะเปรียบเทียบได้แม้ว่าจะมี Spectrum ที่ไม่เท่ากันก็ตาม เพราะว่า HSPA ถูกกำหนดขึ้นด้วยสเปกตรัมขนาด 5MHz ซึ่งแน่นอนว่า จะให้แบนด์วิธที่ต่ำกว่า LTE ที่มีสเปกตรัมมาที่ 20MHz และการศึกษาของ 3G America นั้น ก็จะพบว่า LTE จะมี Spectral Efficiency ที่สูงกว่า HSPA หากแต่ก็ไม่ได้กระโดดเป็นสองสามเท่าอย่างที่ใครๆ อาจจะคาดหวัง

และหากจะลองพิจารณาเล่นๆ กันว่า HSPA ที่สเปกตรัมขนาด 10 MHz ก็สามารถที่จะให้ Throughput ขนาด 84Mbps ได้ ในขณะที่ LTE ที่สเปกตรัม 20 MHz ให้แบนด์วิธ 176 Mbps ถ้าหากเทียบบัญญัติไตรยางค์ดู ก็จะเห็นว่าความแตกต่างไม่ได้มากนัก จึงทำให้รู้สึกว่า ยังไม่ค่อยมีความแตกต่างมากนัก Latency สำหรับค่า Latency นั้น LTE จะถือว่าได้เปรียบมากกว่า เพราะโครงสร้างด้าน Architecture ที่มีโครงสร้างแบนราบมากกว่า สามารถที่จะช่วยลดค่า Latency ไปได้มาก เมื่อพิจารณาจากค่า RTT (Round Trip Time) ก็จะเห็นความแตกต่างที่ค่อนข้างชัดเจนมากกว่า
เทคโนโลยีที่เหมาะกับสถานการณ์การใช้งานของไทยในปัจจุบัน

หากจะพิจารณากับสถานการณ์การใช้งานของประเทศไทยในปัจจุบัน ก็คงจะต้องบอกว่า HSPA จะได้เปรียบค่อนข้างมากกว่ามาก เพราะว่าในปัจจุบัน บ้านเรายังไม่มีใช้งาน 3G กันมากสักเท่าไร เพราะอย่าง TOT ก็ เปิดให้บริการเฉพาะในกรุงเทพเท่านั้น และผู้ให้บริการรายใหญ่อีกสามราย ก็ยังไม่สามารถที่จะให้บริการได้ จึงทำให้การใช้งานยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร อีกทั้งโครงข่ายทั้งหลายนั้น ส่วนใหญ่ก็สามารถที่จะพัฒนาต่อขึ้นมาเป็น 3G และ HSPA ได้ ไม่ยากมากนัก ด้วยความที่มันมีเส้นทางการพัฒนามาพอสมควรแล้วและผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็ได้ออก แบบให้อุปกรณ์สามารถที่จะใช้งานร่วมกันหรือพัฒนาขึ้นไปเป็น HSPA ได้ไม่ยาก และผู้ให้บริการบ้านเราก็ได้ชะเง้อรอการอนุญาตให้สามารถให้บริการ 3G กันมานาน ทำให้ทุกอย่างเพียบพร้อมไปหมดสำหรับเครือข่าย HSPA ในทางด้านเชิงเทคนิคครับ

นอกจากนี้ ด้วยความใหม่ของ LTE ทำให้ยังไม่มีเครื่องเทอร์มินอลให้ใช้งานอย่างแพร่หลาย และมีข้อจำกัดและตัวเลือกในการให้บริการไม่มากนัก หากให้บริการเครือข่าย LTE ก็จะติดปัญหาเรื่องเทอร์มินอลราคาแพง รูปแบบไม่สวยงาม ไม่เป็นที่นิยมได้

และหากเราจะเปรียบเทียบ Performance นั้น ก็จะพบว่า LTE และ HSPA ก็จะมี Performance ในขณะนี้ที่ไม่ต่างกันมากเท่าไรนัก และการที่จะใช้งาน LTE ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและแตกต่างในตอนนี้ ก็จะต้องได้สเปกตรัมขนาด 20MHz ซึ่งยากมากพอสมควร อีกทั้งการใช้งานส่วนใหญ่เป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าเรื่องของ Voice ส่งผลให้ค่า Latency ที่แตกต่างมีผลน้อยลง ทำให้ข้อแตกต่างของ HSPA และ LTE ยังไม่มากพอที่จะสร้างความสนใจได้มากนัก ที่สำคัญ บ้านเรานั้น การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงส่วนใหญ่ ก็จะอยู่ในระดับ 2-4 Mbps ซึ่ง HSPA ก็สามารถที่จะตอบสนองได้ไม่ยากเลยทีเดียว ดังนั้น บ้านเราก็จะยังน่าจะไปทาง HSPA ไปก่อน (ยกเว้นว่า หากเราจะต้องรอ 3G ไปอีก 2-3 ปี ตอนนั้น ก็อาจจะต้องมาคุยกันอีกทีครับว่า เทคโนโลยีอะไรที่เหมาะสม อาจจะเป็น LTE ไปแล้วก็ได้ครับ :) )