๑.โรคต้อกระจก
โรคต้อกระจก (cataract) เป็นโรคตาที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ เกิดจากการขุ่นของเลนส์แก้วตา ผู้ที่อายุมากกว่า ๗๐ ปีพบได้ถึงร้อยละ ๗๐
อาการ ไม่มีอาการปวดตา ภาพมัวมืด เวลามองแสงจ้าจะเกิดแสงสะท้อน เช่น มองไฟหน้ารถที่ขับสวน ภาพบิดเบี้ยว มองเห็นในระยะใกล้ชัดขึ้น การมองเห็นในที่มืดแย่ลง
โรคต้อกระจก (cataract) เป็นโรคตาที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ เกิดจากการขุ่นของเลนส์แก้วตา ผู้ที่อายุมากกว่า ๗๐ ปีพบได้ถึงร้อยละ ๗๐
อาการ ไม่มีอาการปวดตา ภาพมัวมืด เวลามองแสงจ้าจะเกิดแสงสะท้อน เช่น มองไฟหน้ารถที่ขับสวน ภาพบิดเบี้ยว มองเห็นในระยะใกล้ชัดขึ้น การมองเห็นในที่มืดแย่ลง
สาเหตุสำคัญ
เกิดจากความเสื่อมตามอายุ สาเหตุอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บที่ตา โรคเบาหวาน
สาเหตุที่มักเข้าใจผิดและไม่ได้ทำให้เกิดต้อกระจก ได้แก่ โรคมะเร็ง
การใช้สายตามาก
การรักษา โดยการผ่าตัดหรือสลายเลนส์ตาที่ขุ่นออก เป็นการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ โดยจะผ่าเมื่อบดบังการมองเห็นมาก จนมีผลกระทบต่อการใช้งาน เช่น การขับรถ การอ่านหนังสือ
๒.โรคต้อหิน
โรคต้อหิน เกิดจากการระบายน้ำในลูกตาผิดปกติ ทำให้ความดันตาสูง และกดทำลายเส้นประสาทตาได้ (glaucoma) พบได้ถึงร้อยละ ๒ ในคนอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป โดยช่วงแรกของโรคมักไม่มีอาการ ไม่ปวด ดังนั้นการรีบวินิจฉัยและรักษาจะสามารถช่วยไม่ให้เกิดการตาบอดได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคต้อหิน ควรได้รับการตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง
• อายุ ๔๐ ปีขึ้นไป
• มีคนในครอบครัวเป็นต้อหิน
• ความดันในลูกตาสูง
• เชื้อสายแอฟริกัน หรือฮิสแปนิก
• โรคเบาหวาน ใช้ยาสตีรอยด์ มีการบาดเจ็บที่ตาในอดีต โรคซีดหรือขาดเลือด ภาวะช็อก
อาการของโรคต้อหิน
• โดยทั่วไปมักไม่มีอาการในช่วงแรกของโรค โดยต่อมาจะสูญเสียการมองเห็นจากทางด้านนอก และตาบอดในที่สุด ซึ่งอาจมีต้อหินบางประเภท (เช่น ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน) ที่อาจมีอาการปวดมาก คลื่นไส้ เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ ตาแดง ภาพมัวและมองไม่เห็นในที่สุด ซึ่งเป็นอาการเร่งด่วนต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
การรักษา
• ไม่มีการรักษาที่สามารถทำให้การมองเห็นกลับคืนมาเท่าคนปกติ แต่สามารถชะลอไม่ให้โรคแย่ลงได้
• ในปัจจุบัน โรคต้อหินส่วนใหญ่สามารถรักษาด้วยยาลดความดันตา เพื่อป้องกันการทำลายเส้นประสาทตา โดยผู้ป่วยจะต้องมารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
๓. โรคสายตายาวในผู้สูงอายุ
โรคสายตายาวในผู้สูงอายุ (presbyopia) มักเกิดหลังอายุ ๔๐ ปี เกิดจากเลนส์ตาที่แข็งขึ้น สูญเสียความสามารถในการปรับการมองใกล้และไกล ดังนั้น ผู้ป่วยมักต้องถือหนังสือไกลขึ้นจึงจะอ่านได้ชัด โดยอาการจะเกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งสายตาสั้น ยาว และปกติ โดยพบว่าผู้ที่มีสายตายาวอาจเกิดอาการเร็วกว่าปกติ
วิธีรักษา ปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตัดแว่นตาสำหรับอ่านหนังสือ
๔.โรคตาแห้ง
โรคตาแห้ง (dry eye) มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เริ่มเมื่อวัยกลางคน สัมพันธ์กับภาวะเปลือกตาอักเสบ และโรคทางกายบางชนิด เกิดจากการผลิตน้ำตาที่น้อยลง ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองเหมือนมีฝุ่นผงในตา มักเป็นมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่แห้งหรือห้องแอร์ อาจมีขี้ตาเหนียว การมองเห็นไม่ชัดต้องกะพริบตาบ่อยๆ ในผู้ป่วยบางคนอาจเคืองตาแล้วมีน้ำตาไหลมากขึ้นได้ เมื่อมีอาการควรพบจักษุแพทย์
การรักษา
ในระยะเริ่มแรกใช้น้ำตาเทียม เมื่ออาการเป็นมากขึ้นควรปรึกษาจักษุแพทย์ การดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงลม ฝุ่น ถ้าอยู่ในห้องแอร์หรืออากาศแห้งอาจหาแก้วใส่น้ำอุ่นวางไว้เพื่อให้มีความ ชื้นในอากาศ รักษาโรคเปลือกตาอักเสบ และโรคทางกายอื่นๆ
การรักษา โดยการผ่าตัดหรือสลายเลนส์ตาที่ขุ่นออก เป็นการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ โดยจะผ่าเมื่อบดบังการมองเห็นมาก จนมีผลกระทบต่อการใช้งาน เช่น การขับรถ การอ่านหนังสือ
๒.โรคต้อหิน
โรคต้อหิน เกิดจากการระบายน้ำในลูกตาผิดปกติ ทำให้ความดันตาสูง และกดทำลายเส้นประสาทตาได้ (glaucoma) พบได้ถึงร้อยละ ๒ ในคนอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป โดยช่วงแรกของโรคมักไม่มีอาการ ไม่ปวด ดังนั้นการรีบวินิจฉัยและรักษาจะสามารถช่วยไม่ให้เกิดการตาบอดได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคต้อหิน ควรได้รับการตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง
• อายุ ๔๐ ปีขึ้นไป
• มีคนในครอบครัวเป็นต้อหิน
• ความดันในลูกตาสูง
• เชื้อสายแอฟริกัน หรือฮิสแปนิก
• โรคเบาหวาน ใช้ยาสตีรอยด์ มีการบาดเจ็บที่ตาในอดีต โรคซีดหรือขาดเลือด ภาวะช็อก
อาการของโรคต้อหิน
• โดยทั่วไปมักไม่มีอาการในช่วงแรกของโรค โดยต่อมาจะสูญเสียการมองเห็นจากทางด้านนอก และตาบอดในที่สุด ซึ่งอาจมีต้อหินบางประเภท (เช่น ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน) ที่อาจมีอาการปวดมาก คลื่นไส้ เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ ตาแดง ภาพมัวและมองไม่เห็นในที่สุด ซึ่งเป็นอาการเร่งด่วนต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
การรักษา
• ไม่มีการรักษาที่สามารถทำให้การมองเห็นกลับคืนมาเท่าคนปกติ แต่สามารถชะลอไม่ให้โรคแย่ลงได้
• ในปัจจุบัน โรคต้อหินส่วนใหญ่สามารถรักษาด้วยยาลดความดันตา เพื่อป้องกันการทำลายเส้นประสาทตา โดยผู้ป่วยจะต้องมารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
๓. โรคสายตายาวในผู้สูงอายุ
โรคสายตายาวในผู้สูงอายุ (presbyopia) มักเกิดหลังอายุ ๔๐ ปี เกิดจากเลนส์ตาที่แข็งขึ้น สูญเสียความสามารถในการปรับการมองใกล้และไกล ดังนั้น ผู้ป่วยมักต้องถือหนังสือไกลขึ้นจึงจะอ่านได้ชัด โดยอาการจะเกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งสายตาสั้น ยาว และปกติ โดยพบว่าผู้ที่มีสายตายาวอาจเกิดอาการเร็วกว่าปกติ
วิธีรักษา ปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตัดแว่นตาสำหรับอ่านหนังสือ
๔.โรคตาแห้ง
โรคตาแห้ง (dry eye) มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เริ่มเมื่อวัยกลางคน สัมพันธ์กับภาวะเปลือกตาอักเสบ และโรคทางกายบางชนิด เกิดจากการผลิตน้ำตาที่น้อยลง ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองเหมือนมีฝุ่นผงในตา มักเป็นมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่แห้งหรือห้องแอร์ อาจมีขี้ตาเหนียว การมองเห็นไม่ชัดต้องกะพริบตาบ่อยๆ ในผู้ป่วยบางคนอาจเคืองตาแล้วมีน้ำตาไหลมากขึ้นได้ เมื่อมีอาการควรพบจักษุแพทย์
การรักษา
ในระยะเริ่มแรกใช้น้ำตาเทียม เมื่ออาการเป็นมากขึ้นควรปรึกษาจักษุแพทย์ การดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงลม ฝุ่น ถ้าอยู่ในห้องแอร์หรืออากาศแห้งอาจหาแก้วใส่น้ำอุ่นวางไว้เพื่อให้มีความ ชื้นในอากาศ รักษาโรคเปลือกตาอักเสบ และโรคทางกายอื่นๆ
โรค จุดรับภาพเสื่อมในผู้สูงอายุ (AMD : Age Related Macular Degeneration) เกิดจากการทำลายบริเวณจุดศูนย์กลางของการรับภาพ และสี โดยไม่ทราบสาเหตุการเสื่อมที่แน่นอน
ปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญ คือ
• ผู้สูงอายุ พบว่าอัตราการเกิดโรคในคนอายุ ๗๕ ปี มีถึงร้อยละ ๓๐ เมื่อเทียบกับร้อยละ ๒ ในคนอายุ ๕๐ ปี
• การสูบบุหรี่
• การสัมผัสแสงอาทิตย์และแสง UV ปริมาณมาก
• ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ
อาการของโรค ได้แก่ ภาพมัว บิดเบี้ยว สีจางลง มีปัญหาในการอ่าน หรือจำหน้าคน เห็นจุดดำอยู่กลางภาพ
การรักษาโรค ไม่มีการรักษาที่หายขาด แต่การรักษาจะช่วยชะลอการเกิดโรคที่มากขึ้น ในระยะแรกอาจให้วิตามิน แต่การดำเนินโรคก็อาจเป็นมากขึ้นได้ โดยในระยะหลัง อาจร่วมกับการรักษาด้วยเลเซอร์ หรือฉีดยาเข้าในลูกตา
การป้องกัน
• ผู้สูงอายุควรตรวจตาเป็นประจำทุกปี และเมื่อมีการมองเห็นภาพที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวควรรีบมาพบจักษุแพทย์
• ผู้ป่วยที่เป็นโรคควรทดสอบการมองเห็นเป็นประจำด้วยแผ่น Amsler grid ทีละตา โดยให้ผู้ป่วยมองจุดดำตรงกลางภาพ ถ้าเห็นเส้นที่อยู่รอบๆ จุดนั้น เป็นคลื่น ไม่เป็นเส้นตรง แสดงว่าอาจมีภาวะโรคจุดรับภาพเสื่อม โดยผู้ป่วยอาจทดสอบด้วยตัวเอง โดยการมองสิ่งที่เป็นเส้นตรง เช่น กรอบประตู หน้าต่าง ซึ่งถ้าบิดเบี้ยว ก็ควรรีบมาพบแพทย์
• หยุดสูบบุหรี่
• สวมแว่นตากันแดด
• รักษาโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด
• กินผักผลไม้ อาหารครบ ๕ หมู่
• กินวิตามินเสริม เช่น วิตามินซี อี สังกะสี ลูทีน ซีแทนซีน (วิตามินเอในฟักทองและแครอต) ไม่ช่วยป้องกันในผู้ที่ยังไม่เป็นโรค แต่ช่วยชะลอโรคในผู้ที่เป็นโรคแล้ว
สอบถามปัญหาสุขภาพตากับราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ website : www.rcopt.org
http://www.doctor.or.th/article/detail/11468
No comments:
Post a Comment