นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทความทั่วไป

Monday, September 30, 2013

DIY S/PDIF Coaxial Bracket for PC

สมัยก่อนท่านที่เล่นระบบเสียงบนเครื่องคอมพิวเตอร์สนใจกันพวก DAC หรือ AVR ที่ไหนกัน แต่ก่อนมีซาวการ์ดแยกเพิ่มดีๆซักตัวนึงแล้ว แต่เดี๋ยวนี้อาจจะกลายเป็นว่ามันไม่พอไปแล้ว ต้องอาศัย DAC เพื่อมาใช้ฟังเพลงโดยเฉพาะ แต่ว่าพวก DAC หรือ AVR ส่วนมากต้องรับสัญญาณดิจิตอลมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเชื่อมต่อแบบ S/PDIF OPTICAL และ COAXIAL

แต่จะให้ไปซื้ออุปกรณ์ส่งสัญญาณให้ออกมาเป็นรูปแบบ S/PDIF COAXIAL เช่น Sound Card Hi-End หรีอ USB to SPDIF COAXIAL Converter เพื่อมาส่งสัญญาณเข้า DAC หรือ AVR ก็อาจจะเป็นการลงทุนที่แพงมากไปสำหรับผู้เริ่มต้นและต้องการความประหยัดงบประมาณในการเล่นระบบเสียงบนเครื่องคอมพิวเตอร์

แต่สุดท้ายก็มีพระเอกที่ทางผู้ผลิตได้ใส่มาให้นั้นก็คือการ์ดเสียงแบบออนบอร์ด โดยส่วนมากแล้วจะมีช่อง S/PDIF OPTICAL มาให้  แต่ว่าในความนิยมการเล่นสาย SPDIF COAXIAL จะได้รับความนิยมสูงกว่า ซึ่งจะมีแต่เพียงเมนบอร์ดแบบ Hi-End ที่จะใส่ SPDIF COAXIAL มาให้ด้วย แล้วถ้าอยากจะใช้สาย SPDIF COAXIAL บนเมนบอร์ดที่ไม่มีมาให้จะทำยังไง วันนี้ผมมีทางออกแบบง่ายๆ ที่สำคัญลงทุนไม่กี่บาท บางทีอาจไม่ต้องลงทุนด้วยเพราะว่าหาของที่เคยใช้ DIY เก่าๆที่ไม่ได้ใช้แล้วมาทำก็ได้



ตามมาตรฐานของ S/PDIF สำหรับผู้ใช้งานตามบ้านก็จะมีการเชื่อมต่อสองรูปแบบคือ Optical และ Coaxial


Back I/O Panel ของเมนบอร์ดรุ่นนึง ที่มีราคาขายอยู่เกือบหกพันบาท แต่ว่า S/PDIF Out มันยังมีแต่ Opticalเท่านั้น เมนบอร์ดราคาประหยัด ไม่ต้องมาคิด มันไม่มีมาด้วย  


นี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมความนิยมการเล่นสาย Coaxialนั้นได้รับความนิยมสูงมากกว่า เนื่องจากว่ามันมีลูกเล่นให้ใช้ได้เยอะ ไม่ว่าจะตะกั่ว ,หัว RAC และสายสัญญาณ 75 โอห์ม


อย่าคิดว่า S/DPIF สำหรับการ์ดเสียงแบบออนบอร์ดจะเพิ่งมามีไม่นานนี้ สมัยก่อนเมื่อเกือบสิบปีที่แล้วก็ยังมีเช่นกันครับ  ที่สำคัญที่ต่างประเทศมี Bracket อุปกรณ์เสริมขายด้วย  


Bracket S/PDIF สำหรับการ์ดเสียงออนบอร์ด ในต่างประเทศก็มีขายด้วย แต่ถ้ามานั่งคิดเรื่องราคารวมกับค่าส่งมาบ้านเรา บางทีรวมกันแล้วหงายหลังจนต้องไปคิดซื้อการ์ดเสียงแบบแยก เพื่อที่จะมาปล่อย S/PDIF ก็ยังคุ้มกว่าเลยครับ 


การ DIY S/PDIF Coaxial Bracket ก็ต้องอาศัยจากจุดต่อ S/PDIF Out บนเมนบอร์ด แต่ว่าไม่ใช่แต่การ์ดเสียงออนบอร์ดอย่างเดียวที่ทำได้ เพราะว่าการ์ดเสียงแยกที่ไม่มี S/PDIF Coaxial ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ซึ่งก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อการ์ดเสียงแบบ Hi-End เพื่อจะใช้ S/PDIF Coaxial ก็ได้ครับ จุดเชื่อมต่อ S/PDIF Out เมนบอร์ดแต่ละรุ่นก็จะจุดที่มีลักษณะแตกต่างกันไป ยังไงก็ต้องศึกษาคู่มือเมนบอร์ดรุ่นที่จะทำก่อน การ DIY S/PDIF Coaxial Bracket อาศัยขั้วสัญญาณ S/PDIF Out และ Ground (GND) เพียงเท่านั้น 


 เมนบอร์ดกิ๊กกาไบท์ รุ่นใหม่ๆจะเปลี่ยนไปใช้เป็นลักษณะ S/PDIF Out แบบสองขา ต่อได้แต่แบบ Coaxial เพราะว่าส่วนมากจะมี Optical มาให้อยู่แล้วครับ


                  ผมก็บอกไว้ตั้งแต่ตอนช่วงต้นบทความนี้แล้วว่า ในวันนี้จะเน้นกันที่ความประหยัดแล้วทำแบบง่ายๆ อุปกรณ์ที่ใช้ก็จะออกแนวตามมีตามเกิดไปบ้างซะเล็กน้อย เนื่องจากว่าผมไม่ได้ลงทุนอะไรเลย หาของเก่าๆในบ้านมาใช้เท่านั้นครับ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำDIY S/PDIF Coaxial Bracket
1.แท่น RCA แบบตัวเมีย จะเป็นตัวละไม่กี่สิบบาทจนถึงตัวละหลายร้อยบาทก็ได้ ตามงบประมาณ
2.สายที่แถมมากับ CD-Rom ,DVD-Rom ที่มักจะโยนทิ้งๆกันไป ที่เอาสายแบบนี้มาใช้ เพราะว่าโดยปกติแล้วสายนี้มันเป็นสายที่ใช้ในการส่งข้อมูล S/PDIF จากการฟัง CD-Audio มาสู่การ์ดเสียงอยู่แล้ว ที่สำคัญไม่ต้องมาเข้าหัวใหม่ด้วย มีแต่ตัดออกให้พอดี
3.แผ่นเหล็กที่ใช้ปิดรูหลังเคส 


                  ส่วนนี้จะเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ในการทำ DIY S/PDIF Coaxial Bracket ซึ่งก็เลือกใช้ตามความสะดวก แต่โดยหลักแล้วจะต้องมีหัวแร้งที่ใช้ในการเชื่อมและตะกั่วที่ใช้เชื่อม
1.หัวแร้งที่ใช้ในการเชื่อม ซึ่งไม่ต้องเอาแบบที่มีความร้อนสูงมาใช้มากก็ได้ เพราะว่าถ้าร้อนไปบัดกรียากอีก
2. ตะกั่วเชื่อม จะใช้เป็นตะกั่วถูกๆหรือจะใช้ตะกั่วเงิน 101% ก็ใช้ได้ตามความสามารถของหูและเงินงบประมาณ
3. USB 2.0/1.1 + IEEE 1394 Bracket เอาไว้ ถ้ากลัวเปลืองที่ ก็ทำ S/PDIF Coaxial + USB 2.0/1.1 Bracket ไปเลย
4. ตะข่ายหุ้มสายไฟ เผื่อว่าจะไว้ตบแต่งให้ดูสวยงาม
5. ท่อหด เผื่อว่าจะเก็บซ่อนรอยการเชื่อมที่ดูไม่สวยงามและใช้ร่วมกับตะข่ายหุ้มสายไฟ


นำแผ่นเหล็กที่ใช้ปิดรูหลังเคส มาเจาะให้รู้มีความพอดีกับแท่น RCA ที่จะนำมาใช้ทำ S/PDIF Coaxial Bracket พร้อมทั้งการลองยึด แท่น RCA กับแผ่นเหล็กปิดหลังเคสไว้ด้วยให้แน่นๆ


ถ้าต้อง S/PDIF Coaxial + USB 2.0/1.1 Bracketก็นำ USB 2.0/1.1 + IEEE 1394 Bracket มาถอด
IEEE ออกไป แล้วก็ทำการยึดแท่น RCA ให้เรียบร้อยจริงๆที่ผมแนะนำแบบนี้ด้วย เผื่อว่าท่านใดไม่มีเครื่องมือ+ฝีมือที่ใช้ในการเจาะแผ่นเหล็กที่ใช้ปิดรูหลังเคส


นำสาย CD-In ,CD-S/PDIF In ที่มันแถมมากับ CD-Rom หรือ DVD-Rom มาทำการตัดหัวออกข้างนึง แล้วพร้อมทั้งการปลอกสายไฟให้พร้อมกับการเชื่อม ถ้าไม่ต้องการสายที่ยาวมาเกินไป ก็สามารถตัดให้มีความยาวพอดีตามความต้องการก็ได้ครับแต่ว่ายาวเผื่อไว้หน่อยก็ยังดี เพราะว่าเหลือดีกว่าขาดครับ


ใช้ไขควงปากแบนอันเล็กๆหรือว่าเข็มเป็นตัวช่วยในการย้ายตำแหน่งของขาก็ได้ ซึ่งก่อนที่จะย้ายนั้นควรศึกษาคู่มือก่อนว่าที่ตัวหัวเสียบกับ S/PDIF Out บนเมนบอร์ดตำแน่งสัญญาณ S/PDIF Out อยู่ตรงไหนและกราว์อยู่ตรงไหน สายสีดำเส้นใหญ่ๆนั้นจะใช้เป็นส่วนของกราว์และสายสีแดงกับขาวเป็นสาสัญญาณ S/PDIF ครับ (รูปไม่ชัดอย่าโกรธกันนะ เพราะว่าทำทั้งทำถ่ายรูป)
รูปแบบบางส่วนของ S/DPIF Connector Header
หลังจากที่จัดตำแหน่งสายไฟของหัวเสียบ S/PDIF Out ได้เรียบร้อยแล้ว สายอะไรที่ไม่ได้ใช้ก็ตัดทิ้งไปดีกว่า อยู่ไปก็รก
มาถึงการเตรียมตัวกันบ้างซักเล็กน้อย สำหรับแท่น RCA ที่ท่านเตียมไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ตอนต้น ก็ถ้ายังไม่มีความชำนาญทางด้านการเชื่อม ครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ตอน ป.4 ที่ผมไปปรึกษาเรื่องการซ่อมรถบังคับวิทยุที่ผมรื้อจนเน่า ได้บอกไว้ว่า "ป้ายตะกั่วให้หนาๆที่จุดที่ต้องการจะเชื่อมสายไฟไว้มากหน่อย เวลาเชื่อมสายไฟจะได้เชื่อมติดง่าย" ซึ่งผมก็จำมาใช้ถึงทุกวันนี้แม้จะจบ ป.โท แล้วก็ตาม ที่แท่น RCA จุดเชื่อมด้านข้างที่ยื่นออกมาไว้เชื่อมสาย Ground และ ตรงกลางใช้เชื่อมกับสายสัญญาณ S/PDIF 


ทำการเชื่อมสายกราว์ให้เรียบร้อย จิ้มปุ๊บติดแล้วไม่ต้องแช่นานครับ
ทำการเชื่อมสายสัญญาณ S/PDIF ให้เรียบร้อย จิ้มปุ๊บติดแล้วปล่อย
แค่นี้ก็เรียบร้อยพร้อมที่จะนำไปใช้งาน
จะนำท่อหดมาหุ้มรอยเชื่อมที่ไม่ค่อยสวยงามหรือเพื่อความคงทนที่มากขึ้นก็แล้วแต่ รวมไปถึงการนำตะข่ายหุ้มสายไฟมาหุ้มสายเพื่อความสวยงามก็ได้ครับ แต่จากในภาพผมไม่ได้ใช้ตะข่ายหุ้มสายไฟแบบที่ใชในคอมนะ ผมเอาท่อหุ้มสายไฟแบบที่ทนความร้อนสูงที่ไว้ใช้หุ้มสายไฟที่เดินในห้องเครื่องของรถยนต์มาใช้ (พอดีมันมีเหลือที่บ้านนิดหน่อย)


การปรับแต่งโปรแกรมของการ์ดเสียง เพื่อให้ออกทาง S/PDIF Coaxial ก็มีความแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อยครับ ก็ขึ้นอยู่กับ Driver ที่ลงเอาไว้ รวมไปถึงการตั้งค่า Volume Mixer ของระบบปฏิบัติการให้เสียงออกมาทาง S/PDIF Coaxial ด้วยส่วนการปรับแต่งอื่นๆให้เหมาะสมกับการฟังเพลงหรือดูหนังลองศึกษาเพิ่มเติม กันตามสบาย 
หลังจากที่ได้ทำ DIY S/PDIF Coaxial Bracket เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ขอนั่งฟังเพลงผ่านทาง DAC Dual PCM1794 ให้หายมึนตะกั่ว ก็พบว่าเพียงแค่ใช้สาย Coaxial DIY เส้นไม่กี่ร้อย (ค่าหัว RCA หัวละเกือบร้อย + สายเมตรละร้อยกว่าบาท)เสียงที่ออกมาแค่นี้มันก็ดีกว่าการต่อผ่านทาง สาย USB ที่มีราคาเกือบพันแล้วครับ แค่นี้ก็ทำให้หายเหนื่อยและหายมึนตะกั่วไปได้มาก


Conclusion !
                  อ่านแล้วอ่าเพิ่งมึนกันนะครับ เพราะว่าตอนนี้ที่นั่งเขียนอยู่เนี่ยผมก็ยังไม่หายมึนตะกั่วดีเท่าไรครับ หลายๆท่านอ่านบทความในวันนี้แล้วก็อาจจะงงๆ ว่า S/PDIF Coaxial มันคืออะไร ถ้าเกิดวันหน้ามีโอกาสเล่น DAC หรือ AVR ที่มีการเชื่อมต่อแบบที่ต้องใช้ S/PDIF ค่อยมาย้อนกลับมาดูก็ได้ครับ เพราะว่าเรื่อง DIY S/PDIF Coaxial Bracket มันมีมานานแล้ว แต่ว่าก็ยังมีคนไม่รู้กันอีกมาก 
การ DIY S/PDIF Coaxial Bracket ในวันนี้กฌจะเป็นลักษณะแบบเบื้องต้น ที่ทำกันได้แบบง่ายๆ ไม่ต้องมีความรู้ทางด้านไฟฟ้าก็สามารถทำได้ แต่ว่าถ้าต้องการทำ DIY S/PDIF Coaxial Bracket ให้ดีกว่านี้ก็เปลี่ยนเกรดอุปกรณ์ที่ดีขึ้น เช่นแท่น RCA, สายสัญญาณและตะกั่วเงินแท้ๆ ก็เรียกว่ายกระดับ DIY S/PDIF Coaxial Bracket ให้ดีขึ้นกว่าได้อีก รวมไปถึงการประยุกต์รูปแบบอื่นๆตามความต้องการเช่นต่อจากบนเมนบอร์ดแล้วทำสายต่อกับ DAC หรือ AVR โดยตรงก็สามารถทำได้เช่นกัน วันนี้ก็คงจะได้
อะไรไปบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

แหล่งที่มา

............................................................................................................................................................

ที่คอม (Sound card) ก็เป็นฝ่ายเข้ารหัส หรือส่งผ่านสัญญาณที่เข้ารหัสแล้วเช่นจาก DVD แล้วส่งออกไปยัง SPDIF จะผ่าน Optical หรือ Coax ก็แล้วแต่ที่เลือกใช้ต่อไปยัง AVR ให้ AVR ถอดรหัสออกเป็นหลายๆ channel เพื่อขยายออกสู่ลำโพง

นั่นคือ ที่คอมหรือเครื่องเล่น DVD หรือ Xbox มี Optical/Coax output เพื่อส่งสัญญาณแบบดิจิตอล

ส่วนที่ AVR ก็มี Optical/Coax input เพื่อถอดรหัส

อย่าง DVD player บางรุ่นก็มีภาคถอดรหัสเป็นสัญญาญอนาลอกแบบ Multi-channel ให้เลย เอาไปต่อพวกลำโพง 5.1 ที่ใช้กับคอมได้เลย ก็ใช้สายสัญญาณเยอะหน่อย

ให้ สะดวกหน่อยก็ส่งผ่าน Optical/Coax เพียงเส้นเดียว ไปให้ AVR ทำการถอดรหัสแล้วขยายออกลำโพง และไม่เสี่ยงกับการเกิดข้อผิดเพี้ยนของสัญญาญมากนักด้วย
..........................................................................................................................................................

ต่อเล่นหนังจากคอม และ ฟังเพลง จากคอมเช่นกันครับ แต่ผมเลือกต่อผ่าน HDMI ครับ เส้นเดียวมาทั้งภาพและเสียง
เลือกสายที่ราคาพอประมาณให้เหมาะกับชุดที่ใช้ก็พอครับ เส้นเดียวเท่านั้นเริ่มต้นที่พันแก่ๆ ประหนัดกว่ามาก

ข้อดีข้อเสียคือ 

การต่อ อานาล๊อก 7.1 จากคอม ผมอยากบอกว่า ถ้าการ์ดซาวน์ ไม่ดีจริง การต่ออานาล๊อกจากคอม มีเสียงรบกวนมาก ที่มาจากคลื่นรบกวนในตัวคอมเองครับ การต่อเป็นดิจิตอล จะทางโคแอค หรือ ออพติก หรือ HDMI ช่วยแก้จุดนี้ได้

ถ้าการ์ดซาวคุณดีจริงๆ สายอานาล๊อกคุณก็ต้องดีตาม ทีนี้ราคาสาย 8 เส้นมันกี่ตังล่ะครับ และสายภาพอีก แพงกว่า AVR ที่คุณเลือกเห็นๆ

แต่ ถ้าการ์จอคอม ไม่มี HDMI อาอารนี้ก็ต้องใช้ ออพติกล่ะครับ ราคาก็ไม่แพงหรอก เริ่มที่พันแก่ๆเช่นกัน ก็ยังประหยัดกว่าสาย อานาล๊อก 8 เส้น

ตัวผมต่อคอม ส่งภาพ+เสียง ผ่าน HDMI เข้า AVR และ AVR ส่งภาพผ่าน HDMI เข้า TV อีกที
ใช้การ์ดซาวน์ ASUS Xoner สามารถเล่นหนังBD เป็นเสียงแบบ DTS HD / DD TrueHD ได้ด้วย
และภาพจากคอม ก็ยังใช้AVR ปรับแต่งได้ด้วย มันช่วยให้ดำขึ้น คมขึ้น ได้
.........................................................................................................................................

ถ้าคอมพ์คุณมีการ์ดที่สามารถต่อ HDMI ได้ เสียงก็ไม่ต้องต่อ spdif แล้วล่ะครับ เพราะมันก็ออกที่ช่อง HDMI ครับ แต่ต้องไปตั้งในตัว codec โปรแกรม ในส่วนของ option ของโปรแกรมที่คุณใช้ ให้มันส่งเสียงมาทาง HDMI ครับ 





No comments:

Post a Comment