HDMI มาตรฐานสำคัญที่ต้องรู้
โลกของเทคโนโลยีนับวันก็จะยิ่งพัฒนาไปไกลมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องของประสิทธิภาพ ขนาด รวมถึงความสะดวกสบายในการใช้งานที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
ในเรื่องของการเชื่อมต่อจำพวกพอร์ต คอนเน็กเตอร์หรือสายเคเบิลต่างๆ ก็ได้มีการพัฒนาไปด้วยเช่นเดียวกันเพื่อให้รองรับการส่งข้อมูลที่มีประมาณ มากขึ้นได้อย่างเต็มที่ อย่างในสมัยก่อนที่เราอาจจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านทางพอร์ต D-Sub หรือที่เรียกกันว่า VGA จากนั้นก็มาเป็น DVI ซึ่งส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ให้คุณภาพที่สูงมากขึ้นไปอีกขั้น
มาถึงยุคนี้คงจะหนีไม่พ้นมาตรฐานใหม่ที่เรียกกันว่า HDMI ซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากอุปกรณ์ต่างๆ ในท้องตลอดไม่ว่าจะเป็นกราฟิกการ์ดที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ หรือจะเป็นเครื่องมีเดียเพลเยอร์รุ่นทอปๆ รวมถึงจอแบบ LCD TV ทั้งหลายก็เริ่มมีการติดตั้งอินเทอร์เฟซแบบ HDMI นี้ลงไปแล้วเช่นกัน
HDMI คืออะไร มาตรฐาน HDMI เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลที่ทาง Sony, Hitachi, Thomson (RCA), Philips, Matsu***a (Panasonic), Toshiba และ Silicon Image ได้พัฒนาขึ้น โดยชื่อ HDMI นี้เป็นตัวย่อที่ย่อมาจาก High-Definition Multimedia Interface ซึ่ง ความหมายของมันก็ตรงประเด็นครับ คือเป็นการเชื่อมต่อสำหรับมัลติมีเดียความละเอียดสูงนั่นเอง และด้วยความที่มันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับมัลติมีเดียนั่นเอง
จึงทำให้มันมีจุดเด่นตรงที่มันรองรับการส่งทั้งสัญญาณภาพและเสียงไปพร้อมๆ กันบนสายเคเบิลเส้นเดียวกัน ผ่านพอร์ตๆ เดียวกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายและลดความสับสนในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ลงได้ อย่างมากทีเดียว
ด้วยจุด ประสงค์หลักของ HDMI ที่ถูกพัฒนาขึ้นก็เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับความบันเทิงเต็ม รูปแบบกับระบบภาพและเสียงแบบ High-Definition และระบบเสียงรอบทิศทาง ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนที่ยังไม่มีการเชื่อมต่อแบบ HDMI นั้น คุณอาจจะต้องเชื่อมต่อสัญญาณวิดีโอและสัญญาณเสียง อย่างน้อยก็ 2 ช่องทางแล้ว ยิ่งถ้าคุณต่อสัญญาณวิดีโอแบบ Component และใช้ระบบเสียงแบบ 5.1 หรือ 7.1-Channel ด้วยแล้ว จะต้องเชื่อมต่อสายเป็นสิบเส้นให้วุ่นวายไปหมด HDMI จึงช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อทุกอย่างได้ภายในสายเส้นเดียว เหมาะสำหรับพวกมีเดียเพลเยอร์ เครื่องเล่นเกมคอนโซล หรืออุปกรณ์ Set top box ต่างๆ ที่ต้องต่อเข้ากับทีวีอย่างยิ่ง
คุณสมบัติของ HDMI แน่นอน ว่าการเชื่อมต่อแต่ละชนิดย่อมต้องมีขีดจำกัดที่ถูกกำหนดมาไว้ด้วยกัน ทั้งสิ้น ซึ่งนั้นก็คือคุณสมบัติของการเชื่อมต่อนั้นเอง HDMI นี้ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับอินเทอร์เฟซอื่นๆ แต่ด้วยความที่มันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับ กับมัลติมีเดียระดับ High-Definition อยู่แล้ว มันจึงมีความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพวิดีโอและเสียงที่คุณภาพระดับ High-Definition ได้อย่างสบาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการบีบอัดข้อมูลเลยการส่งสัญญาณภาพ สำหรับการส่งภาพวิดีโอนั้นเนื่องจากแหล่งที่มาของข้อมูลภาพนั้นมีอยู่ ด้วยกันหลายแบบ ดังนั้นมันจึงจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบของ MPEG เสียก่อน เพื่อใช้สำหรับส่งข้อมูลไปตามสาย ซึ่งการส่งข้อมูลภาพวิดีโอแบบ MPEG ผ่าน HDMI นี้จะไม่มีการบีบอัดข้อมูลเลย ทำให้การสูญเสียคุณภาพนั้นไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของ HDMI นั่นเอง รูปแบบการส่งข้อมูลนั้นจะเป็นแบบ TMDS ซึ่งเป็นรูปแบบการส่งข้อมูลแบบอนุกรมแบบเดียวกับที่ใช้บนการเชื่อมต่อแบบ DVI นั่นแหละครับ
HDMI ก็จะมีการส่งสัญญาณวิดีโอที่คล้ายกับการเชื่อมต่อแบบ DVI ที่เราใช้งานกันอยู่นี่แหละครับ
ขีดความสามารถในการส่งผ่านภาพวิดีโอของ HDMI นั้นจะขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของมาตรฐานด้วยเช่นกัน เนื่องจาก HDMI เป็นมาตรฐานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีเวอร์ชันที่ต่างกันอยู่พอสมควร แต่ทั้งนี้ทุกๆ เวอร์ชันก็ยังคงใช้งานสายเคเบิล แบบเดียวกันอยู่ เพียงแต่จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้แตกต่างกันไป ตามเวอร์ชัน อย่างเช่นในเวอร์ชัน 1.0 ซึ่งเป็น เวอร์ชันแรก จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลภาพอยู่ที่ 165 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะสามารถรองรับสัญญาณภาพแบบ High-Definition ที่ความละเอียดสูงถึง 1080p ที่ 60 เฮิรตซ์ ได้ หรือระดับ WUXGA (1920x1080) ซึ่งนั่นคือระดับความละเอียดสูงสุด แต่ถ้าต้องการความละเอียดที่สูงมากกว่านี้ก็จะต้องใช้อุปกรณ์ที่รองรับ มาตรฐาน HDMI ที่มีเวอร์ชันสูงขึ้นอย่างเช่น 1.3 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 340 เมกะเฮิรตซ์ และมีสามารถส่ง สัญญาณภาพที่ความละเอียดระดับ WQXGA (2560x1600) ได้ การส่งสัญญาณเสียง
สำหรับ การส่งสัญญาญเสียงนั้น HDMI ก็จะมีการส่งข้อมูลไปแบบไม่มีการบีบอัดเช่นเดียวกัน โดยจะเป็นข้อมูลเสียง ระดับ 192 กิโลเฮิรตซ์ และมีการ Sample แบบ 24 บิต ซึ่งเป็นระดับเสียงเดียวกับที่ใช้ในระบบเดียว Dolby Digital หรือ DTS นั่นเอง นอกจากนี้ HDMI ยังรองรับระบบเสียงแบบ 8 Channel และรองรับ One Bit Audio ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้ใน Super Audio CD ด้วย แต่จะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นและมากกว่า Super Audio CD ถึง 4 เท่าด้วยกัน และยิ่งในเวอร์ชัน 1.3 ยิ่งมีการพัฒนาให้รองรับระบบเสียงที่มีคุณภาพเทียบเท่าDolby TrueHD และ DTS-HD Master Audio ด้วย
แหล่งที่มา
http://www.ban4tit.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=19&Category=ban4titcom&thispage=1&No=1254595
.................................................................................................................................................
มารู้จักประเภทของสาย HDMI
เดี๋ยว นี้ HDMI ซึ่งเป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลภาพและเสียงหลายช่องแบบดิจิตอล นั้นตอนนี้เป็นที่นิยมมากจนเห็นกันเป็นของธรรมดา ๆ ไปแล้ว แต่เท่าที่สังเกตดู พบว่าหลาย ๆ คนยังสับสนเกี่ยวกับเรื่องประเภทของสาย HDMI วันนี้ RE.V-> ก็จะเอาเรื่องนี้มานำเสนอให้ได้อ่านกันครับ
เลขเวอร์ชั่นนั้นสำคัญไฉน
มาตรฐาน HDMI นั้นเป็นมาตรฐานที่ไม่อยู่นิ่งเหมือนมาตรฐานตัวอื่น ๆ เพราะว่าทางผู้พัฒนามีการเพิ่มเติมความสามารถต่าง ๆ ลงไปในมาตรฐานอยู่ตลอดเวลา ทำให้เจ้า HDMI นี้เก่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบัน เวอร์ชั่นล่าสุดของ HDMI อยู่ที่ 1.4 ซึ่งมีความสามารถหลัก ๆ ที่เพิ่มเติมจากเวอร์ชั่น 1.3 อยู่ดังนี้ครับ
• HDMI Ethernet Channel (HEC) เพิ่มช่องสัญญาณเครือข่ายความเร็วสูงสุด 100 Mbps หรือให้พูดง่าย ๆ ก็คือเพิ่มสาย LAN เข้ามาใน HDMI น่ะแหละ
• Audio Return Channel (ARC) ทำให้โทรทัศน์สามารถส่งสัญญาณเสียงกลับไปที่ A/V Reciever ได้ เพื่อให้เสียงจากโทรทัศน์ไปออกที่ชุดลำโพงได้ (ปกติโทรทัศน์จะทำได้แค่รับสัญญาณภาพที่ต่อออกมาจาก AVR เท่านั้น)
• รองรับระบบภาพแบบ 3D
• รองรับวิดีโอที่มีความละเอียดระดับ 4K (4096 x 2160 พิกเซล)
• Content Type รองรับการส่งสัญญาณประเภทของเนื้อหาจากเครื่องเล่นไปโทรทัศน์ ทำให้โทรทัศน์สามารถปรับเปลี่ยนการแสดงผลให้เจ้ากับเนื้อหาได้
• รองรับ Color Space เพิ่มเติม ซึ่งส่วนมากจะเป็น Color Space ที่ใช้ในไฟล์รูปถ่ายต่าง ๆ เช่น Adobe RGB
นอก จากความสามารถที่เพิ่มมา ก็ยังมีการกำหนดเรื่องของหัวปลั๊กแบบใหม่ ๆ และประเภทของสายที่เพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งเราจะพูดถึงในหัวข้อถัดไป
ประเภทของสาย HDMI
ทาง HDMI นั้นได้เริ่มแบ่งประเภทของสายตั้งแต่ช่วงประมาณเวอร์ชั่น 1.3 ซึ่งก็คือแบบ Standard และ High Speed และในเวอร์ชั่น 1.4 เองนั้นก็ได้มีการเพิ่มชนิดของสายเข้ามาอีก ทำให้ปัจจุบันสาย HDMI มีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
• Standard HDMI Cable รองรับปริมาณข้อมูลในการส่งสัญญาณภาพที่ 1080i และ 720p ได้อย่างราบลื่น เหมาะกับการใช้งานกับพวกกล่องเคเบิ้ลทีวี กล่องดาวเทียม หรือเครื่องเล่นดีวีดีแบบ up-scale
• Standard HDMI Cable with Ethernet ความสามารถเหมือนสาย Standard แต่เพิ่ม Ethernet Channel สำหรับอุปกรณ์ที่รองรับ HDMI-HEC
• Standard Automotive HDMI Cable ความสามารถเหมือนสาย Standard แต่เพิ่มเติมการทดสอบให้มากกว่า เพราะสายต้องนำไปใช้ในรถยนต์ซึ่งมีการกวนกันของสัญญาณสูงกว่าการใช้งานตาม บ้าน
• High Speed HDMI Cable รองรับปริมาณข้อมูลในการส่งสัญญาณภาพได้มากกว่าที่ 1080p ขึ้นไป และรองรับการส่งสัญญาณภาพแบบ 3D 4K และ Deep Color เหมาะกับการใช้งานกับเครื่องเล่นบลูเรย์ เครื่องเล่นเกมแบบ HD เช่น PlayStation 3
• High Speed HDMI Cable with Ethernet ความสามารถเหมือนสาย High Speed แต่เพิ่ม Ethernet Channel เข้ามา
ซึ่ง สายแต่ละประเภทนั้นจะถูกทาง HDMI ทดสอบประสิทธิภาพตามเกณฑ์ข้างบน ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้โลโก้บนตัวสินค้าได้ อย่างไรก็ตามตัวสายนั้นอาจจะมีประสิทธิภาพที่มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดที่สาย เส้นนั้นทดสอบผ่านได้ เช่น สายแบบ Standard บางเจ้าอาจจะสามารถส่งสัญญาณภาพได้ถึง 1080p ซึ่งมากกว่ามาตรฐาน แต่อาจจะไม่สามารถใช้งานกับสัญญาณภาพแบบ 3D ได้ หรือสาย HDMI บางรุ่นของบริษัท Monster ซึ่งทำสายมาให้รองรับปริมาณข้อมูลเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ จนกล้ารับประกัน ว่า ไม่ว่าอุปกรณ์จะมีการเปลี่ยนแปลงหรืออัพเกรดไปอย่างไร สายของ Monster จะยังใช้งานได้อยู่
แล้ว เลขเวอร์ชั่นล่ะ ไม่ใช้แล้วเหรอ คำตอบมันก็ไม่ได้ใช้กันแต่แรกแล้วครับ แต่ผู้ผลิตเป็นคนเอาเลขเวอร์ชั่นไปใส่กันเอง จนทำให้คนซื้อเมื่อก่อนลืมไปเลยว่าสาย HDMI มันมีแค่ Standard กับ High Speed เท่านั้น ไม่ใช่ 1.2 1.3 หรือ 1.4 และนี้อาจจะเป็นสาเหตุให้ทาง HDMI ได้บังคับให้เหล่าผู้ผลิตสายห้ามใส่เลขเวอร์ชั่นลงในตัวสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการโฆษณา ซึ่งผมคิดว่าเพื่อลดความสับสนในการเลือกซื้อสายให้ถูกต้องตามการใช้งาน
สรุปก็คือสาย HDMI มี 5 ประเภท และเลขเวอร์ชั่นก็ไม่ได้บอกถึงประเภทของสายครับ
รวมปัญหาที่หลาย ๆ คนมักจะถามประจำ
ผมมีเครื่อง XXX อยู่ อยากจะต่อดู 3D มีสาย HDMI รุ่นเก่าอยู่ ต้องเปลี่ยนสาย HDMI ใหม่หรือไม่
ถ้า หากสายที่ใช้เดิมนั้นเป็นสายแบบ High Speed ส่วนมากจะสามารถใช้ดู 3D ได้เลยโดยไม่ต้องเปลี่ยนสาย และทุกฟีเจอร์ใน HDMI 1.4 นั้นหากมีสาย High Speed เดิมอยู่แล้ว แทบไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสายใหม่เลย ยกเว้นฟีเจอร์ Ethernet Channel เท่านั้นที่ต้องใช้สายเส้นใหม่ เพราะมีการปรับปรุงตัวสายเพิ่มเติม
สาย HDMI สามารถยาวได้ที่สุดเท่าไร
ทาง HDMI ไม่ได้กำหนดความยาวมากสุดของสายเอาไว้ เพียงแต่ถ้ามีคนทำสายความยาวมาก ๆ มาแล้วผ่านการทดสอบประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะการรับรองไป จาก FAQ ของทาง HDMI นั้นได้เคยรับรองสายความยาวมากถึง 10 เมตรมาแล้ว
ใช้อุปกรณ์ที่เป็น HDMI 1.4 ต้องใช้สายที่เป็น HDMI 1.4 หรือไม่
จากข้างต้นที่ว่าตัวสายไม่มีเวอร์ชั่น จะใช้สายอะไรก็ได้ แต่เลือกประเภทของสายให้ถูกกับการใช้งานล่ะกัน
จะรู้ได้อย่างไรว่าสายที่ซื้อมานั้นได้รับการรับรองจากทาง HDMI จริง ๆ ไม่ใช่เอาโลโก้มาติดบนกล่องเท่ ๆ
แนะนำให้ซื้อสายจากบริษัทหรือผู้ผลิตที่เป็นสมาชิกกับทาง HDMI สามารถดูรายชื่อได้จาก ที่นี้
สาย HDMI ราคาถูกกับราคาแพงต่างกันที่ไหน
สาย ราคาถูกกับราคาแพงนั้นมักต่างกันที่การออกแบบหัวปลั๊ก คุณภาพของตัววัสดุที่ใช้ทำสาย และขั้นตอนการทดสอบคุณภาพต่าง ๆ สายที่แพงกว่านั้นมักจะออกแบบมาให้ตัวสายทนต่อการดึงหัวปลั๊กเข้า – ออก การขดงอของสาย การหักสายที่ตัวปลั๊กได้ดีกว่าสายราคาถูก โดยเฉพาะสายราคาถูกโนเนมที่หน้าตาอาจจะดูคล้าย ๆ สายมียี่ห้อ แต่พอใช้งานไปสักระยะก็พังคามือซะแล้ว และส่งสัญญาณได้ตามที่ระบุเอาไว้ นอกจากนี้บางบริษัทยังมีการรับประกันสินค้าให้ด้วย
More info
ใครสนใจอยากอ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม สามารถตามไปอ่านได้ที่เว็บของทาง HDMI ได้เลยครับ
HDMI.org
แหล่งที่มา
http://www.pome-sat.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539498107&Ntype=1
............................................................................
ความแตกต่างระหว่างสาย HDMI ราคาถูกกับราคาแพง
“คำถาม: สาย HDMI แบบเส้นละ 300 บาท กับเส้นละ 4,000 บาทต่างกันตรงไหน ผมควรจะซื้อแบบไหนดีครับ?”ผม (ผู้เขียน) เป็นวิศวกรด้านกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ ผมทำงานคลุกคลีอยู่กับสัญญาณอนาล็อก และดิจิตอลอยู่ทุกๆ วัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ผมคิดว่าผมมีคุณวุฒิและคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะตอบคำถาม นี้
และคำตอบสำหรับคำถามนี้ก็คือ “ไม่ครับ – สาย HDMI ราคาแพงไม่ช่วยทำให้คุณภาพของภาพและเสียงดีขึ้นแต่อย่างใด”
ผมขออธิบายเหตุผลทางด้านเทคนิคที่ค่อนข้างซับซ้อนก่อน และหลังจากนั้นจะอธิบายในเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งผมหวังว่ามันจะฟังดูสมเหตุสมผลสำหรับคุณ ถ้าคุณไม่อยากอ่านข้อมูลเชิงเทคนิคล่ะก็ ขอแนะนำให้ข้ามไปอ่านใน Section B ครับ
Section A:
ด้วยหลักการง่ายๆ ที่ว่า สายไฟถูกออกแบบมาให้ส่งสัญญาณไฟฟ้า อะไรก็ตามที่ถูกส่งผ่านสายไฟสุดท้ายแล้วเป็นเพียง กระแส/ความต่างศักย์ ที่เราป้อนเข้าไปให้มัน
ก่อนเข้าสู่เรื่องสาย HDMI ขอพูดกันด้วยเรื่องสายอนาล็อกก่อน สัญญาณวีดีโอแบบอนาล็อกที่ส่งผ่านสายนั้นจะเป็นกระแสไฟที่เป็นแบบ 1 volt peak to peak หรืออธิบายง่ายๆ ว่า ถ้าเราวัดความต่างศักย์ของกระแสในสายเส้นนี้ที่ voltage ต่ำสุดกับที่ voltage สูงสุด เราจะวัดได้ 1 volt พอดี สัญญาณอนาล็อกจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามช่วงเวลา (slices of time) ซึ่งจะตรงกับจำนวน “เส้น (lines)” ของสัญญาณที่ส่งไปยังทีวี ผมจะขอไม่ลงในรายละเอียดตรงส่วนนี้ เพราะค่อนข้างเป็นรายละเอียดทางเทคนิคที่ซับซ้อน
พูดง่ายๆ ก็คือ สัญญาณอนาล็อก จะประกอบไปด้วย “front porch” หรือสัญญาณส่วนหน้า ซึ่งสัญญาณส่วนนี้จะเป็นสัญญาณที่บอกคุณลักษณะของสัญญาณวีดีโอที่ปล่อยมาจาก แหล่งปล่
อยสัญญาณ ซึ่งสัญญาณในส่วนนี้จะช่วยทีวีของคุณในการกำหนดระดับสีดำ (black level) ของวีดีโอที่จะแสดงบนทีวี และต่อจาก front porch ก็จะเป็นในส่วนของสัญญาณภาพ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นเส้นๆ (lines) โดยจะแบ่งเป็น 455 half cycles ต่อเส้นสัญญาณ 1 เส้นที่แสดงบนทีวี
ขอผมเน้นย้ำอีกครั้ง ว่าผมจะไม่ลงรายละเอียดในเรื่องของการผสมข้อมูลต่างๆ เช่น chrominance (ข้อมูลเกี่ยวกับสี) และ luminance (ข้อมูลเกี่ยวความสว่าง) ลงไปในสัญญาณอนาล็อก เนื่องจากผมเกรงว่ามันจะทำให้บทความนี้ดูซับซ้อนเกินไป ผมขอพูดสรุปตรงนี้ว่าสัญญาณอนาล็อกที่ถูกส่งไปยังทีวีนั้น จะประกอบด้วยข้อมูลของเส้นสัญญาณภาพที่ทีวีจะนำไปแสดงให้คุณเห็น และยังประกอบด้วยสัญญาณข้อมูลอื่นๆ ที่ทีวีไม่แสดงให้คุณเห็น เช่น close captioning และ test signal เป็นต้น
เมื่อคุณใช้เครื่องมือ (scope) ในการดูสัญญาณอนาล็อกที่ส่งไปยังทีวี คุณจะเห็น waveform ที่มีลักษณะคล้ายๆ ภาพดังต่อไปนี้
Waveform หรือ “คลื่น” ที่เห็นในภาพ เป็น waveform ของสัญญาณอนาล็อก ถ้าเราจ้องไปที่ timeslice (ช่วงใดช่วงหนึ่งของคลื่น) เราจะเห็นว่าในช่วงนั้นสัญญาณมันมีความต่างศักย์เท่าใด
ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นการง่ายมาก ที่สัญญาณอนาล็อกจะถูกรบกวน และผสมปนเปไปกับสัญญาณที่เข้ามารบกวนนั้น ซึ่งเมื่อการรบกวนเกิดขึ้น ก็จะทำให้มี noise เพิ่มเข้าไปในสัญญาณ และยิ่งมี noise ในสัญญาณมากขึ้นเท่าไหร่ ภาพที่แสดงบนโทรทัศน์ก็จะด้อยคุณภาพลงเท่านั้น คุณจะเริ่มเห็นเอฟเฟคท์แปลกๆ บนภาพ เช่น จุดลายๆ (snow), เส้นต่างๆ และสีที่ผิดเพี้ยน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะว่า waveform ที่ส่งผ่านสายถูกรบกวนจนมีผลให้สัญญาณที่ส่งมาจากแหล่งกำเนิดผิดเพี้ยนไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเข้าสู่ยุคดิจิตอล (ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงสัญญาณดิจิตอลที่ส่งผ่านสาย HDMI) ข้อมูลที่ส่งผ่านสายสัญญาณจะถูกเข้ารหัส (encoded) ด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกับแบบอนาล็อก โดยข้อมูลที่ส่งผ่านสายจะเป็นชุดของบิท (bits) หรือพูดง่ายๆ คือ สัญญาณที่ส่งจะเป็นรหัสที่แสดงว่าข้อมูลเป็น ON หรือ OFF เท่านั้น โดยมันไม่สนใจว่าที่ timeslice นั้นๆ จะมีความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็น 4.323 โวลต์ หรือ 4.927 โวลต์ สิ่งที่มันสนใจอย่างเดียวคือว่าสัญญาณตรงนั้นเป็น on หรือ off เท่านั้น เมื่อเราเอาสัญญาณดิจิตอลมาพล็อตเป็นกราฟ จะได้ภาพดังนี้
นี่ล่ะครับสัญญาณดิจิตอล ในแต่ละ slice ของสัญญาณ บิทไหนที่ขึ้นสูง (high) สัญญาณจะเป็น on และบิทไหนที่ลงต่ำ (low) สัญญาณก็จะเป็น off
ด้วยเหตุนี้ ถึงคุณจะผสม noise จำนวนเล็กน้อย หรือจำนวนมหาศาลเข้าไปในสัญญาณดิจิตอลก็ตาม มันก็จะไม่ส่งผลอะไรเลย เพราะยังไงสัญญาณก็ยังเป็น ON หรือ OFF อยู่วันยังค่ำ
ทีนี้เรามาดูการเปรียบเทียบในแบบที่เข้าใจง่ายกันเถอะ
Section B:
อนาล็อก: ลองนึกถึงขั้นบันไดสัก 200 ขั้นไว้ในใจนะครับ และให้มีนาย A กำลังไต่บันไดอยู่ สัญญาณอนาล็อก จะเป็นตัวบอกว่านาย A อยู่ที่บันไดขั้นไหน ณ ขณะเวลาหนึ่งๆ และสมมติว่านาย A กำลังเดินขึ้นบันไดไปเรื่อยๆ (เปรียบเสมือนสัญญาณที่ถูกรบกวน และเพี้ยนจากต้นฉบับไปเรื่อยๆ) ตรงนี้ล่ะที่ความผิดพลาดจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ตัวอย่างเช่น สมมติว่า ณ ขณะนั้นนาย A อยู่บนบันไดขั้นที่ 101 แต่ด้วยสัญญาณที่รบกวน คุณอาจจะเข้าใจผิดว่าเขากำลังอยู่ขั้นที่ 102 และยิ่งนาย A เดินขึ้นบันไดสูงขึ้นไปเรื่อยๆ คุณก็จะเริ่มสับสนขึ้นเรื่อยๆ จนไปถึงจุดจุดหนึ่ง คุณจะไม่สามารถบอกได้เลยว่า ณ ขณะนี้นาย A อยู่ที่บันไดขั้นไหนกันแน่
เพิ่มเติมจากผู้แปล: เนื่องจากสัญญาณอนาล็อก เป็นการวัดความต่างศักย์ของกระแส ณ เวลา (timeslice) ขณะใดขณะหนึ่ง สมมติว่า สัญญาณที่มันควรจะเป็น ณ ขณะนั้นคือ 0.75 โวลต์ แต่เนื่องจากมีการรบกวน ทำให้สัญญาณ ณ ขณะนั้น กลายเป็น 0.68 โวลต์ จึงทำให้ทีวีของเราตีความสัญญาณนั้นไม่ถูกต้อง และนำไปสู่การแสดงภาพที่ผิดเพี้ยนนั่นเอง
ดิจิตอล: ลองนึกถึงบันได 200 ขั้นกับนาย A เหมือนเดิมนะครับ – ในกรณีที่เป็นสัญญาณดิจิตอล คุณจะไม่สนใจว่านาย A จะอยู่บันไดขั้นที่ 13 หรือ 15 แต่สิ่งที่คุณสนใจก็คือ นาย A อยู่ “ข้างบน” หรือ “ข้างล่าง” ถึงแม้นาย A จะเดินขึ้นบันไดไปอีกกี่ขั้นก็ตาม และคุณจะไม่สามารถบอกได้อีกต่อไปว่าเขาอยู่บันไดขั้นไหนแล้ว (จะเพิ่มสัญญาณรบกวนหรือ noise ไปมากเท่าใดก็ตาม) แต่สิ่งที่คุณสามารถที่จะบอกได้แน่นอนก็คือ ณ ขณะนั้นนาย A อยู่ “ข้างบน” หรือ “ข้างล่าง” (เป็น “1” หรือ “0” นั่นเอง)
และสมมติว่า นาย A เดินขึ้นบันไดไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่คุณไม่สามารถบอกได้อีกต่อไปว่านาย A เป็น 1 หรือ 0 กันแน่ (เพิ่ม noise เข้าไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่เครื่องรับสัญญาณไม่สามารถแยกแยะได้อีกต่อไปว่าอะไรคือ “ข้อมูล” และอะไรคือ “noise” – ผู้แปล) แต่ก็นับเป็นข้อดีของโลกดิจิตอลครับ คือ อุปกรณ์ดิจิตอลจะไม่ใช้วิธี “เดา” เมื่อมันได้รับสัญญาณ มันจะทำงานได้ แต่ถ้ามันรับสัญญาณไม่ได้ มันจะไม่ทำงานเลย
(เพิ่มเติมจากผู้แปล: ถ้าสัญญาณ HDMI โดนรบกวนมากจนกระทั่งทีวีไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญญาณกับ noise ได้ล่ะก็ ทีวีของคุณจะไม่ใช้วิธีการคาดเดา แต่มันจะไม่แสดงภาพเลย)
นี่ล่ะครับเป็นเหตุผลว่าทำไมสายสัญญาณราคาถูกไม่มีผลต่อคุณภาพของสัญญาณดิจิตอล
อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าคุณเผอิญไปได้ยินใครพูดว่าเขาสามารถเห็นความแตกต่างระหว่างการใช้สาย HDMI ราคาถูกกับสายราคาแพง คุณก็สามารถหัวเราะเขาในใจได้เลย เพราะเขาได้เสียเงินจำนวนมากมายไปอย่างไร้ประโยชน์ และไร้จุดหมายครับ
หลายๆ คนอาจพูดว่า สาย HDMI ราคาแพงจะให้เสียงที่ดีกว่า นั่นก็เป็นความเชื่อที่ผิดครับ เพราะสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านสาย HDMI เป็นสัญญาณดิจิตอลเช่นเดียวกับสัญญาณวีดีโอ เพราะฉะนั้นทฤษฎีของขั้นบันไดที่ผมได้กล่าวไปแล้วก็สามารถนำมาใช้ตรงนี้ได้ ด้วย… ผมจึงขอเน้นย้ำว่า เนื่องจากมันเป็นสัญญาณดิจิตอล มันจึงไม่มีความแตกต่างอะไรเลยระหว่างสายราคาถูกกับสายราคาแพง
แหล่งที่มา
http://www.vpro.co.th/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-hdmi/
....................................................................................................................................................
สาย HDMI คุณภาพ ต่อ ราคา?
สำหรับผมเองสาย HDMI ถ้ามันไม่ห่วยจริงๆ ผมมั่นใจว่ายังไงถ้ามีภาพออกมาก็คุณภาพใกล้เคียงกันแน่นอน หรือเผลอๆ อาจจะเท่ากันด้วย ผมเองไม่ได้เป็นพวกหูทองหรือตาเทพอะไรขนาดนั้น ผมมองว่าหลายคนที่เห็นว่าคุณภาพมันต่างกันจริงๆ อาจจะเพราะยังเป็นความคิดเดิมๆ จากยุค analog เสียมากกว่าเพราะเมื่อก่อนผมคงไม่เถียงว่าคุณภาพของ material ที่นำมาใช้งานมีความแตกต่างแน่นอนสำหรับยุคอนาล็อกที่ส่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ ต้องการความเที่ยงตรงสูงมาก ถ้าเกิดออกไซด์นิดๆ หน่อยๆ แน่นอนว่าแรงดันที่ได้ก็จะเปลี่ยนทำให้ตีความเพี้ยนสุดท้ายก็จะเพี้ยนทั้ง กระบวนแน่นอน ฉะนั้นการเคลือบทองตรงจุด contact เพื่อป้องกันการเกิดสนิมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับสายที่เป็น analog
แต่สำหรับสาย HDMI ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปแล้วเพราะเป็นการส่งแบบดิจิตอล ต่างจากสายแบบเก่าคือ Component, VGA, AV, S-Video อย่างสิ้นเชิง ถ้าคุณซื้อสายไม่เกิน 4 เมตรแล้วมีภาพออกมาให้คุณเห็นตามปกติก็มั่นใจได้ว่าสามารถส่งได้ครบถ้วน แน่นอนโดยที่อาการภาพเบลอ สีบูดนั้นไม่มีให้เห็นเพราะสัญญาณที่ส่งออกมานั้นเป็น 0 และ 1 เท่านั้นและสองสัญญาณนี้ความแตกต่างค่อนข้างเยอะสมควรฉะนั้นคุณภาพที่ เครื่องรับแปลออกมาจึงไม่มีการถูกลดทอนค่อนข้างสูงมาก
ผมมีคอมพิวเตอร์เครื่องนึงที่เอาไว้ต่อออกกับทีวีจอใหญ่ๆ ผมมีสายสองเส้นคือสาย VGA (ที่เป็น Analog) และสาย HDMI (ที่เป็น Digital) สายทั้งสองเส้นซื้อจากพันธุ์ทิพย์ชั้น 4 ในราคาไม่เกิน 500 บาท ผมต่อเล่นคอมด้วยความละเอียดแบบ full HD (1080p = 1920*1080px) สาย vga คุณภาพไม่เอาอ่าวเลยในเรื่องคุณภาพของ font มีจุดขาดๆ หายๆ เพียบและไม่เนียนสักนิด ส่วนนึงเพราะสัญญาณที่ถูกลดทอนไปในสาย และนี่ก็คือเหตุผลที่มาตรฐาน HDMI เข้ามามีบทบาทในวงการวิดีโอครับ ซึ่งเมื่อผมต่อด้วย HDMI ถูกๆ ก็ใช้งานได้ครบถ้วนทุกอย่าง font ดูสวยงามเหมือนในจอคอมทุกอย่าง เล่นเกม ดูหนัง ไม่มีอาการกระพริบหรือสะดุดอะไรทั้งสิ้น และผมก็ไม่เห็นว่ามันจะต่างอะไรกับสายแพงๆ ที่ผมเคยลองใช้เท่าไหร่
แน่นอนว่าการซื้อสายแพงไม่ใช่สิ่งที่ผิด เพราะสิ่งที่คุณจะได้คือ
- ความมั่นใจ
- คุณภาพสายที่แน่นหนาและไม่หลุดไม่หลวมง่ายๆ
- ความหรู (สายแพงจัง งามจริงๆ (อันนี้จริงแท้แน่นอน))
- การรับประกัน (บางยี่ห้ออาจตลอดชีพ)
แหล่งที่มา
http://www.techblog.in.th/2010/04/01/hdmi-cable-cheap-and-expansive-overpriced/
.