นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทความทั่วไป

Sunday, November 17, 2013

Linux : OS ฟรีๆ ก็มีในโลก

(ย้ายมาจากบล็อกเก่า)
 
 
"Linux" เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการ (Operating System - จะขอเรียกย่อว่า OS) ที่ถูกสร้างมาจากคนกลุ่มนึง ที่หวังจะให้มี OS ในรูปแบบ "ของฟรี" เป็น Open Source ที่ใครๆ ก็สามารถนำไปใช้งาน เผยแพร่ ดัดแปลงแก้ไข ได้ตามต้องการ ในขณะที่ OS ตัวอื่นๆ เช่น Windows, Mac ต่างก็เป็น OS ที่ต้องเสียตังค์ซื้อทั้งนั้น (ไม่ก็หาของเถื่อนใช้กัน...)
 
อ่านแบบละเอียดได้ที่นี่ >> Wikipedia (ไทย)
 
ด้วยความที่ Linux เป็น OS แบบเสรี จึงมีการนำไปดัดแปลงและเผยแพร่ในหลายชื่อมากๆ เราเรียกสิ่งนี้ว่า "Distribution" หรือย่อๆ ว่า Distro ซึ่งมีหลายค่ายมาก แทบจะบอกได้เลยว่าเป็นร้อยๆ แต่ค่ายที่มีคนรู้จักกันมากก็เช่น...
 
     
 
ชื่อเหล่านี้ผมเชื่อว่าถึงคุณจะไม่รู้จัก แต่ก็คงผ่านๆ ตามาบ้างแล้ว โดยเฉพาะ Ubuntu (ที่ถูกบางคนเอาคำนี้ไปเล่นมุกใต้สะดือซะงั้น... Foot in mouth ) ผมเองก็รู้จัก Linux ในชื่อ Ubuntu นี้ก่อนเพื่อนเลย รู้จักทางทีวีในรายการเกี่ยวกับไอที ที่จริงก็เคยได้ยินมาบ้างแล้วก่อนหน้านั้น แต่ก็ยังไม่ได้สนใจ พอมาเห็นในทีวี โชว์วิดีโอการใช้งาน ผมก็เลยสนใจขึ้นมาทันที แบบว่า "นี่มันระบบปฏิบัติการคอมฯ เหรอเนี่ย ทำไมดูดีได้ขนาดนี้" Undecided จากนั้นก็ได้ลองตัดสินใจใช้ดู
 
หลังจากที่ได้ลองผิดลองถูกมาเป็นเดือนๆ ก็ได้รู้ว่า "ของฟรีตัวนี้ มันทำงานได้เหมือน Windows หลายๆ อย่างเลย" แน่นอนว่า มันก็ต้องมีข้อจำกัดอยู่บ้าง (ก็ของฟรีนี่) จะขอเล่าเลยแล้วกันครับ ถึงข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของ Linux เมื่อเทียบกับ OS อื่นที่เสียตังค์
 
~ ~ ~ ~ ~
 
ข้อได้เปรียบ
 
ในที่นี้ผมจะขอเปรียบเทียบกับ Windows เพราะเป็น OS ที่คนรู้จักและใช้กันมากที่สุดนะครับ ข้อความต่อไปนี้อาจดูเหมือนไม่เป็นกลาง ถึงขึ้นไซโคเลยก็ว่าได้ แต่ก็ไม่ได้หวังจะโน้มน้าวชักจูง บังคับให้มาใช้ Linux หรอกครับ แค่อยากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดๆ เท่านั้นเอง จะยังใช้ Windows ต่อไป หรือจะเปลี่ยนมาใช้ Linux ก็แล้วแต่คุณจะตัดสินใจเอาเองครับ

# ไม่ต้องเสียตังค์ ไม่ต้องกลัวเรื่องลิขสิทธิ์
 
Linux ฟรีจริงไม่มีเงื่อนไข เพราะใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL (GNU General Public License - สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู) ยังไม่ต้องรู้อะไรนักก็ได้เกี่ยวกับสัญญาอนุญาตพวกนี้ ที่อยากจะบอกก็คือ ผมเชื่อว่าหลายคนคงชอบของฟรี แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่เคยใช้ของเถื่อนใช่มั้ยครับ อย่างที่เห็นกันได้ง่ายๆ ที่สุดก็คือ Windows นี่แหละ คงรู้ๆ กันอยู่ Foot in mouth
 
แล้วไงล่ะ? จะแท้จะเถื่อนก็เหมือนๆ กัน ใช้ไปเถอะ ตำรวจไม่เห็นจะมาจับเลย กฎหมายมีไปก็เท่านั้นแหละ! ....เอ่อ คุณจะรอให้ถึงวันที่เค้าเข้มงวด จริงจัง เรื่องลิขสิทธิ์ เท่าๆ กับฝรั่งก่อนใช่มั้ยครับ คุณถึงจะเลิกใช้ของเถื่อน หันมาใช้ของแท้ ถึงตอนนั้นคุกคงไม่พอขังคนแล้วมั้งครับ ก็ใช้ของเถื่อนกันเยอะนี่ Frown
 
ที่เล่ามานี่ไม่ได้จะมาชักจูงให้ใช้ของแท้หรือของฟรีหรอกนะครับ แค่พูดไว้ให้คิดเท่านั้นเอง ในเมื่อไม่มีปัญญาใช้ของแท้ ก็ลองมาใช้ของฟรีได้ครับ สบายใจกว่ากันเยอะ
 
 
# ไวรัสหรือมัลแวร์แทบไม่มี
 
บางคนอาจจะไม่เชื่อข้อนี้ แต่เดี๋ยวก่อนครับ จะขออธิบายแบบง่ายๆ ไปเลย คือว่าในแต่ OS มันถูกสร้างมาในสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน พวกโปรแกรมอะไรต่างๆ จึงได้มีแบ่งแยกว่าเป็นของ Windows หรือ Mac ถ้ามันใช้ติดตั้งได้ทั้งสองอย่าง ในตัวติดตั้งตัวเดียวกัน คงไม่ต้องมาแบ่งแยกใช่มั้ยครับ... ไวรัสหรือมัลแวร์ก็เช่นกัน มันอาจจะทำให้ Windows เจ๊งได้ แต่ถ้ามาอยู่ในเครื่องที่เป็น Mac มันก็ไม่รู้จะทำงานของมันยังไง แน่นอนว่าถ้ามันมาอยู่ใน Linux มันก็ทำอะไรไม่ได้ด้วย เพราะระบบข้างในของ OS มันไม่เหมือนกัน ไวรัสเลยไม่รู้จะเล่นงานยังไง
 
 
...ดูจากรูปนี้แล้ว คิดไม่ออกเลยว่าไวรัสมันจะเล่นงานเครื่องได้ไง ในเมื่อไฟล์ระบบมันเป็นยังงี้ Cry
 
แต่ก็ใช่ว่า Mac และ Linux จะไม่มีโอกาสติดไวรัสเลยนะครับ ถ้าเกิดแฮกเกอร์เค้าอยากจะเขียนให้ไปติด Mac หรือ Linux เค้าก็ย่อมทำได้ แต่ส่วนมากแล้วจุดประสงค์ของเค้าคือ สร้างความเสียหายให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เค้าจึงเจาะจงกับกลุ่มใหญ่ๆ อย่าง Windows มากกว่า ...แต่ถึงแม้จะมีคนอุตริ เขียนไวรัสใน Linux จริงๆ ก็คงป่วนได้ไม่นานแล้วก็หายไป เพราะผู้ที่คอยพัฒนา Linux เค้าจะอัพเดทอุดช่องโหว่อยู่เสมอเป็นรายวัน แถมยังมีกลุ่มผู้ใช้งานคอยสอดส่องอยู่ตลอด พร้อมที่จะรายงานความผิดปกติให้กับผู้พัฒนา Linux ได้ทุกเมื่อ Kiss
 
และอีกเหตุผลนึงที่ไวรัสทำอะไรกับ Linux ไม่ได้ง่ายๆ นั่นก็คือระบบ "Authorization" ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรๆ ที่เกี่ยวกับระบบ มันจะถามหารหัสผ่านจากตัวผู้ดูแลระบบ (นั่นคือตัวเราเอง หรือไม่ก็คนอื่นที่ติดตั้ง Linux ) ทุกครั้ง ไวรัสมันไม่รู้จักรหัสผ่านของเราจึงทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้
 
 
# ไม่ชัวร์ก็ลองใช้ก่อนได้ ไว้ถูกใจก่อนค่อยติดตั้ง
 
ความวิเศษที่ผมเองก็แทบไม่อยากเชื่อว่ามันจะทำได้จริง แค่ใส่แผ่นแล้วให้เครื่องบู๊ตจากแผ่น หน้าจอก็จะขึ้นทุกอย่างมาให้ราวกับว่าได้ติดตั้งลงเครื่องไปแล้วจริงๆ!! Undecided จากนั้นก็ใช้งานอะไรๆ ได้แทบทุกอย่างทั้งพิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เล่นเน็ต ฯลฯ ถ้าถูกใจก็สั่งติดตั้งได้เลย แต่ถ้าไม่ ก็ปิดเครื่องแล้วเอาแผ่นออก แล้วทุกอย่างในเครื่องก็กลับเป็นเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเกิดขึ้น...
 
คุณสมบัติเจ๋งๆ แบบนี้คงจะไม่มีใน OS ไหนอีกแล้ว (คงถึงขั้นไม่เคยมีเลยด้วยซ้ำ) ที่ Linux ให้เราได้ลองแบบนี้ เพราะต้องการให้เราได้รู้ว่า มันทำงานได้ดีแค่ไหนในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ถ้าคิดว่าทำงานได้ดีก็จะได้ติดตั้งมันลงไปจริงๆ แผ่นติดตั้ง Linux ที่มีคุณสมบัตินี้จึงถูกเรียกว่า "Live CD"
 
 
มันทำงานโดยการยืมทรัพยากรเครื่องบางส่วน มาทำงานร่วมกับตัวติดตั้ง Linux และจะสร้างชื่อผู้ใช้ไว้เป็น Guest ...ในการใช้งานสดๆ แบบนี้จึง มี ข้อจำกัดอยู่บ้าง คือบางเครื่องอาจจะหน่วงๆ และอีกข้อคือ ไม่เก็บค่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลยเมื่อ Restart หรือ Shut Down จึงทำให้การตั้งค่าบางอย่างที่ต้อง Restart ก่อนถึงจะเห็นผลนั้น ทำไม่ได้
 
ทั้งนี้ ไม่ได้มีแค่ Live CD นะครับ ยังมี "Live DVD" และที่สำคัญคือมี "Live USB" ไว้ติดตั้งใน Netbook หรือเครื่องที่ไม่มีช่องใส่แผ่น รวมไปถึงสำหรับคนที่ไม่อยากเปลืองแผ่น ก็ใช้มันติดตั้งได้ง่ายๆ
 
 
# แทบจะไม่ต้องติดตั้ง Driver เอง
 
เพราะตัว Driver ต่างๆ มาพร้อมกับส่วนที่เรียกว่า Kernel หรือแก่นของ Linux ผู้พัฒนาได้ใส่มันลงไปในแก่นนั่นเรียบร้อยเสร็จสรรพก่อนแล้ว แม้จะไม่ใช่กับอุปกรณ์ทั้งหมด ยังมีตัวที่ยังไม่ทำงานอยู่บ้างเช่นการ์ดจอ, เครื่องพิมพ์, สแกนเนอร์, กล้อง Webcam ฯลฯ ก็ไม่ใช่ปัญหา เราสามารถค้น Google หามาติดตั้งได้ทีหลัง
 
 
# ไม่ต้องทำ Defragment ตลอดชาติ
 
Linux มีวิธีจัดการข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่ไม่เหมือนกับ Windows เพราะ Linux จะทำการบันทึกรายการไว้ว่า ส่วนไหนของฮาร์ดดิสก์ที่มีที่ว่างเท่าไหร่บ้าง เมื่อจะเขียนข้อมูลลงไปก็จะพยายามหาในรายการ ตรงไหนมีที่ว่างพอ ก็เขียนมันลงไป พูดง่ายๆ คือมันทำให้เป็นระเบียบตั้งแต่ตอนเขียนแล้ว จึงทำให้ไม่ต้องมาคอยทำ Defragment ทีหลัง
 
ใน Windows ฮาร์ดดิสก์จะใช้ระบบ NTFS ไม่ก็ FAT แต่ใน Linux จะใช้ระบบอื่นแทน เช่น ext3, ext4, JFS, XFS ฯลฯ ซึ่งระบบเหล่านี้เป็นระบบเฉพาะของ Linux ที่ได้ออกแบบมาให้ใช้หลักการข้างต้นดังที่ได้กล่าวไป
 
 
# เครื่องเก่าๆ กากๆ ก็ใช้งานได้
 
Linux ไม่ต้องการทรัพยากรเครื่องมากนัก ในขณะที่ Windows พอมีรุ่นใหม่ออกมา ก็มักจะเรียกร้องทรัพยากรมากขึ้นๆ อยู่เสมอ แต่ Linux ไม่ต้อง มันถูกออกแบบมาให้ใช้ได้กับเครื่องหลายๆ สเป็ก Distro แต่ละแห่งก็มักจะออกรุ่นที่เผื่อไว้ให้เครื่องเก่าๆ ได้ใช้งานได้ด้วย บาง Distro ก็ถึงกับออกรุ่นมาเพื่อเครื่องเก่าๆ ที่อายุเกิน 5-6 ปีโดยเฉพาะเลย... ถ้าแค่ใช้งานทั่วๆ ไปแบบบ้านๆ ก็คงจะเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว Cool
 
และนี่คือตัวอย่าง Distro ที่ออกแบบ Linux มาแบบเบาๆ Light Weight เพื่อเครื่องเก่าๆ (และอาจจะถึงกับกากๆ ...เหอๆ)
 
         
 
 
# หน้าตา Interface สวยใส แต่งได้ตามใจ ลูกเล่นเยอะ

อธิบายเป็นตัวอักษรคงจะไม่เห็นภาพ จึงคิดว่าเอาภาพหน้าจอ และคลิป มาให้ดูน่าจะอธิบายได้ดีกว่าเยอะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
# โปรแกรมใช้งานมีให้เสร็จสรรพ
 
Linux ในแต่ละ Distro โดยส่วนมากเค้าจะมีโปรแกรมแถมมาด้วยอยู่แล้ว โปรแกรมใช้งานทั่วๆ ไป พิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เล่นเน็ต ฯลฯ เค้าก็จะมีมาให้อยู่แล้ว อ่านมาถึงตรงนี้บางคนบอกว่า Windows ของชั้นก็มีแถมมาให้ครบๆ แล้วเหมือนกัน... ประทานโทษครับ แผ่นที่ใช้ติดตั้งเป็นแผ่นแท้รึเปล่า ไม่ได้เป็นพวก Dark Lite Heaven Hell Edition ต่างๆ นานา... ถ้าเป็นแผ่นนั้นจริงก็ไม่ต้องมาโม้ครับ Innocent
 
โปรแกรมที่แถมมากับ Linux บ่อยๆ ก็มักจะเป็นดังนี้ (บางตัวก็เป็นโปรแกรมที่เรารู้จักกันดี)
  • พิมพ์งาน ทำเอกสารต่างๆ - Libre Office, OpenOffice
  • โปรแกรมท่องเว็บ - Firefox, Chrome
  • กราฟิก วาดรูป ตัดต่อ - GIMP, Mypaint, Inkscape
  • แชทพูดคุยกับเพื่อน - Skype, Pidgin, Empathy, emesene
  • ดูหนัง ฟังเพลง - VLC, mPlayer, Banshee, Audacious
  • โปรแกรมบีบอัดไฟล์ - Archieve Manager
 
# มีศูนย์รวมซอพต์แวร์ ติดตั้งหรือถอนได้ง่ายๆ
 
ถ้าโปรแกรมที่ว่ามาในข้อที่แล้ว ยังไม่เพียงพอ อยากได้เพิ่ม ศูนย์รวมซอฟแวร์ช่วยได้ครับ... แต่โดยปกติแล้วสำหรับคนที่ใช้ Windows เวลาเราจะติดตั้งโปรแกรมใหม่ๆ เราคงต้องไปหาและดาวน์โหลดมา หรือบางทีก็ซื้อมาใช่มั้ยครับ จากนั้นก็ติดตั้งลงไป บางโปรแกรมก็มีตัวเลือกโน่นนี่ขึ้นมาให้ยุ่งยาก แถมบางทีติดตั้งเสร็จก็ต้อง Restart อีก... ถ้าติดตั้งกันนานๆ ที ทีละตัวสองตัวคงจะยังไม่เป็นไร แต่ถ้าจำเป็นต้องลงทีละหลายๆ โปรแกรม เช่นตอนเพิ่งล้างเครื่องใหม่ๆ คงได้ลมจับแหงๆ
 
Linux ในทุกๆ Distro เค้าจะมี "ศูนย์รวมซอฟแวร์" หรือไม่ก็ "ตัวจัดการแพกเกจ" เข้ามาช่วยให้การติดตั้งโปรแกรมหรือการถอนทำได้ง่ายๆ แค่เปิดมันขึ้นมาแล้วพิมพ์ชื่อโปรแกรม หรือคำบางคำลงไปนิดนึง มันก็จะขึ้นรายชื่อโปรแกรมมาให้ หรือไม่ก็ไล่หาจากหมวดหมู่ที่เค้าจัดไว้ให้แล้ว แล้บก็เลือกติดตั้งมันลงไป และตอนติดตั้งมันจะไม่เที่ยวถามโน่นถามนี่ให้วุ่นวาย จะถามก็แค่รหัสผ่านของคุณ (Authorization) เท่านั้นเอง Kiss
 
 
# อัพเดทง่าย แทบไม่ต้อง Restart เครื่อง
 
ถ้าเป็น Windows เราคงสังเกตเห็นได้ว่า การกระทำหลายอย่างของเราจะถูกเรียกร้องให้ Restart อยู่เสมอ เช่น ตอนติดตั้งโปรแกรมเสร็จใหม่ๆ หรือตอนสั่งบางโปรแกรมให้อัพเดท ไม่ก็อัพเดทตัว Windows ซึ่งมักจะทำให้เรารำคาญ บางทีการอัพเดทอาจจะเปลี่ยนอะไรแค่นิดหน่อย มันก็ยังเรียกร้องให้ Restart อยู่ดี
 
แต่ Linux ไม่ต้องทำบ่อยถึงขนาดนั้น การติดตั้ง อัพเดทโปรแกรม หรืออัพเดทระบบ ส่วนมากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ทันที น้อยครั้งที่ Linux จะขอให้เรา Restart (อันเนื่องมาจากระบบส่วนที่สำคัญถูกเปลี่ยนแปลง) แต่การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในทันที ไม่ก็แค่ Logout ออกแล้วเข้ามาใหม่ก็เปลี่ยนแล้ว
 
 
# Community ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือทุกเรื่อง
 
คุณจะไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ถ้าคุณได้รู้จักแหล่งพบปะและสังคมของคนใช้ Linux เช่นในเว็บที่แจกจ่าย Distro ต่างๆ เว็บบอร์ด บล็อก หรือแม้แต่ IRC พวกเขาพร้อมที่จะตอบคำถามให้คุณได้แทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นๆ ระดับ FAQ หรือเรื่องซับซ้อนที่คนไม่ค่อยถามกัน ถามพวกเค้าไปได้เลย ขอแค่อธิบายเค้าให้ชัดเจน และสื่อสารกันให้เข้าใจได้เท่านั้นเอง
 
ในไทยนี้เท่าที่รู้มาก็มี Community อยู่หลายแห่งนะครับ ที่เกี่ยวกับ Linux เชิญดูได้ตามลิงค์ข้างล่างนี้เลย Embarassed
 
 
~ ~ ~ ~ ~
 
ข้อจำกัด
 
หรือบางคนเรียกมันว่า "ข้อเสีย" จริงๆ แล้วหลายข้อมันก็ไม่ถึงกับเป็นข้อเสียหรอกครับ ไม่อยากเรียกยังงั้น ควรเรียกว่าข้อจำกัดดีกว่า เพราะหลายข้อที่ว่านั้นมันก็มีอยู่ใน OS ตัวอื่นๆ อย่าง Mac ด้วย
 
 
# ความนิยมน้อย
 
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้ Windows กันทั้งนั้น คงเป็นเพราะเราถูกสอน ถูกปลูกฝังมานาน ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น... แล้วบางคนคงจะไม่รู้จัก OS อื่นเลย บางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า OS คืออะไร สักแต่จะใช้อย่างเดียว
 
ก็รู้ๆ กันอยู่ แทบไม่ต้องหาเหตุผลว่าทำไมคนถึงใช้แต่ Windows ลองดูกราฟนี่สิครับ....
 
  • Windows XP (35.21%)
  • Windows 7 (31.21%)
  • Windows Vista (11.27%)
  • Mac OS X (7.31%)
  • iOS (3.38%)
  • Android (1.30%)
  • Linux (1.11%)
 
กราฟส่วนของ Mac สั้นมาก แต่ก็ยังสั้นไม่เท่า Linux ที่มีส่วนแบ่งแค่ 1% กว่าๆ เอง Frown
เพราะ "ความนิยมน้อย" ข้อนี้ข้อเดียว เลยทำให้ข้อต่อๆ ไปข้างล่างนี้เกิดขึ้นมาได้
 
 
# โปรแกรมที่ทำงานได้บน Linux ยังน้อย
 
โดยเฉพาะพวกโปรแกรมที่ต้องเสียเงินทั้งหลาย มันคือความจริงที่โหดร้ายสำหรับบางคน ที่ผูกพันกับโปรแกรมจำพวกนั้นมานาน บางคนอาจจะใช้มันมานานถึง 10 ปีหรือไม่ก็ทั้งชีวิต การที่จะให้เค้ามาใช้ Linux ที่มีแค่โปรแกรมทดแทน จึงเป็นไปได้ยากมาก
 
ตัวอย่างเช่นโปรแกรม Photoshop ที่บางคนใช้ซะจนเป็นแขนขาของเค้าไปแล้ว
 
 
# เกมหลายเกมยังเล่นบน Linux ไม่ได้
 
ความจริงที่โหดร้ายอีกข้อสำหรับคนที่ชอบเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ ถึงแม้ใน Linux จะมีโปรแกรมที่ช่วยให้เกมเหล่านั้นเล่นได้ เช่น WINE, PlayOnLinux, Crossover แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ 100% เผลอๆ จะยุ่งยากปวดหัวกว่าตอนที่ลงเกมใน Windows ซะอีก Tongue out
 
จริงอยู่ที่ใน Linux ก็มีเกมฟรี (และแบบเสียตังค์) ให้เล่นอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าเทียบกับเกมบน Windows ก็ถือว่าน้อยมากๆ อยู่ดี เพราะคนทำเกมส่วนมากต้องการทำเพื่อหาเงินทั้งนั้น เค้าคงจะไม่ยอมลดตัวลงมาทำเพื่อ OS ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 1% นี่แหงๆ ...จึงไม่ต้องพูดไปถึงเรื่องเกมออนไลน์ที่สูบเงินผู้เล่นอย่างสนุกสนานนั่น เลย Yell
 
 
# ยังไม่รู้จักฮาร์ดแวร์ที่ใหม่เกิน
 
ถึงจะบอกว่าไม่ต้องติดตั้ง Driver เอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีพร้อมเสร็จสรรพให้กับอุปกรณ์ทุกตัว โดยเฉพาะพวกที่เพิ่งออกใหม่ๆ 2-3 เดือน จะยังทำงานบน Linux ไม่ได้ เพราะผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านั้นยังไม่ทำ Driver สำหรับ Linux มา หรือไม่อยากทำ ...แต่ก็ยังดีที่มีผู้พัฒนา Linux ทำการพัฒนา Driver สำหรับลินุกซ์ให้ฮาร์ดแวร์เหล่านั้นอยู่เรื่อยๆ ข้อจำกัดนี้จึงไม่น่าจะหนักหนาอะไรนัก Kiss
 
 
# ผู้ใช้ที่เคยใช้ OS อื่นมาก่อน อาจปรับตัวได้ยาก
 
อย่าว่างั้นงี้เลย แค่จะให้คนที่ใช้ Windows เปลี่ยนไปใช้ Mac หรือแม้แต่ไปใช้ Windows รุ่นอื่นๆ จากที่เค้าใช้ พวกเค้าก็คงไม่ยอมกันแล้ว ถ้าไม่ลองเปิดใจ จะให้เค้าเรียนรู้อะไรใหม่ๆ คงยาก Frown
 
กลับมาพูดถึงคนที่อยากจะมาใช้ Linux ดีกว่า มือใหม่หลายๆ คนคงท้อเอาได้ง่ายๆ เมื่อสิ่งที่เค้าเคยรู้มาจาก Windows แทบจะเอามาใช้กับ Linux ไม่ได้เลย ตั้งแต่เรื่อง Interface, การจัดการไฟล์, การใช้งานโปรแกรมฟรีแวร์, การติดตั้งหรือถอนโปรแกรม ฯลฯ ....ใครจะไปรู้ล่ะว่า ต้องใส่รหัสผ่านทุกครั้งที่ติดตั้งหรือถอนโปรแกรม ถ้าไม่ศึกษามาก่อน หรือบางทีก็พยายามหาโปรแกรม Defragment บน Linux กันจนแทบพลิกแผ่นดิน หารู้ไม่ว่ามันไม่ต้องทำแบบนั้น Foot in mouth
 
แต่ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางแก้เสมอ ปัญหาความไม่คุ้นชิน ใครๆ ก็เคยเป็นกันทั้งนั้นครับ ....อยากให้คุณลองนึกไปถึงสมัยที่คุณเพิ่งรู้จักเครื่องคอมฯ ได้จับต้องเป็นครั้งแรกดู คุณเคยลำบากแค่ไหนกับการใช้งานมันให้เป็น... ให้เอาความรู้สึกนั้นแหละครับมาใช้กับ Linux ทำตัวให้เป็นกระดาษว่าง แก้วเปล่า เปิดใจเรียนรู้มัน เชื่อได้ว่าคงไม่เกินความสามารถคุณแล้วล่ะครับ
 
 
# อาจต้องสั่งการด้วย Command Line อยู่บ่อยๆ
 
Command Line คือการสั่งการโดยพิมพ์คำสั่งลงไป บนหน้าจอที่มีแต่ตัวหนังสือ เหมือนกับ DOS นั่นแหละครับ แต่ใน Linux คำสั่งจะเป็นแบบอื่นแทน... มือใหม่แทบทุกคนคงจะเคยอยากเลิกกลางคัน เพียงเพราะไปถามใครๆ ดู แล้วได้คำตอบกลับมาเป็นตัวหนังสือ 2-3 บรรทัด เช่น...
 
sudo add-apt-repository ppa:ABCDE/FGHIJK
sudo apt-get update
sudo apt-get install FGHIJK

หรือไม่ก็โชคร้าย ได้มาอย่างยาวเป็นหลายสิบบรรทัด เจอเข้าไปก็ไม่รู้จะทำไงเพราะไม่รู้จักคำสั่งเหล่านี้ Foot in mouth
 
ที่จริงคำสั่งพวกนี้ที่เค้าให้มา มีไว้ใส่ในโปรแกรม Terminal ครับ (เทียบกับ Windows ก็โปรแกรม Command Promp) แค่ก็อปไปทีละบรรทัดแล้ววาง กด Enter มันก็จะประมวลผลให้ตามที่เราใส่ลงไป ...ที่บอกไปในหัวข้อว่าอาจต้องสั่งการด้วย Command Line อยู่บ่อยๆ เพราะว่าคำสั่งบางอย่างถ้ามาทำผ่าน Command Line แล้วจะสะดวกกว่าการทำผ่าน GUI (Graphical User Interface : ส่วนติดต่อผู้ใช้แบบเห็นภาพ) ...หรือบางทีอาจมีคำสั่งที่ GUI ทำให้ไม่ได้ เราก็ต้องมาทำผ่าน Command Line เช่นการติดตั้ง Driver เครื่องพิมพ์ด้วยตัวเอง หรือการติดตั้งโปรแกรมที่มาในรูปแบบ tar.gz (ไฟล์บีบอัดชนิดนึงของ Linux) เป็นต้น
 
 
ทั้งนั้นทั้งนี้ สำหรับคนที่อยากใช้ Linux แบบจริงๆ จังๆ ผมว่าจำเป็นมากที่จะต้องศึกษาวิธีใช้ Command Line ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวไป... ถ้าใช้เป็นแล้ว ไม่ว่าจะไปใช้ Linux จากค่ายไหนก็ใช้ได้หมด และเวลาที่เรามีปัญหา จะได้ปรึกษากับคนอื่นๆ ที่ใช้เป็นแล้วได้ง่ายๆ Embarassed
 
~ ~ ~ ~ ~
 
เป็นไงบ้างครับ อ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากลองใช้ดูบ้างรึยัง ถามตัวเองก่อนก็ได้ครับว่าทุกๆ วันเราใช้คอมฯ เพื่อทำอะไร ถ้าเอาไว้เล่นเกมอย่างเดียวหรือใช้โปรแกรมเทพๆ ที่ใช้ได้บน Windows เท่านั้น ก็ใช้มันต่อไป ไม่ต้องสน Linux ก็ได้
 
แต่ถ้าใช้คอมฯ เพื่อทำเรื่องพื้นๆ ทั่วๆ ไป เช่นพิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลง ดูเว็บ เล่น Facebook เช็ค Twitter ฯลฯ ผมคิดว่า Linux เหมาะกับคุณมาก เพียงแค่คุณเปิดใจเท่านั้น...
 
หรือถ้าคุณเป็นทั้งสองอย่างที่ว่ามานี้ เกมก็เล่น งานอื่นๆ ก็ทำ อาจจะสองจิดสองใจไม่รู้จะ Windows หรือ Linux ดี... ก็ไม่ต้องห่วงครับ เราสามารถติดตั้ง Linux คู่กับ OS ที่เราใช้เป็นประจำ แล้วใช้งานมันทั้งคู่ซะก็ยังได้ แม้จะเปิดทั้ง 2 OS ในเวลาเดียวกันไม่ได้ ก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ...ตอนไหนใช้งานทั่วไป เวลาเปิดเครื่องก็เลือกบู้ตเป็น Linux ซะ ตอนไหนอยากเล่นเกมก็เลือก Windows
 
Entry หน้า ผมจะมาเล่าเรื่องการใช้งาน Live CD, Live USB และวิธีการติดตั้ง Linux ให้ได้อ่านกันนะครับ ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกๆ คนที่อ่านจนจบนะครับ อาจจะรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ก็คงไม่ว่ากันนะ Foot in mouth ตอนนี้ต้องขอตัวไปหาข้อมูลมาเพิ่มแล้วครับ ค่อยเจอกันใหม่ใน Entry หน้ารับรองว่าจะเขียนให้แซ่บกว่านี้แน่นอน...
 
แหล่งที่มา  http://linuxdiary.exteen.com/20120101/linux-os


เราจะใช้ Linux Distros ไหนดี

เราจะใช้ Linux Distros ไหนดี(วะ)

แม้ว่า Linux จะเป็นระบบปฏิบัติการชั้นนำ  และสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการได้  แต่อุปสรรค์อันดับต้น ๆ ของคนที่เริ่มเรียนรู้ Linux คงเป็นข้อสงสัย (ที่ผมเองก็เคยสงสัย) ว่า Linux มีตั้งหลายตัว  แล้วจะใช้ตัวไหน  วันนี้ผมเลยนำสุดยอดของระบบปฏิบัติการ Linux ในปี  2011  มาเล่าให้ฟัง  แต่บอกก่อนว่านี่เป็นความเห็นของฝรั่งจากเว็บ  TechnologyToSoftware  นะครับ
สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้งาน  Distro  ที่ดีที่สุดมีดังนี้
259 เราจะใช้ Linux Distros ไหนดี(วะ)
1.  Ubuntu  ที่ขึ้นมาอันดับหนึ่งได้เพราะความง่ายครับ  ทั้งติดตั้งและใช้งาน  สนับสนุนเกือบทุกภาษาทั่งโลก  และแน่นอนมีภาษาไทยด้วย  พัฒนาตลอดเวลา  ออกเวอร์ชั่นใหม่ทุก  6  เดือนคือในเดือนเมษายนและเดือนตุลาคมของปี  ปัจจุบันอยู่ที่เวอร์ชั่น  11.04  (11  คือ  2011  04  คือ  รุ่นที่ออกเดือนเมษา)
260 เราจะใช้ Linux Distros ไหนดี(วะ)
2.  LinuxMint  เป็นอีกตัวหนึ่งที่พัฒนาต่อยอดมาจาก  Ubuntu  พอ  Ubuntu  ออกใหม่ปุ๊บ  Mint  ก็จะตามหลังมาติด ๆ ทันที  ซึ่งผู้ใช้ Mint  ก็จะบอกว่าของชั้นดีกว่า  การใช้งานคล้ายกับอันที่หนึ่งง่ายเหมือนกัน
3.  Mandriva  Linux  ตัวนี้ไม่เป็นที่คุ้นเคยในบ้านเรา  แต่เค้าพัฒนามานานแล้วพร้อม ๆ กันกับ  RedHat  ตัวผมก็ไม่คุ้นเคยกับเขาเท่าไหร่  ไปดูตัวต่อไปดีกว่าครับ
4.  openSUSE  ชื่อออกแนวผู้หญิงหน่อย  และผู้ใช้หลายคนบอกว่าหน้าตาสวยเหมือนชื่อเลยครับใช้ตัว  Linux  Desktop (Graphic User Interface) คนละตัวกับ  Ubuntu  แต่หลัก ๆ แล้วง่ายคล้ายกันแค่คลิกแล้วรัน
ทั้ง  4  Distro  ที่บอกมานี้เหมาะสำหรับผู้ที่จะเปลี่ยนจาก  Windows  มาใช้  Linux  เพราะมันง่ายตั้งแต่การติดตั้ง  แค่คลิกเหมือนกับสิง่ที่เราคุ้นเคยก็ทำได้แล้ว  ถ้าถามผมว่าตัวไหนดีที่สุด  ผมคงตอบว่า  Ubuntu  เพราะผมไม่ชอบสีเขียวของ  Mint (ฮา)  ส่วนน้อง  SUSE  ผมไม่เคยใช้แต่คงคล้ายกันและไม่ยากเกินไป  ได้ยินเสียงลือว่าสวยผมยิ่งสนใจ  ไอ้ลำดับที่สามไม่ต้องพูดถึงครับยิ่งไม่เคยใหญ่เลย  สนใจทดลองใช้ให้หมดแล้วจะรู้ว่าคุณเหมาะกันอันไหนมากที่สุด 555

แหล่งที่มา  http://www.nengnengneng.net/archives/2435

เลือกลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นให้เหมาะกับตัวคุณ

เลือกลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นให้เหมาะกับตัวคุณ

โดย ธีรภัทร มนตรีศาสตร์,RHCE,LPIC-3,LCP

อุปสรรคอันดับต้นๆ ที่รบกวนการเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ คงจะหนีไม่พ้นข้อสงสัยเบื้องต้นเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ปัญหาหนึ่งก็คือ ลีนุกซ์มีให้เลือกเยอะแยะหลายตัว Red Hat บ้าง Ubuntu บ้าง แต่ละชื่อก็ไม่ค่อยจะคุ้นเอาเสียเลย แล้วควรจะเริ่มศึกษาตัวไหนก่อนดี บทความนี้จะช่วยให้คลายข้อสงสัยได้อย่างแน่นอนครับ นับตั้งแต่ปี คศ. 1991 ที่เคอร์เนลลีนุกซ์เวอร์ชั่นแรกได้ถือกำเนิดขึ้นมา เป็นเรื่องน่าทึ่งที่ว่าโปรแกรมเคอร์เนลขนาดจิ๋วนี้ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา โดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลกจนมาถึงวันนี้ โปรแกรมเล็กๆ นี้ได้เข้าไปเป็นหัวใจสำคัญของระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูงและได้รับ ความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งในอนาคตระบบปฏิบัติการลีนุกซ์นี้จะมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกมากในโลก อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ หากพิจารณาถึงองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปแล้ว ลำพังเฉพาะ “เคอร์เนล” เพียงชิ้นส่วนเดียวย่อมไม่สามารถทำงานทุกอย่างได้ครบถ้วน จึงต้องอาศัยซอฟต์แวร์อื่นๆ อีกหลายส่วนเพื่อประกอบกันเป็นระบบปฏิบัติการที่สมบูรณ์ มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะปฏิบัติงานตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ตามจุด ประสงค์ของการใช้งาน ได้แก่ การเป็นเซิร์ฟเวอร์ในระบบเครือข่าย การใช้งานเดสทอปหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรืออาจประยุกต์ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น การเป็นสมองกลฝังตัวในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้เคอร์เนลลีนุกซ์ทำงานเป็นระบบปฏิบัติการที่พร้อมใช้งานได้ จริง จะต้องมีโปรแกรมสนับสนุนระบบ โปรแกรมยูทิลิตี้ โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ สำหรับงานบริการด้านต่างๆ และระบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) รวมกันทำงานอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการที่จะได้มาซึ่งซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์นั้น จำเป็นต้องนำเอาซอฟต์แวร์เป็นจำนวนมากมารวบรวมกันเอาไว้เป็นชุดเดียวกัน จัดทำให้สะดวกต่อการติดตั้ง ปรับแต่ง และใช้งานโดยคนทั่วไปสามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องใช้ความรู้ประสบการณ์เชิงเทคนิคอะไรมากมาย การเผยแพร่ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์โดยจัดทำเป็นชุดซอฟต์แวร์ “พร้อมใช้” นี้เอง เราเรียกกันว่า ลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่น ( Linux Distribution ) จุดกำเนิดของลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่น ลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นหรือเรียกสั้นๆ กันว่า “ลีนุกซ์ดิสโทร” เกิดจากความต้องการเผยแพร่ (Distribute) ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ให้เกิดความนิยมแพร่หลายออกไป คำว่า Distribution นี้เป็นความหมายกว้างๆ ครับ มีปรากฏในทุกแวดวงสังคม ตัวอย่างเช่น วงการแฟชั่น วงการดนตรี วงการศิลปะ ก็มีกลุ่มบุคคลที่ต้องการเผยแพร่แนวคิดของตนเองออกไปสู่คนอื่นๆ ในสังคมเช่นกัน สำหรับลีนุกซ์ดิสโทร ก็คือกลุ่มบุคคลที่ต้องการเผยแพร่ให้คนอื่นๆ หันมาสนใจและนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปใช้งานกันให้แพร่หลายมากขึ้นนั่นเอง แรงเสริมที่ทำให้เกิดลีนุกซ์ดิสโทรขึ้นนั้นมีดังนี้ครับ อันดับแรก เนื่องจากในยุคที่ลีนุกซ์เริ่มต้นใหม่ๆ นั้น ระบบอินเตอร์เน็ตยังมีความเร็วไม่มากนัก จึงไม่สะดวกเลยที่จะดาวน์โหลดเคอร์เนลลีนุกซ์และส่วนประกอบต่างๆ มาติดตั้งใช้งาน เพราะกว่าจะครบสมบูรณ์เป็นรูปเป็นร่างได้ก็ใช้เวลานานทีเดียว การจัดจำหน่ายซีดีรอมชุดติดตั้งโปรแกรมลีนุกซ์จึงเป็นหน้าที่สำคัญอันดับแรก ของลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่น ประการที่สอง ในยุคเริ่มแรกนี้เช่นกันที่โปรแกรมต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ยังคงอยู่ในช่วงของการพัฒนาไปตามกำลังของผู้พัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลก ดังนั้นการนำไปใช้งานนั้นจะมีสภาพที่ค่อนข้าง “ดิบ” อยู่พอสมควร ผลงานซอฟต์แวร์ที่แจกจ่ายกันจึงอยู่ในสภาพของ โปรแกรมต้นฉบับ (source code) เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการนำไปใช้งานจะต้องผ่านขั้นตอนทางเทคนิคที่เรียกว่า “การคอมไพล์โปรแกรม” ( Program Compilation ) จึงทำให้ไม่สะดวกหรือแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นในกลุ่ม ผู้ใช้หน้าใหม่อย่างรวดเร็วตามเป้าหมายของลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่น ดังนั้นกลุ่มลีนุกซ์ดิสโทรจึงต้องเตรียมซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการของตนเองให้ อยู่ในสภาพ “พร้อมใช้” อย่างแท้จริงจึงจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ ประการที่สาม ขั้นตอนการติดตั้งที่แสนยุ่งยากของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ จะต้องถูกออกแบบใหม่ให้ง่ายที่สุดไม่ต่างอะไรจากการเรียกคำสั่ง Setup ในการติดตั้งวินโดวส์ รวมไปถึงการตั้งค่าต่างๆ การใช้งานและการปรับแต่งระบบ เพียงบูตด้วยแผ่นซีดีรอม คลิ๊ก Next ไปเรื่อยๆ แล้วท่านจะได้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่ต้องการ พูดง่ายๆ ว่า ลีนุกซ์ดิสโทรจะต้องเป็นการทำให้การใช้งานลีนุกซ์เป็นเรื่องง่ายๆ สำหรับบุคคลทั่วไปนั่นเอง ดังนั้น ลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่น จึงเป็นกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเป็นองค์กร มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่ระบบปฏิบัติการที่ใช้ลีนุกซ์เป็นเคอร์เนลแก่ บุคคลทั่วไปให้เกิดการใช้งานแพร่หลาย โดยดำเนินงานภายใต้ข้อกำหนดของชุมชนโอเพ่นซอร์สและฟรีซอฟต์แวร์ ซึ่งในปัจจุบันมีลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ท่านสามารถติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นทุกรายที่มีใน โลกนี้ได้จากเว็บไซต์http://distrowatch.com คุณลักษณะที่ดีของลีนุกซ์ดิสโทร ลีนุกซ์ดิสโทรที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน ทำให้ยากต่อการตัดสินใจเลือกนำมาใช้ อาศัยฟังคนนั้นแนะนำ คนนี้เชิญชวน อีกคนโม้ให้ฟัง ก็ยังตัดสินใจไม่ได้อยู่ดี การกำหนดคุณลักษณะที่ดีของลีนุกซ์ดิสโทรจึงเป็นเกณฑ์ที่จะใช้พิจารณา คัดเลือกข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีหลักการ เราสามารถแบ่งคุณลักษณะของลีนุกซ์ดิสโทรออกได้ 5 ด้าน ดังนี้
  1. วิธีการติดตั้ง (Installation Method) ขั้นตอนการติดตั้งนั้นถือว่าเป็นด่านแรกที่จะตัดสินได้เลยว่า ลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นใดเหมาะสมกับตัวเรา มีคุณภาพเป็นอย่างไร บางดิสทริบิวชั่นมีโปรแกรมช่วยให้ขั้นตอนการติดตั้งทำได้ง่ายมาก มีคำบรรยายตลอดทุกหน้าจอ แม้แต่ผู้ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อนก็ทำได้ด้วยตนเอง แต่บางดิสโทรกลับติดตั้งยากมากขนาดทำให้นักคอมพ์ระดับ “เซียน” กลายเป็นนักคอมพ์ระดับ “ซึม” ไปได้เลยก็มี ดังนั้นคุณสมบัติด้านการติดตั้งจะสะท้อนถึงกลุ่มเป้าหมายและเทคโนโลยีของ ลีนุกซ์ดิสโทรนั้นอย่างเห็นได้ชัด
  2. ความง่ายในการใช้งาน (Ease of using) บางดิสโทรออกแบบมาให้ใช้งานแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative) คือ เมื่อ 10 ปีก่อนเคยเป็นอย่างไรวันนี้ก็ยังคงใช้งานอย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง อาจทำให้ใช้ยากในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่บางดิสโทรก็ใช้ง่ายมาก คลิ๊กหนึ่งได้เมล์เซิร์ฟเวอร์ คลิ๊กอีกทีได้ไฟร์วอลล์ ทั้งนี้ย่อมมีข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัดแตกต่างกันไป ซึ่งเราต้องพิจารณาเองว่าแค่ไหนจึงจะมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับงานของเรา
  3. ซอฟต์แวร์ที่จัดมาให้ (Bundle Software) และวิธีการสนับสนุนซอฟต์แวร์ (Supported Software) ถือว่าเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญเพราะว่า หากมีเพียงระบบปฏิบัติการคงทำงานอะไรไม่ได้จำเป็นจะต้องมีโปรแกรมใช้งาน ต่างๆ ยูทิลิตี้ช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างการใช้งานด้วย บางลีนุกซ์ดิสโทรมาพร้อมกับซอฟต์แวร์สารพัดชนิดอัดแน่นอยู่ในแผ่นดีวีดี รวมแล้วมากกว่า 3500 โปรแกรมก็มี แต่บางดิสโทรอาจมีเพียงตัวระบบปฏิบัติการล้วนๆ ส่วนโปรแกรมใช้งานต้องไปหาเอาเองหรือมีข้อจำกัดในการติดตั้งซอฟต์แวร์ เพิ่มเติมในภายหลัง อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือ การจัดการแพคเกจซอฟต์แวร์ (Software Package) ซึ่งแต่ละดิสโทรมีระบบที่แตกต่างกัน เช่น RPM ,Emerge ,Chkinstall, Deb เป็นต้น ซึ่งมีผลต่อการหาโปรแกรมต่างๆ มาใช้งานของเราในอนาคต
  4. การสนับสนุนทางเทคนิคระหว่างการใช้งาน ( Technical Support ) การให้บริการแก่ผู้ใช้งานเป็นอีกภารกิจหนึ่งของลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นที่มี ความสำคัญมาก เพราะจะสะท้อนให้เห็นคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตัวนั้นโดยตรง การสนับสนุนนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การสนับสนุนเชิงพาณิชย์ (Commercial Support ) หมายถึง ผู้ใช้บริการจะต้องซื้อบริการในลักษณะการลงทะเบียนผลิตภัณฑ์หรือเซ็นสัญญา รายปีกับลีนุกซ์ดิสโทรนั้นๆ จึงจะได้รับการบริการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อีกประเภทหนึ่งคือ การสนับสนุนโดยชุมชนเอง (Community Support) หมายถึง กลุ่มผู้ใช้งานลีนุกซ์ดิสโทรนั้นต้องรวมตัวกันเอง ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันเองในยามที่มีปัญหาการใช้งาน ซึ่งย่อมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เกิดขึ้น แต่คุณภาพของบริการก็ไม่สามารถรับประกันได้เช่นกัน
  5. การดำเนินงานเชิงธุรกิจ (Business) ความหมายของ Business นี้ ไม่ได้หมายถึง ตัวเงินเพียงอย่างเดียวนะครับ แต่หมายถึง กลไกการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ของลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นเอง คงเป็นไปได้ยากที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดและบรรลุเป้าหมายได้ หากขาดการสนับสนุนหรือผลตอบแทนที่จะนำมาหล่อเลี้ยงให้องค์กรดำรงอยู่และขับ เคลื่อนต่อไปได้ ดังนั้นหากลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นใดก็ตามที่ไม่มี Business หรือไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้ก็จะเสื่อมถอยและล้มหายไปในที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ RedHat Linux ที่นำกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์ มีสินค้าและบริการอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในบรรดาลีนุกซ์ดิสโทรทั้งหมด ตัวอย่างที่ไม่ดีมีเยอะกว่ามากครับ ตั้งแต่ Mandrake Linux ที่ต้องขอ Donate เพื่อรักษาบริษัทไว้ Yoper Linux ผู้เปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ที่มาแรงและไปไวมาก คุณคงไม่อยากเปลี่ยนดิสโทรบ่อยๆ ใช้มั๊ยครับ
บุคลิกภาพเฉพาะของลีนุกซ์ดิสโทร คุณลักษณะทั้ง 5 ด้านของลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นนี้ น่าจะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกลีนุกซ์ที่เหมาะกับตัวของคุณและงานของ คุณได้ อย่างไรก็ตามยังมีแง่มุมบางอย่างที่ควรนำมาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมอีก ด้วย สิ่งนั้นก็คือ บุคลิกภาพเฉพาะของลีนุกซ์ดิสโทร ตามที่เราพอจะเห็นภาพแล้วว่า แต่ละลีนุกซ์ดิสโทรก็คือ กลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันสร้างระบบปฏิบัติการสำเร็จรูปของตนเองขึ้น (โดยเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เคอร์เนลลีนุกซ์) ดังนั้นแต่ละดิสโทรย่อมมีความแตกต่างกัน มีเอกลักษณ์ของตัวผลิตภัณฑ์ แนวทางในการพัฒนาและเผยแพร่ที่แตกต่างกันออกไปตามเจตนารมณ์และศักยภาพของ แต่ละกลุ่ม เมื่อเวลาผ่านไปภาพเหล่านี้ก็ชัดเจนขึ้นจนกลายเป็น “บุกคลิกภาพเฉพาะ” ของแต่ละลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นในที่สุด จากการที่ได้รวบรวมข้อมูลตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทำให้พอสรุปบุคลิกภาพเฉพาะของบรรดาลีนุกซ์ดิสโทรที่เป็นที่นิยมอันดับต้นๆ ได้ค่อนข้างชัดเจน ดังนี้ Slackware Linux อนุรักษ์นิยมที่สุด Slackware Linux เป็นลีนุกซ์ดิสโทรที่เก่าแก่มากที่สุด แต่ก็ยังสามารถครองความนิยมไว้ได้ในอันดับต้นๆ อย่างเหนียวแน่น บุคลิกภาพสำคัญของ Slackware คือ “Conservative” หรืออนุรักษ์นิยมค่อนข้างมากถึงมากที่สุด สังเกตจากเว็บไซต์สีขาวดำเรียบๆ ไม่เน้นสีสรร มีรูปแบบการติดตั้งและใช้งานแบบเท็กซ์โหมดเป็นหลัก ถึงแม้จะมีระบบจัดการซอฟต์แวร์แพคเกจเป็นของตัวเองแต่การติดตั้งซอฟต์แวร์ก็ ยังมีความใกล้เคียงกับการคอมไพล์โปรแกรมเองอย่างมาก ถ้าคุณชอบสภาพแบบเดิมๆ เหมือนย้อนไปยุคเริ่มต้นของลีนุกซ์ เน้นการใช้งานแบบตรงไปตรงมา พร้อมจะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ด้วยความท้าทาย และลงมือจัดการทุกๆ ปัญหาได้ด้วยตนเองแล้วล่ะก็ ลีนุกซ์ดิสโทรเก๋าๆ อย่าง Slackware นี่แหละคือเพื่อนตายของคุณ Mandrake Linux ติดขอบเทคโนโลยี Mandrake Linux ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อ Mandriva Linux เป็นลีนุกซ์ดิสโทรที่มีบุคลิกที่สุดสำอาง เริ่มพัฒนามาพร้อมๆ กับ Red Hat Linux แต่มีแนวทางเป็นของตนเอง และไม่คิดตามหลังใคร มิหนำซ้ำยังหาญกล้านำเทคโนโลยีใหม่ๆ มารวมไว้ก่อนดิสโทรอื่นเสมอๆ จนทำให้มีหมายเลขเวอร์ชั่นหนีห่างจาก Red Hat ชนิดไม่เห็นฝุ่น ความที่เน้น Cutting-Edge Technology เช่นนี้มากจนเกินไป จนลืมให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจการจึงทำให้ขาดทุนและเกือบต้องเลิกกิจการ ไป หลังจากได้รับการบริจาคเงินช่วยเหลือและต่อมารวมกิจการกับ Connectiva Linux จนเป็น Mandriva Linux แล้ว ลีนุกซ์ดิสโทรนี้ก็ยังคงมีลักษณะที่เน้นการนำเสนอเทคโนโลยีล้ำหน้าคู่แข่ง เสมอมา ถ้าคุณชอบความล้ำสมัย มีสีสรร และรูปลักษณ์สวยหมดจด Mandriva Linux นี่แหละ..ใช่เลย Red Hat / Fedora Core Linux ยึดเดินทางสายกลาง Red Hat เป็นลีนุกซ์ดิสโทรที่มีความมั่นคงในการดำเนินงานมากที่สุด ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อย ตรงกันข้ามกลับครองความยิ่งใหญ่ในธุรกิจโอเพ่นซอร์ส จนมีการเปรียบเทียบว่า ถ้าไอบีเอ็มเป็นยักษ์สีฟ้าในวงการคอมพิวเตอร์ Red Hat ก็เป็นยักษ์สีแดงของวงการโอเพ่นซอร์ส เหตุที่ Red Hat มีสถานภาพเช่นนี้ได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ครบถ้วนทั้ง 5 ด้าน ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ผมเชื่อว่าเกิดจากบุคลิกภาพเฉพาะที่เด่นชัดของ Red Hat Linux คือ การเดินทางสายกลาง กล่าวคือ เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นRed Hat Linux จะไม่จับมาใส่ในผลิตภัณฑ์ของตนเองและรีลีสเวอร์ชั่นใหม่เร็วจนเกินไป แต่จะทิ้งระยะห่างพอสมควรจนกระทั่งแน่ใจจึงจะโปรโมตเทคโนโลยีนั้นอย่างเต็ม ตัว Red Hat Linux มีความเป็นธุรกิจการค้าอย่างสมบูรณ์แบบตั้งแต่การเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ NYSE ด้วยชื่อ Symbol ใหม่ คือ RHT ล่าสุดยังติดอันดับ Nasdaq-100 อีกต่างหาก ถ้าสำรวจดูสินค้าและบริการรวมทั้งการจัดฝึกอบรมและประกาศนียบัตรรับรองความ สามารถด้านลีนุกซ์ RHCE ที่มีศูนย์อยู่ทั่วโลก คงรับประกันความมั่งคั่งและมั่นคงของลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นนี้ได้เป็นอย่างดี Red Hat Linux ในปัจจุบันได้แบ่งสายการพัฒนาออกเป็น 2 ส่วน คือ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ซึ่งเป็นสินค้า (Products) กับ Fedora Core Linux ซึ่งเป็นโครงงานพัฒนาที่ Red Hat ให้การสนับสนุน (Projects) โดย RHEL จะรีลีสรุ่นใหม่ทุกๆ ระยะเวลาประมาณ 2 ปี ส่วน Fedora Core จะมีลักษณะคล้ายงานวิจัยพัฒนาที่ชุมชนโอเพ่นซอร์สจะใช้ประโยชน์ร่วมกัน (ใช้ฟรี) จึงมีความทันสมัยกว่าและออกรุ่นใหม่ทุกๆ 6 เดือน เทคโนโลยีที่เป็นที่ยอมรับแล้วใน Fedora Core จะถูกนำไปปรับปรุงและปรากฏใน RHEL รุ่นถัดไปในที่สุด ความแตกต่างระหว่าง RHEL กับ Fedora Core Linux ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ RHEL เป็นสินค้าที่ต้องซื้อพร้อมสิทธิ์ในการใช้งานและขอรับการสนับสนุนหลังการขาย ส่วน Fedora Core สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ในเรื่องของประสิทธิภาพ RHEL จะมีการปรับแต่ง (Optimization) ให้ทำงานในฐานะเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะในขณะที่ Fedora Core มีคุณสมบัติที่หลากหลายสำหรับงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานด้านเซิร์ฟเวอร์ เดสทอป หรือด้านมัลติมีเดีย สุดท้ายในเรื่องของการรับประกันคุณภาพ RHEL จะผ่านกระบวนการทดสอบและรับรองความสามารถ (Test and Certified) จากผลิตภัณฑ์ชั้นนำของพาร์ทเนอร์ของ Red Hat เช่น IBM ,Oracle ,Sun ,HP ว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ Fedora Core ไม่มีการรับรองดังกล่าว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ Red Hat Linux จะเป็นลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นที่เป็นที่นิยมจากผู้ใช้งานทั่วโลก และถูกนำไปพัฒนาเป็นลีนุกซ์ดิสโทรอื่นๆ อีกหลายดิสโทร เช่น Linux TLE ,Turbo Linux ,OpenNA Linux เป็นต้น จนรูปแบบการติดตั้งและใช้งาน Red Hat Linux ได้กลายเป็นที่คุ้นเคยโดยเฉพาะในเมืองไทย ถ้าคุณต้องการใช้งานลีนุกซ์ที่มีเพื่อนร่วมวงการจำนวนมากและมีผู้พัฒนาเป็น องค์กรที่มั่นคง Red Hat Linux คือทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ณ เวลานี้ Debian Linux ความเสถียรที่ท้าให้พิสูจน์ Debian Linux เป็นองค์กรที่มุ่งพัฒนาลีนุกซ์และดำรงรักษาความเป็น Free Software ไว้อย่างเหนียวแน่นที่สุด คุณจะไม่มีทางเห็นการจำหน่าย Debian Linux ในเชิงการค้าจากองค์กรนี้อย่างเด็ดขาด ดังปรากฏใน Social Contract ในเว็บไซต์ของ Debian (http://www.debian.org) โดยที่มาของชื่อของลีนุกซ์ดิสโทรนี้มาจากผู้ก่อตั้งคือ Deb และ Ian Murdock เช่นเดียวกับ Red Hat , Debian เป็นดิสโทรที่พัฒนาหลายสิ่งหลายอย่างให้เกิดขึ้นในวงการลีนุกซ์เป็นอย่างมาก เช่น มีระบบจัดการซอฟต์แวร์แพคเกจ ระบบการติดตั้ง และยูทิลิตี้สำคัญๆ เป็นเทคโนโลยีของตนเอง จนกลายเป็นรูปแบบการใช้งานที่เป็นอีกหนึ่งบรรทัดฐานของการใช้งานลีนุกซ์เช่น เดียวกับกลุ่ม Red Hat ได้สร้างไว้ ภาพดังกล่าวนี้ชัดเจนมากขึ้นเมื่อข้อสอบ Linux Certified ของ LPI ได้แบ่งข้อสอบออกเป็น 2 ชุด คือ ข้อสอบสำหรับผู้ชำนาญ Red Hat กับข้อสอบสำหรับผู้ชำนาญ Debian ให้เลือกกันอย่างเด็ดขาดไปเลย บุคลิกภาพเฉพาะของ Debian Linux อยู่ที่ความเสถียร (Stable) ของซอฟต์แวร์ทั้งหลายที่เป็นผลงานขององค์กรนี้ ทั้งตัวระบบปฏิบัติการเองและซอฟต์แวร์แพคเกจที่มีมากกว่า 15490 รายการ ความพิถีพิถันในการพัฒนาแก้ไขปรับปรุงซอฟต์แวร์ทุกตัวให้มีความเชื่อถือได้ มากที่สุดนี้เอง ทำให้ Debian มีรีลีสที่ Stable จริงๆ ออกมาช้ากว่าดิสโทรอื่นๆ มาก ซึ่งรุ่นล่าสุดขณะเขียนบทความนี้ คือ 3.1 เท่านั้น ในขณะที่ลีนุกซ์ดิสโทรอื่นๆ ทิ้งห่างไปถึงเวอร์ชั่น 10 กว่ากันแล้ว ไม่เพียงเท่านั้นหาก Debian ไม่ฟรีจริง ไม่ดีจริง คงไม่ถูกนำไปเป็นฐานในการพัฒนาลีนุกซ์ดิสโทรอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ Ubuntu ,MEPIS ,KNOPPIX ซึ่งล้วนเป็นลีนุกซ์ดิสโทรแนวหน้าทั้งสิ้น Debian Linux จึงมีลักษณะเป็นดิสโทรพื้นฐานที่พร้อมนำไปประยุกต์ใช้งานได้อเนกประสงค์ มีรูปแบบการใช้งานแบบค่อนข้างอนุรักษ์นิยม เช่นเดียวกับ Slackware เปิดโอกาสให้คุณได้ล้วงลึกลงไปได้ทุกซอกทุกมุม ถ้าคุณชอบสวมบท “ผู้สร้าง” มากกว่าที่จะเป็นแค่ “ผู้ชม” ขอให้ดาวน์โหลด Debian Linux มาติดตั้งได้เลยครับ ต้องการเนื้อที่แค่ซีดีรอมแผ่นเดียวเท่านั้น SuSE Linux หรูหรามีระดับ SuSE เป็นลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นที่มีต้นกำเนิดจากประเทศเยอรมัน ดินแดนที่มีความตื่นตัวเรื่องซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมากที่สุดในโลก การเดินทางของ SuSE นั้นยาวไกลพอๆ กับลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นที่ได้แนะนำไปแล้วทุกตัว และได้สร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ต้องได้รับการคาราวะจากชาวลีนุกซ์มากมายหลาย ชิ้นงาน สมกับเป็นลีนุกซ์ที่มาจากศูนย์กลางเทคโนโลยีแทบทุกแขนง ได้แก่ สุดยอดระบบ Audio สำหรับลีนุกซ์ที่ชื่อว่า ALSA Project ที่ทำให้ค้นพบข้อยุติในปัญหาการใช้ระบบเสียงในลีนุกซ์ไปตลอดกาล แนวความคิดการใช้งาน ติดตั้งและคอนฟิกระบบทั้งหมดได้ด้วยเครื่องมือหลักเพียงตัวเดียวที่ชื่อว่า YaST (Yet Another Setup Tools) ความประณีตสวยงามที่แสดงผลบนขั้นตอนติดตั้งและเดสทอปของ SuSE Linux อาจจะทำให้หลงเสน่ห์ระบบปฏิบัติการสัญชาติเยอรมันนี้ได้ทันทีที่ได้สัมผัส และด้วยคุณภาพที่เชื่อถือได้ประกอบกับเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยม ในแถบยุโรป จึงทำให้ SuSE Linux ได้รับการประกาศให้เป็นระบบปฏิบัติการในหน่วยงานภาครัฐของกลุ่มประเทศยุโรป หลังจากนั้นไม่นานนัก Novell Inc. ได้เข้าซื้อกิจการของ SuSE จึงทำให้ปัจจุบัน SuSE Linux ได้กลายเป็นลีนุกซ์ดิสโทรที่เป็นมีอนาคตที่สวยงามพอๆ กับเดสทอปของตนเอง โดยมี OpenSUSE 10.2 เป็นโปรเจคสำหรับผู้ใช้ทั่วไป (Community Release) ได้ร่วมพัฒนาไปพร้อมกับ Novell ถ้าความสวยงาม ใช้งานง่าย และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นสิ่งที่คุณต้องการแล้วล่ะก็ OpenSUSE เป็นลีนุกซ์ดิสโทรที่ตอบสนองได้ครบถ้วนที่สุด นอกจากนี้ SuSE ยังมีชื่อเสียงมากในเรื่องการสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้อย่างยอดเยี่ยม และผลงานที่โดดเด่นน่าจับตามากที่สุดในเวลานี้คงหนีไม่พ้น AppArmor ระบบรักษาความปลอดภัยแบบ Name-based Security ที่จะมาเป็นคู่แข่งของ SELinux พูดถึง SuSE Linux ทีไรก็ทำให้นึกถึงรถยนต์หรูค่ายเยอรมันทุกที แนวทางการเลือกลีนุกซ์ดิสโทร คงจะพอเห็นภาพกันบ้างแล้วนะครับว่า ลีนุกซ์แต่ละดิสทริบิวชั่นนั้น ต่างก็มีบุคลิกภาพเฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป เมื่อต้องเลือกใช้งานก็ต้องพิจารณาในหลายๆ ด้านไม่ต่างอะไรกับการเลือกบ้าน เลือกรถยนต์ หรือสินค้าต่างๆ สำหรับแนวทางที่จะเลือกใช้งานลีนุกซ์นั้น อาจแบ่งได้ 3 แนวทางใหญ่ๆ ครับ
  1. ยึดตัวเราเองเป็นหลัก หลักการนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ลองทำความคุ้นเคยกับลีนุกซ์มาบ้างแล้ว โดยถือคติที่ว่า ตนเป็นที่พึงแห่งตน ถ้าเราถนัดที่จะใช้ลีนุกซ์ดิสโทรไหนก็จงฝึกฝนวิทยายุทธ์ ให้เชี่ยวชาญ ถึงใครจะว่าอย่างไรก็อย่าไปสนใจ การเปลี่ยนดิสโทรบ่อยๆ จะทำให้เราเสียเวลาไม่ใช่น้อยที่จะศึกษาลองผิดลองถูก เชื่อมั่นเถอะครับว่า ไม่ว่าจะเป็นงานด้านใดก็ตามทุกลีนุกซ์ดิสโทรทำงานได้ดีพอๆ กันทั้งหมด จะร้ายหรือดีก็อยู่ที่ตัวเราเองจะกุมบังเหียนมันได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญอยู่ที่ชั่วโมงบินของเราเองเท่านั้น
  2. เลือกดิสโทรที่สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน องค์กรที่เราทำงานอยู่กำหนดนโยบายอย่างไร ผู้ดูแลระบบก็ต้องปฏิบัติตามนั้น ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้ดูแลระบบหลายๆ ท่านทำให้ทราบนโยบายที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ไม่มีนโยบายอะไรแอดมินจะทำอย่างไรใช้อะไรก็ได้ขอให้งานสำเร็จไม่มี ปัญหาก็พอแล้ว บางหน่วยงานเข็ดขยาดกับการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ของลีนุกซ์บางดิสโทรหันไปเลือกดิสโทรที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยมก็มี บางบริษัทถูกกำหนดโดยแอปพลิเคชั่นจากบริษัทแม่จากเมืองนอกมาแล้วว่าต้องใช้ ดิสโทรนี้เท่านั้น แต่ที่แน่ๆ ก็คือส่วนใหญ่จะเน้นว่าฟรีและฝ่ายเทคนิคในหน่วยงานสามารถดูแลได้เอง
  3. เลือกจากกลุ่มดิสโทรที่ใกล้เคียงกัน หลักการนี้ผู้เริ่มต้นใหม่ควรพิจารณาให้ดี เพราะถ้าสังเกตดูจากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าลีนุกซ์ดิสโทรแต่ละรายจะมี “สไตล์” หรือ “บุคลิกภาพเฉพาะ” ต่างกันไป 3-4 กลุ่ม กลุ่มแรกจะเป็นตระกูล Red Hat based ได้แก่ RHEL, Fedora Core, Mandriva และ OpenSUSE ถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีโครงสร้างและวิธีการใช้งานใกล้เคียงกัน กลุ่มที่สองเป็นตระกูล Debian based ได้แก่ Debian ,Ubuntu, Knoppix เป็นกลุ่มที่นิยมเพิ่มมากขึ้นในเมืองไทย และกลุ่มสุดท้ายเป็นพวกที่มีผู้ใช้งานน้อยกว่า 2 กลุ่มแรก ได้แก่ Slackware, Gentoo, Yoper เป็นกลุ่มที่มีวิธีใช้งานแปลกแตกต่างออกไปมากแต่ก็เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ ศึกษาในเบื้องลึกหรือใช้งานเฉพาะด้าน
เลือกลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นให้เหมาะกับตัวคุณ เมื่อได้แนวทางอย่างคร่าวๆ แล้ว ก่อนจะฟันธงลงไปว่าจะเลือกลีนุกซ์ดิสโทรใดเป็นกระบี่คู่ใจ ก็ขอให้ย้อนกลับไปเช็คกับ “คุณลักษณะที่ดีของลีนุกซ์ดิสโทร” ที่ได้แนะนำไปแล้ว เริ่มตั้งแต่
  1. คุณสมบัติด้านการติดตั้ง มีการติดตั้งที่สะดวกสามารถปรับแต่งได้ง่ายไม่มีปัญหากับฮาร์ดแวร์ของเราและ ใช้เวลาติดตั้งอย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น Red Hat มีโปรแกรมติดตั้งแบบกราฟฟิก ส่วน Debian ใช้เวลาติดตั้งน้อยกว่ามากแต่มีหน้าจอแบบตัวอักษร (Text Mode) ที่ใช้ยากกว่า
  2. ความง่ายในการคอนฟิก อาจจะลองอ่านเอกสารคู่มือของแต่ละดิสโทรว่าค่ายไหนที่เราอ่านแล้วเข้าใจ สามารถคอนฟิกใช้งานได้ง่ายตรงตามสไตล์ของเรา เช่น Red Hat มีคู่มือในรูปแบบไฟล์ PDF ให้ดาวน์โหลดอ่านได้ฟรี ในขณะที่ SuSE มีโปรแกรม YaST ที่ช่วยในการเซ็ตค่าต่างๆ
  3. จำนวนซอฟต์แวร์ที่สนับสนุน สำรวจดูให้แน่ใจจากเว็บไซต์ของแต่ละดิสโทรว่ามีซอฟต์แวร์มากพอที่จะติดตั้ง ใช้งานภายหลังได้อย่างไม่ติดขัด เช่น Fedora Core มีโปรเจค Fedora Extras รองรับโปรแกรมแอปพลิเคชั่นที่เพิ่มเติมขึ้น ส่วน Debian มีกลไกการโหลดโปรแกรมผ่านอินเตอร์เน็ตมาติดตั้งเป็นธรรมชาติของมันเลยที เดียว
  4. การสนับสนุนทางเทคนิค การมีที่ปรึกษาเป็นเรื่องสำคัญมาก หลายๆ ดิสโทรไม่ประสบความสำเร็จเพราะหาเพื่อนร่วมทางไม่ได้นั่นเอง สำหรับในเมืองไทยถ้าโพสต์ถามเกี่ยวกับ Red Hat น่าจะได้คนมาช่วยเหลือเยอะกว่าถามเรื่อง Debian หรือ Slackware
  5. การทำธุรกิจของลีนุกซ์ดิสโทร การที่เราเลือกใช้งานลีนุกซ์ดิสโทรที่มีบริษัทใหญ่หนุนหลังย่อมอุ่นใจกว่า ดิสโทรที่เป็นองค์กรอิสระ แต่บางท่านอาจจะมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป แต่ผมเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า ชุมชนโอเพ่นซอร์สมีวิธีที่จะคัดค้านการแปลงสภาพจาก Free Software ไปเป็น Commercial Software ดังเห็นได้จากกรณีของ Fedora Core และ OpenSUSE เป็นข้อยืนยันได้ดี
ทุกวันนี้ลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นหน้าใหม่ยังคงแจ้งเกิดเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง มีรูปแบบและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป รอให้เราได้ค้นหาและทดลองใช้อย่างไม่มีสิ้นสุด แต่ลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นใดจะเป็นดิสโทรที่ดีที่สุด คงไม่มีใครให้คำตอบได้ดีเท่ากับตัวคุณเอง แหล่งที่มา http://www.itdestination.com/articles/linux-distro/    

Monday, October 14, 2013

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้… อาการที่มีโอกาสหาย ง่ายพอๆกับงมหาขนตูดทารก1วันในน้ำตกไนแองการ่า


อันที่จริง… ก็ไม่ได้บอกว่าคนเป็นภูมิแพ้จะไม่มีโอกาสหาย
แม้รู้ทั้งรู้จากที่เปรียบเทียบว่า…
…ทารกไม่มีขนตูด
…น้ำตกไนแองการ่าโคตรเชี่ยว แถมลึกอีก

พูดถึงภูมิแพ้เนี่ย ปัจจุบันจัดเป็นอาการป่วยพื้นฐานที่แทบจะพบได้ทั่วๆไปในกลุ่มประชากรเลยล่ะ
สาเหตุ ก็เพราะว่ามันติดต่อทางพันธุกรรมได้ แถมยังพบว่ามันเปลี่ยนรูปแบบการแพ้เองได้อีก เช่นพ่อแพ้อาหาร แม่สุขภาพดี ลูกออกมากลับแพ้อากาศ ก็เป็นได้

ปัจจัยที่ทำให้คนแพ้ไม่ได้มีแค่พันธุกรรม บางครั้งก็เกิดจากการรับสารใดสารนึงเฉียบพลันเป็นปริมาณมากแล้วร่างกายเกิดอาการตกใจ
บางครั้งก็เกิดจากการที่รับสารที่มีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายสารที่เคยแพ้ ก็เลยแพ้ไปด้วย
บางคนก็เพิ่งมาแพ้สารบางอย่างเมื่ออายุมากขึ้นหรือภูมิอากาศ ภูมิประเทศเปลี่ยนไป เป็นต้น

ปัจจัยมันเยอะแยะซึ่งจริงๆมันก็มาจากเหตุผลเดียวน่ะล่ะคือร่างกายเราเอง
ให้อธิบายเป็นทฤษฎีคงจะงงกัน จะพูดให้เข้าใจกันง่ายๆ อาจดูตลกหรือผิดแปลกจากทฤษฎีไปบ้างแต่มันก็ดีกว่าไม่เข้าใจ

ภูมิแพ้ไม่ใช่อาการของคนอ่อนแอนะ ไม่ใช่ว่าไอ้บ้านี่เป็นภูมิแพ้แล้วมันต้องเป็นพวกขี้โรค อ่อนแอ
แต่เวลาเราอ่อนแอ อาการพวกนี้จะยิ่งแสดงออกมาได้ง่าย เพราะร่างกายเราจะอยู่ในสภาวะหวาดกลัว เม็ดเลือดขาวจะวิ่งกันวุ่น

ภูมิแพ้เป็นอาการที่เกิดจากสภาวะการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ที่เกิดขึ้นจากอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ เช่นเม็ดเลือดขาว หรือต่อม หรือผิวเนื้อเยื่อต่างๆ
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามา อวัยวะเหล่านี้หากไม่รู้จักมันก็จะทำตัวต่อต้านขึ้นมาก่อนเลย โดยการส่งเอนไซม์หรือไปสั่งสมองให้ปล่อยเอนไซม์กระตุ้นการต่อต้านออกมา

การต่อต้านที่ร่างกายเราทำได้น่ะเหรอ โอ้ยมากมาย แถมมันไม่สนใจด้วยว่าเจ้าของร่างกายจะเป็นยังไง
เช่นถ้ามันไประคายเคืองเยื่อหลอดลมหรือปอด มันก็จะสั่งเราจาม ไอ หรือสร้างเสมหะมาไล่มันออก หนักๆเข้ามันก็ปิดหลอดลมแม่งซะเลย
หรือ ถ้ามันเข้าไปในท้องเรา มันก็จะหดเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อพยายามขับมันออก ท้องเราก็จะเสียมั่ง อืดมั่ง อ้วกมั่ง บางทีก็เกร็งเลยไปถึงหลอดลมอีก ซวยมั้ยล่ะ อ้วกแล้วยังเสือกหายใจไม่ออกอีก
หรือไปสัมผัสถูกมันเข้า ร่างกายก็จะส่งเม็ดเลือดขาวไปกินมัน แล้วสร้างถุงน้ำหุ้มมันไว้ เกิดเป็นผื่น ตุ่มน้ำ น้ำเหลือง ฯลฯ
บางคนเจอพิษงูเข้าร่างกาย แพ้พิษสิครับ มันก็ใช้โซเดียมสร้างถุงน้ำรอบตัวเลย ออกมาเป็นตัวบวม หน้าบวม คอบวม
งั้นผมคงแพ้อาหารสินะ กินมานาน ท้องบวมเลยว่ะ


ถ้าไม่อยากเป็นภูมิแพ้เหรอ วิธีการป้องกันมันก็ง่ายๆ เคยแพ้อะไรก็เลี้ยงอันนั้น แพ้ฝุ่นก็ดูดฝุ่นให้หมดซักผ้าสะอาดๆ ไม่นอนซุกขนตุ๊กตาป็นต้น
แต่ถ้าคิดจะหาวิธีการรักษาเนี่ย ก็มีคนโอ้อวดถึงการรักษาภูมิแพ้ด้วยวิธีต่างๆนานา มากมายก่ายกอง
บางคนว่าวิตามินและเกลือแร่หลายๆชนิด ตามผักผลไม้หรืออาหารเสริมต่างๆ ช่วยได้
ถามว่าจริงไหม? มันก็จริงครับพูดง่ายๆว่าถ้าระบบในร่างกายเราสมดุลมากขึ้น เราก็อาจอ่อนไหวต่อสิ่งแปลกปลอมน้อยลง
เพราะหน้าที่หลักของวิตามินเกลือแร่ต่างๆคือช่วยสร้างสมดุลให้ร่างกายเราอยู่แล้วนั่นเอง เพราะเป็นของที่ร่างกายต้องการ

บางคนว่าผักผลไม้หรือสมุนไพรบางอย่างช่วยลดอาการภูมิแพ้ได้
อันนี้ก็ ใช่อีกเช่นกัน เพราะนอกจากวิตามินดังกล่าวแล้ว ยังมีสารธรรมชาติบางตัวที่เป็น Anti-Allergy หรือสารต้านภูมิแพ้ หรือลดปฏิกิริยาของสารก่อภูมิแพ้ที่มีผลต่อร่างกายไปได้มากมาย

โดยมากแล้ว เรามักจะกล่าวกันว่า วิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ(วิตามินซีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้) ช่วยลดอาการภูมิแพ้ได้
ก็กลับไปอ่าน 2 เหตุผลเมื่อกี้ซะ ก็จะเข้าใจว่าทำไม

ฉะนั้นบอกเลยว่า ที่เขาบอกสรรพคุณกันน่ะ มันถูกแล้วล่ะ แต่ถ้าเราหาข้อมูลอีกนิดเราก็จะสามารถเลือกทานหรือซื้อผลิตภัณฑ์ที่มี ประสิทธิภาพสูงสุดต่อตัวเรามากขึ้นแน่นอน (เพราะทุกวันนี้ผมก็รับประทานพวกวิตามินรวมเสริมเหมือนกันช่วงสอบ)

วิธีการรักษาหรือแก้อาการแพ้
ถ้าเราไปหาหมอเมื่อเป็นภูมิแพ้ หมอก็จะมีการจ่ายยากดอาการแพ้ให้เรามากมายหลายชนิด ซึ่งหากเราทราบแล้วว่าเราแพ้อะไรก็ควรจะมีไว้เป็นยาสามัญประจำบ้านกันบ้าง

ยารักษาอาการภูมิแพ้เราแบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ
ยุคแรก ต้องไปMetabolise(แปลงสภาพ) ซะก่อน(ส่วนใหญ่จะเป็นในตับ) ขั้นตอนการMetaboliseนานและอาจได้สารที่เป็นประโยชน์น้อย ผลข้างเคียงอาจสูงและมีฤทธิ์ตกค้าง
ยุคสอง ก็อาจยังต้องพึ่งพาการMetabolise ก่อน แต่ปฏิกิริยาเร็วดูดซึมง่ายและได้สารที่เป็นประโยชน์สูง
ยุคสาม การดูดซึมเร็ว ออกฤทธิ์ได้เร็ว ผลข้างเคียงน้อยลง 


ก่อนจะกล่าวถึงยาอื่นๆ แน่นอนว่าตัวนี้ทุกคนต้องรู้จักกันดี "คลอเฟนิรามีน Chlorpheniramine Maleate"
นี่เป็นยายุคโบราณสุดแล้วที่เราเรียกกันติดปากว่า ยาแก้แพ้ เมื่อเห็นเม็ดเหลืองๆของมัน
เป็น ยาที่จัดว่าดี แต่ด้วยความที่ halflifeมันยาวแสนยาว แถมแม่งยังออกฤทธิ์ได้ไม่นานอีก(ยาที่ค้างอยู่ไม่ได้บอกว่ารักษาได้นานเพราะ สิ่งที่รักษามันคือตัวของมันที่metaboliseแล้ว) แถมยังกำจัดยาก ก่อนใช้ก็ต้องMetaboliseก่อน และยังมีผลข้างเคียงมากมายโดยเฉพาะง่วง ทั้งยังเป็นยาที่ไปรบกวนการออกฤทธิ์ทางอื่นด้วยเช่น คลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น จึงจัดว่าเป็นยาอันตรายเลยทีเดียว


ยาอย่าง Cetirizine (HCl) หรือในไทยขายกันก็ ZyrTec เป็นยายุคสองที่นิยมใช้กันมาก ราคาปานกลางประสิทธิภาพดีผลข้างเคียงน้อย
ยา อย่าง Fexofenadine (HCl) ในไทยขายกันก็ Telfast(หมอผมจ่ายตัวนี้) หรือยา Localก็ Bosnum เป็นยาก้ำกึ่งระหว่างยุคสองและยุคสาม เป็นยายุคสามที่ถูกนำมาใช้แทนยุคสองชื่อTerfenadine โดยFexoเป็นตัวที่Metaboliseแล้ว เพราะว่าTerfenadine ตัวมันเองมีฤทธิ์ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ แต่ตัวMetaboliseมันต่างหากที่เป็นตัวรักษา จึงพัฒนาFexoมาแทนซะ
ที่ว่า มันก้ำกึ่งก็เพราะจากที่ศึกษามาเข้าให้เป็นยายุค3 แต่ไอ้ฉลากยาไทยเสือกเขียนว่า second น่ะสิ ทั้งที่ถ้าดูจากการที่ตัวยาเป็นmetabolised จากยายุค2แล้วแท้ๆ แต่ก็อย่างว่า ผมไม่ใช่เภสัชว่ะ ไม่ได้เรียนมา ใครรู้มาอ่านก็ช่วยโพสท์แก้ไว้ทีนะ

นอกจากนั้นแล้วก็ยังมียาชนิดอื่นๆมากมายที่มีฤทธิ์เดียวกันคือไปบล๊อกH1-Receptorนั่นล่ะ ที่เราต้องเคยใช้กันก็เช่น Loratadineเป็นต้น
ซึ่งก็มียาที่เปลี่ยนแปลงโมเลกุลใหม่นำไปย่อยเพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้น การดูดซึมดีขึ้น ผลข้างเคียงน้อยลงออกมาอีกเช่นกัน เช่น
Cetirizine เป็น Levocetirizine
Terfenadineเป็น Fexofenadine
Loratadine เป็น Desloratadne

ซึ่งพวกที่พัฒนามานี่ก็เรียกกันว่า ยายุค3นั่นเอง
ผมไม่แน่ใจนักว่าทำไมหมอไทยนิยมจ่าย Fexo มากกว่าCetrizine(สังเกตจากหมอที่ผมไปหาเวลาป่วยนี่ล่ะ) จากการสังเกตก็อาจเป็นว่า halflifeของfexoที่ยาวกว่าจึงเหมาะกับการรักษาโรคภูมิแพ้อย่างแพ้อากาศที่ ต้องการให้ยาออกฤทธิ์นานครอบคลุมทั้งวัน แต่ตอนผมเด็กๆหมอจ่าย Cetrizine นะ อาจจะเพราะด้วยผลข้างเคียงที่น้อยกว่าล่ะ แต่ในทางปฏิบัติก็อย่างที่ว่ากันว่า ร่างกายปกติสมบูรณ์ไม่แพ้ยา อาการข้างเคียงก็มักไม่เกิด(ยกเว้นถ้าตั้งครรภ์) แล้วการออกฤทธิ์ก็ยังเหมือนๆกัน ประสิทธิภาพพอๆกันด้วย ฉะนั้น หมอเคยให้อะไรมาก็กินอันนั้นซะ เพราะเขาประเมินแล้วล่ะว่าไม่มีผลข้างเคียงที่เสี่ยงต่อเรา
ปัจจุบัน มีอีกวิธีคือ การฉีดวัคซีนสิ่งที่เราแพ้เข้าไปในร่างกาย
โดย การฉีดอย่างต่อเนื่องประมาณน้อยๆ กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเอง(ให้ร่างกายจำมันได้น่ะล่ะ) เพื่อไม่ให้มันตกใจแล้วมาสร้างอาการแพ้อีก
แต่ราคายังสูง และต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อย3-5 ปี จึงจะได้ผลดี

สุดท้าย ไม่ได้บอกว่าหายนะ เพราะของมันก็มีอายุเหมือนกัน

จบบบบบบบบบบบบบบบบ


Monday, September 30, 2013

ความแตกต่างระหว่างสาย HDMI ราคาถูกกับราคาแพง

HDMI มาตรฐานสำคัญที่ต้องรู้


         โลกของเทคโนโลยีนับวันก็จะยิ่งพัฒนาไปไกลมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องของประสิทธิภาพ ขนาด รวมถึงความสะดวกสบายในการใช้งานที่ดีขึ้นเป็นลำดับ

        ในเรื่องของการเชื่อมต่อจำพวกพอร์ต คอนเน็กเตอร์หรือสายเคเบิลต่างๆ ก็ได้มีการพัฒนาไปด้วยเช่นเดียวกันเพื่อให้รองรับการส่งข้อมูลที่มีประมาณ มากขึ้นได้อย่างเต็มที่ อย่างในสมัยก่อนที่เราอาจจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านทางพอร์ต  D-Sub หรือที่เรียกกันว่า VGA จากนั้นก็มาเป็น DVI ซึ่งส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ให้คุณภาพที่สูงมากขึ้นไปอีกขั้น


   มาถึงยุคนี้คงจะหนีไม่พ้นมาตรฐานใหม่ที่เรียกกันว่า HDMI ซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากอุปกรณ์ต่างๆ ในท้องตลอดไม่ว่าจะเป็นกราฟิกการ์ดที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ หรือจะเป็นเครื่องมีเดียเพลเยอร์รุ่นทอปๆ รวมถึงจอแบบ LCD TV ทั้งหลายก็เริ่มมีการติดตั้งอินเทอร์เฟซแบบ HDMI นี้ลงไปแล้วเช่นกัน

HDMI คืออะไร       มาตรฐาน HDMI เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลที่ทาง Sony, Hitachi, Thomson (RCA), Philips, Matsu***a (Panasonic), Toshiba และ Silicon Image ได้พัฒนาขึ้น โดยชื่อ HDMI นี้เป็นตัวย่อที่ย่อมาจาก High-Definition Multimedia Interface  ซึ่ง ความหมายของมันก็ตรงประเด็นครับ   คือเป็นการเชื่อมต่อสำหรับมัลติมีเดียความละเอียดสูงนั่นเอง และด้วยความที่มันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับมัลติมีเดียนั่นเอง

       จึงทำให้มันมีจุดเด่นตรงที่มันรองรับการส่งทั้งสัญญาณภาพและเสียงไปพร้อมๆ กันบนสายเคเบิลเส้นเดียวกัน ผ่านพอร์ตๆ เดียวกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายและลดความสับสนในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ลงได้ อย่างมากทีเดียว

      ด้วยจุด ประสงค์หลักของ HDMI ที่ถูกพัฒนาขึ้นก็เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับความบันเทิงเต็ม รูปแบบกับระบบภาพและเสียงแบบ High-Definition และระบบเสียงรอบทิศทาง ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนที่ยังไม่มีการเชื่อมต่อแบบ HDMI นั้น คุณอาจจะต้องเชื่อมต่อสัญญาณวิดีโอและสัญญาณเสียง อย่างน้อยก็ 2 ช่องทางแล้ว ยิ่งถ้าคุณต่อสัญญาณวิดีโอแบบ Component และใช้ระบบเสียงแบบ 5.1 หรือ 7.1-Channel ด้วยแล้ว จะต้องเชื่อมต่อสายเป็นสิบเส้นให้วุ่นวายไปหมด HDMI จึงช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อทุกอย่างได้ภายในสายเส้นเดียว เหมาะสำหรับพวกมีเดียเพลเยอร์ เครื่องเล่นเกมคอนโซล หรืออุปกรณ์ Set top box ต่างๆ ที่ต้องต่อเข้ากับทีวีอย่างยิ่ง
 

       คุณสมบัติของ HDMI       แน่นอน ว่าการเชื่อมต่อแต่ละชนิดย่อมต้องมีขีดจำกัดที่ถูกกำหนดมาไว้ด้วยกัน ทั้งสิ้น ซึ่งนั้นก็คือคุณสมบัติของการเชื่อมต่อนั้นเอง      HDMI นี้ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับอินเทอร์เฟซอื่นๆ แต่ด้วยความที่มันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับ กับมัลติมีเดียระดับ High-Definition อยู่แล้ว มันจึงมีความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพวิดีโอและเสียงที่คุณภาพระดับ High-Definition ได้อย่างสบาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการบีบอัดข้อมูลเลยการส่งสัญญาณภาพ       สำหรับการส่งภาพวิดีโอนั้นเนื่องจากแหล่งที่มาของข้อมูลภาพนั้นมีอยู่ ด้วยกันหลายแบบ ดังนั้นมันจึงจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบของ MPEG เสียก่อน เพื่อใช้สำหรับส่งข้อมูลไปตามสาย ซึ่งการส่งข้อมูลภาพวิดีโอแบบ MPEG ผ่าน HDMI นี้จะไม่มีการบีบอัดข้อมูลเลย ทำให้การสูญเสียคุณภาพนั้นไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของ HDMI นั่นเอง รูปแบบการส่งข้อมูลนั้นจะเป็นแบบ TMDS ซึ่งเป็นรูปแบบการส่งข้อมูลแบบอนุกรมแบบเดียวกับที่ใช้บนการเชื่อมต่อแบบ DVI นั่นแหละครับ
    HDMI    ก็จะมีการส่งสัญญาณวิดีโอที่คล้ายกับการเชื่อมต่อแบบ DVI ที่เราใช้งานกันอยู่นี่แหละครับ
ขีดความสามารถในการส่งผ่านภาพวิดีโอของ HDMI นั้นจะขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของมาตรฐานด้วยเช่นกัน เนื่องจาก HDMI  เป็นมาตรฐานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีเวอร์ชันที่ต่างกันอยู่พอสมควร แต่ทั้งนี้ทุกๆ เวอร์ชันก็ยังคงใช้งานสายเคเบิล แบบเดียวกันอยู่ เพียงแต่จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้แตกต่างกันไป ตามเวอร์ชัน อย่างเช่นในเวอร์ชัน 1.0 ซึ่งเป็น เวอร์ชันแรก จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลภาพอยู่ที่ 165 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะสามารถรองรับสัญญาณภาพแบบ  High-Definition ที่ความละเอียดสูงถึง 1080p ที่ 60 เฮิรตซ์ ได้ หรือระดับ WUXGA (1920x1080)  ซึ่งนั่นคือระดับความละเอียดสูงสุด แต่ถ้าต้องการความละเอียดที่สูงมากกว่านี้ก็จะต้องใช้อุปกรณ์ที่รองรับ มาตรฐาน HDMI  ที่มีเวอร์ชันสูงขึ้นอย่างเช่น 1.3 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 340 เมกะเฮิรตซ์ และมีสามารถส่ง สัญญาณภาพที่ความละเอียดระดับ WQXGA (2560x1600) ได้ การส่งสัญญาณเสียง   

       สำหรับ การส่งสัญญาญเสียงนั้น     HDMI ก็จะมีการส่งข้อมูลไปแบบไม่มีการบีบอัดเช่นเดียวกัน โดยจะเป็นข้อมูลเสียง ระดับ 192 กิโลเฮิรตซ์ และมีการ Sample แบบ 24 บิต ซึ่งเป็นระดับเสียงเดียวกับที่ใช้ในระบบเดียว Dolby Digital หรือ DTS นั่นเอง นอกจากนี้ HDMI ยังรองรับระบบเสียงแบบ 8 Channel และรองรับ One Bit Audio ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้ใน Super Audio CD ด้วย แต่จะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นและมากกว่า Super Audio CD ถึง 4 เท่าด้วยกัน และยิ่งในเวอร์ชัน 1.3 ยิ่งมีการพัฒนาให้รองรับระบบเสียงที่มีคุณภาพเทียบเท่าDolby  TrueHD และ  DTS-HD  Master  Audio ด้วย

แหล่งที่มา
http://www.ban4tit.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=19&Category=ban4titcom&thispage=1&No=1254595


.................................................................................................................................................

มารู้จักประเภทของสาย HDMI

 


เดี๋ยว นี้ HDMI ซึ่งเป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลภาพและเสียงหลายช่องแบบดิจิตอล นั้นตอนนี้เป็นที่นิยมมากจนเห็นกันเป็นของธรรมดา ๆ ไปแล้ว แต่เท่าที่สังเกตดู พบว่าหลาย ๆ คนยังสับสนเกี่ยวกับเรื่องประเภทของสาย HDMI วันนี้ RE.V-> ก็จะเอาเรื่องนี้มานำเสนอให้ได้อ่านกันครับ

เลขเวอร์ชั่นนั้นสำคัญไฉน
มาตรฐาน HDMI นั้นเป็นมาตรฐานที่ไม่อยู่นิ่งเหมือนมาตรฐานตัวอื่น ๆ เพราะว่าทางผู้พัฒนามีการเพิ่มเติมความสามารถต่าง ๆ ลงไปในมาตรฐานอยู่ตลอดเวลา ทำให้เจ้า HDMI นี้เก่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบัน เวอร์ชั่นล่าสุดของ HDMI อยู่ที่ 1.4 ซึ่งมีความสามารถหลัก ๆ ที่เพิ่มเติมจากเวอร์ชั่น 1.3 อยู่ดังนี้ครับ
•   HDMI Ethernet Channel (HEC) เพิ่มช่องสัญญาณเครือข่ายความเร็วสูงสุด 100 Mbps หรือให้พูดง่าย ๆ ก็คือเพิ่มสาย LAN เข้ามาใน HDMI น่ะแหละ
•   Audio Return Channel (ARC) ทำให้โทรทัศน์สามารถส่งสัญญาณเสียงกลับไปที่ A/V Reciever ได้ เพื่อให้เสียงจากโทรทัศน์ไปออกที่ชุดลำโพงได้ (ปกติโทรทัศน์จะทำได้แค่รับสัญญาณภาพที่ต่อออกมาจาก AVR เท่านั้น)
•   รองรับระบบภาพแบบ 3D
•   รองรับวิดีโอที่มีความละเอียดระดับ 4K (4096 x 2160 พิกเซล)
•   Content Type รองรับการส่งสัญญาณประเภทของเนื้อหาจากเครื่องเล่นไปโทรทัศน์ ทำให้โทรทัศน์สามารถปรับเปลี่ยนการแสดงผลให้เจ้ากับเนื้อหาได้
•   รองรับ Color Space เพิ่มเติม ซึ่งส่วนมากจะเป็น Color Space ที่ใช้ในไฟล์รูปถ่ายต่าง ๆ เช่น Adobe RGB
นอก จากความสามารถที่เพิ่มมา ก็ยังมีการกำหนดเรื่องของหัวปลั๊กแบบใหม่ ๆ และประเภทของสายที่เพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งเราจะพูดถึงในหัวข้อถัดไป

  ประเภทของสาย HDMI

ทาง HDMI นั้นได้เริ่มแบ่งประเภทของสายตั้งแต่ช่วงประมาณเวอร์ชั่น 1.3 ซึ่งก็คือแบบ Standard และ High Speed และในเวอร์ชั่น 1.4 เองนั้นก็ได้มีการเพิ่มชนิดของสายเข้ามาอีก ทำให้ปัจจุบันสาย HDMI มีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
•   Standard HDMI Cable รองรับปริมาณข้อมูลในการส่งสัญญาณภาพที่ 1080i และ 720p ได้อย่างราบลื่น เหมาะกับการใช้งานกับพวกกล่องเคเบิ้ลทีวี กล่องดาวเทียม หรือเครื่องเล่นดีวีดีแบบ up-scale
•   Standard HDMI Cable with Ethernet ความสามารถเหมือนสาย Standard แต่เพิ่ม Ethernet Channel สำหรับอุปกรณ์ที่รองรับ HDMI-HEC
•   Standard Automotive HDMI Cable ความสามารถเหมือนสาย Standard แต่เพิ่มเติมการทดสอบให้มากกว่า เพราะสายต้องนำไปใช้ในรถยนต์ซึ่งมีการกวนกันของสัญญาณสูงกว่าการใช้งานตาม บ้าน
•   High Speed HDMI Cable รองรับปริมาณข้อมูลในการส่งสัญญาณภาพได้มากกว่าที่ 1080p ขึ้นไป และรองรับการส่งสัญญาณภาพแบบ 3D 4K และ Deep Color เหมาะกับการใช้งานกับเครื่องเล่นบลูเรย์ เครื่องเล่นเกมแบบ HD เช่น PlayStation 3
•   High Speed HDMI Cable with Ethernet ความสามารถเหมือนสาย High Speed แต่เพิ่ม Ethernet Channel เข้ามา

 

ซึ่ง สายแต่ละประเภทนั้นจะถูกทาง HDMI ทดสอบประสิทธิภาพตามเกณฑ์ข้างบน ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้โลโก้บนตัวสินค้าได้ อย่างไรก็ตามตัวสายนั้นอาจจะมีประสิทธิภาพที่มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดที่สาย เส้นนั้นทดสอบผ่านได้ เช่น สายแบบ Standard บางเจ้าอาจจะสามารถส่งสัญญาณภาพได้ถึง 1080p ซึ่งมากกว่ามาตรฐาน แต่อาจจะไม่สามารถใช้งานกับสัญญาณภาพแบบ 3D ได้ หรือสาย HDMI บางรุ่นของบริษัท Monster ซึ่งทำสายมาให้รองรับปริมาณข้อมูลเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ จนกล้ารับประกัน ว่า ไม่ว่าอุปกรณ์จะมีการเปลี่ยนแปลงหรืออัพเกรดไปอย่างไร สายของ Monster จะยังใช้งานได้อยู่
แล้ว เลขเวอร์ชั่นล่ะ ไม่ใช้แล้วเหรอ คำตอบมันก็ไม่ได้ใช้กันแต่แรกแล้วครับ แต่ผู้ผลิตเป็นคนเอาเลขเวอร์ชั่นไปใส่กันเอง จนทำให้คนซื้อเมื่อก่อนลืมไปเลยว่าสาย HDMI มันมีแค่ Standard กับ High Speed เท่านั้น ไม่ใช่ 1.2 1.3 หรือ 1.4 และนี้อาจจะเป็นสาเหตุให้ทาง HDMI ได้บังคับให้เหล่าผู้ผลิตสายห้ามใส่เลขเวอร์ชั่นลงในตัวสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการโฆษณา ซึ่งผมคิดว่าเพื่อลดความสับสนในการเลือกซื้อสายให้ถูกต้องตามการใช้งาน

สรุปก็คือสาย HDMI มี 5 ประเภท และเลขเวอร์ชั่นก็ไม่ได้บอกถึงประเภทของสายครับ

รวมปัญหาที่หลาย ๆ คนมักจะถามประจำ

ผมมีเครื่อง XXX อยู่ อยากจะต่อดู 3D มีสาย HDMI รุ่นเก่าอยู่ ต้องเปลี่ยนสาย HDMI ใหม่หรือไม่
ถ้า หากสายที่ใช้เดิมนั้นเป็นสายแบบ High Speed ส่วนมากจะสามารถใช้ดู 3D ได้เลยโดยไม่ต้องเปลี่ยนสาย และทุกฟีเจอร์ใน HDMI 1.4 นั้นหากมีสาย High Speed เดิมอยู่แล้ว แทบไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสายใหม่เลย ยกเว้นฟีเจอร์ Ethernet Channel เท่านั้นที่ต้องใช้สายเส้นใหม่ เพราะมีการปรับปรุงตัวสายเพิ่มเติม

สาย HDMI สามารถยาวได้ที่สุดเท่าไร
ทาง HDMI ไม่ได้กำหนดความยาวมากสุดของสายเอาไว้ เพียงแต่ถ้ามีคนทำสายความยาวมาก ๆ มาแล้วผ่านการทดสอบประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะการรับรองไป จาก FAQ ของทาง HDMI นั้นได้เคยรับรองสายความยาวมากถึง 10 เมตรมาแล้ว

ใช้อุปกรณ์ที่เป็น HDMI 1.4 ต้องใช้สายที่เป็น HDMI 1.4 หรือไม่
จากข้างต้นที่ว่าตัวสายไม่มีเวอร์ชั่น จะใช้สายอะไรก็ได้ แต่เลือกประเภทของสายให้ถูกกับการใช้งานล่ะกัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าสายที่ซื้อมานั้นได้รับการรับรองจากทาง HDMI จริง ๆ ไม่ใช่เอาโลโก้มาติดบนกล่องเท่ ๆ
แนะนำให้ซื้อสายจากบริษัทหรือผู้ผลิตที่เป็นสมาชิกกับทาง HDMI สามารถดูรายชื่อได้จาก ที่นี้

สาย HDMI ราคาถูกกับราคาแพงต่างกันที่ไหน
สาย ราคาถูกกับราคาแพงนั้นมักต่างกันที่การออกแบบหัวปลั๊ก คุณภาพของตัววัสดุที่ใช้ทำสาย และขั้นตอนการทดสอบคุณภาพต่าง ๆ สายที่แพงกว่านั้นมักจะออกแบบมาให้ตัวสายทนต่อการดึงหัวปลั๊กเข้า – ออก การขดงอของสาย การหักสายที่ตัวปลั๊กได้ดีกว่าสายราคาถูก โดยเฉพาะสายราคาถูกโนเนมที่หน้าตาอาจจะดูคล้าย ๆ สายมียี่ห้อ แต่พอใช้งานไปสักระยะก็พังคามือซะแล้ว และส่งสัญญาณได้ตามที่ระบุเอาไว้ นอกจากนี้บางบริษัทยังมีการรับประกันสินค้าให้ด้วย

More info

ใครสนใจอยากอ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม สามารถตามไปอ่านได้ที่เว็บของทาง HDMI ได้เลยครับ
HDMI.org

 

แหล่งที่มา

http://www.pome-sat.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539498107&Ntype=1


............................................................................

ความแตกต่างระหว่างสาย HDMI ราคาถูกกับราคาแพง

“คำถาม: สาย HDMI แบบเส้นละ 300 บาท กับเส้นละ 4,000 บาทต่างกันตรงไหน ผมควรจะซื้อแบบไหนดีครับ?”
ผม (ผู้เขียน) เป็นวิศวกรด้านกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ ผมทำงานคลุกคลีอยู่กับสัญญาณอนาล็อก และดิจิตอลอยู่ทุกๆ วัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ผมคิดว่าผมมีคุณวุฒิและคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะตอบคำถาม นี้
และคำตอบสำหรับคำถามนี้ก็คือ “ไม่ครับ – สาย HDMI ราคาแพงไม่ช่วยทำให้คุณภาพของภาพและเสียงดีขึ้นแต่อย่างใด”
ผมขออธิบายเหตุผลทางด้านเทคนิคที่ค่อนข้างซับซ้อนก่อน และหลังจากนั้นจะอธิบายในเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งผมหวังว่ามันจะฟังดูสมเหตุสมผลสำหรับคุณ ถ้าคุณไม่อยากอ่านข้อมูลเชิงเทคนิคล่ะก็ ขอแนะนำให้ข้ามไปอ่านใน Section B ครับ

Section A:
ด้วยหลักการง่ายๆ ที่ว่า สายไฟถูกออกแบบมาให้ส่งสัญญาณไฟฟ้า อะไรก็ตามที่ถูกส่งผ่านสายไฟสุดท้ายแล้วเป็นเพียง กระแส/ความต่างศักย์ ที่เราป้อนเข้าไปให้มัน
ก่อนเข้าสู่เรื่องสาย HDMI ขอพูดกันด้วยเรื่องสายอนาล็อกก่อน สัญญาณวีดีโอแบบอนาล็อกที่ส่งผ่านสายนั้นจะเป็นกระแสไฟที่เป็นแบบ 1 volt peak to peak หรืออธิบายง่ายๆ ว่า ถ้าเราวัดความต่างศักย์ของกระแสในสายเส้นนี้ที่ voltage ต่ำสุดกับที่ voltage สูงสุด เราจะวัดได้ 1 volt พอดี สัญญาณอนาล็อกจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามช่วงเวลา (slices of time) ซึ่งจะตรงกับจำนวน “เส้น (lines)” ของสัญญาณที่ส่งไปยังทีวี ผมจะขอไม่ลงในรายละเอียดตรงส่วนนี้ เพราะค่อนข้างเป็นรายละเอียดทางเทคนิคที่ซับซ้อน
พูดง่ายๆ ก็คือ สัญญาณอนาล็อก จะประกอบไปด้วย “front porch” หรือสัญญาณส่วนหน้า ซึ่งสัญญาณส่วนนี้จะเป็นสัญญาณที่บอกคุณลักษณะของสัญญาณวีดีโอที่ปล่อยมาจาก แหล่งปล่
อยสัญญาณ ซึ่งสัญญาณในส่วนนี้จะช่วยทีวีของคุณในการกำหนดระดับสีดำ (black level) ของวีดีโอที่จะแสดงบนทีวี และต่อจาก front porch ก็จะเป็นในส่วนของสัญญาณภาพ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นเส้นๆ (lines) โดยจะแบ่งเป็น 455 half cycles ต่อเส้นสัญญาณ 1 เส้นที่แสดงบนทีวี

ขอผมเน้นย้ำอีกครั้ง ว่าผมจะไม่ลงรายละเอียดในเรื่องของการผสมข้อมูลต่างๆ เช่น chrominance (ข้อมูลเกี่ยวกับสี) และ luminance (ข้อมูลเกี่ยวความสว่าง) ลงไปในสัญญาณอนาล็อก เนื่องจากผมเกรงว่ามันจะทำให้บทความนี้ดูซับซ้อนเกินไป ผมขอพูดสรุปตรงนี้ว่าสัญญาณอนาล็อกที่ถูกส่งไปยังทีวีนั้น จะประกอบด้วยข้อมูลของเส้นสัญญาณภาพที่ทีวีจะนำไปแสดงให้คุณเห็น และยังประกอบด้วยสัญญาณข้อมูลอื่นๆ ที่ทีวีไม่แสดงให้คุณเห็น เช่น close captioning และ test signal เป็นต้น
เมื่อคุณใช้เครื่องมือ (scope) ในการดูสัญญาณอนาล็อกที่ส่งไปยังทีวี คุณจะเห็น waveform ที่มีลักษณะคล้ายๆ ภาพดังต่อไปนี้
Waveform หรือ “คลื่น” ที่เห็นในภาพ เป็น waveform ของสัญญาณอนาล็อก ถ้าเราจ้องไปที่ timeslice (ช่วงใดช่วงหนึ่งของคลื่น) เราจะเห็นว่าในช่วงนั้นสัญญาณมันมีความต่างศักย์เท่าใด
ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นการง่ายมาก ที่สัญญาณอนาล็อกจะถูกรบกวน และผสมปนเปไปกับสัญญาณที่เข้ามารบกวนนั้น ซึ่งเมื่อการรบกวนเกิดขึ้น ก็จะทำให้มี noise เพิ่มเข้าไปในสัญญาณ และยิ่งมี noise ในสัญญาณมากขึ้นเท่าไหร่ ภาพที่แสดงบนโทรทัศน์ก็จะด้อยคุณภาพลงเท่านั้น คุณจะเริ่มเห็นเอฟเฟคท์แปลกๆ บนภาพ เช่น จุดลายๆ (snow), เส้นต่างๆ และสีที่ผิดเพี้ยน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะว่า waveform ที่ส่งผ่านสายถูกรบกวนจนมีผลให้สัญญาณที่ส่งมาจากแหล่งกำเนิดผิดเพี้ยนไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเข้าสู่ยุคดิจิตอล (ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงสัญญาณดิจิตอลที่ส่งผ่านสาย HDMI) ข้อมูลที่ส่งผ่านสายสัญญาณจะถูกเข้ารหัส (encoded) ด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกับแบบอนาล็อก โดยข้อมูลที่ส่งผ่านสายจะเป็นชุดของบิท (bits) หรือพูดง่ายๆ คือ สัญญาณที่ส่งจะเป็นรหัสที่แสดงว่าข้อมูลเป็น ON หรือ OFF เท่านั้น โดยมันไม่สนใจว่าที่ timeslice นั้นๆ จะมีความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็น 4.323 โวลต์ หรือ 4.927 โวลต์ สิ่งที่มันสนใจอย่างเดียวคือว่าสัญญาณตรงนั้นเป็น on หรือ off เท่านั้น เมื่อเราเอาสัญญาณดิจิตอลมาพล็อตเป็นกราฟ จะได้ภาพดังนี้
นี่ล่ะครับสัญญาณดิจิตอล ในแต่ละ slice ของสัญญาณ บิทไหนที่ขึ้นสูง (high) สัญญาณจะเป็น on และบิทไหนที่ลงต่ำ (low) สัญญาณก็จะเป็น off
ด้วยเหตุนี้ ถึงคุณจะผสม noise จำนวนเล็กน้อย หรือจำนวนมหาศาลเข้าไปในสัญญาณดิจิตอลก็ตาม มันก็จะไม่ส่งผลอะไรเลย เพราะยังไงสัญญาณก็ยังเป็น ON หรือ OFF อยู่วันยังค่ำ

ทีนี้เรามาดูการเปรียบเทียบในแบบที่เข้าใจง่ายกันเถอะ

Section B:
อนาล็อก: ลองนึกถึงขั้นบันไดสัก 200 ขั้นไว้ในใจนะครับ และให้มีนาย A กำลังไต่บันไดอยู่ สัญญาณอนาล็อก จะเป็นตัวบอกว่านาย A อยู่ที่บันไดขั้นไหน ณ ขณะเวลาหนึ่งๆ และสมมติว่านาย A กำลังเดินขึ้นบันไดไปเรื่อยๆ (เปรียบเสมือนสัญญาณที่ถูกรบกวน และเพี้ยนจากต้นฉบับไปเรื่อยๆ) ตรงนี้ล่ะที่ความผิดพลาดจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ตัวอย่างเช่น สมมติว่า ณ ขณะนั้นนาย A อยู่บนบันไดขั้นที่ 101 แต่ด้วยสัญญาณที่รบกวน คุณอาจจะเข้าใจผิดว่าเขากำลังอยู่ขั้นที่ 102 และยิ่งนาย A เดินขึ้นบันไดสูงขึ้นไปเรื่อยๆ คุณก็จะเริ่มสับสนขึ้นเรื่อยๆ จนไปถึงจุดจุดหนึ่ง คุณจะไม่สามารถบอกได้เลยว่า ณ ขณะนี้นาย A อยู่ที่บันไดขั้นไหนกันแน่
เพิ่มเติมจากผู้แปล: เนื่องจากสัญญาณอนาล็อก เป็นการวัดความต่างศักย์ของกระแส ณ เวลา (timeslice) ขณะใดขณะหนึ่ง สมมติว่า สัญญาณที่มันควรจะเป็น ณ ขณะนั้นคือ 0.75 โวลต์ แต่เนื่องจากมีการรบกวน ทำให้สัญญาณ ณ ขณะนั้น กลายเป็น 0.68 โวลต์ จึงทำให้ทีวีของเราตีความสัญญาณนั้นไม่ถูกต้อง และนำไปสู่การแสดงภาพที่ผิดเพี้ยนนั่นเอง
ดิจิตอล: ลองนึกถึงบันได 200 ขั้นกับนาย A เหมือนเดิมนะครับ – ในกรณีที่เป็นสัญญาณดิจิตอล คุณจะไม่สนใจว่านาย A จะอยู่บันไดขั้นที่ 13 หรือ 15 แต่สิ่งที่คุณสนใจก็คือ นาย A อยู่ “ข้างบน” หรือ “ข้างล่าง” ถึงแม้นาย A จะเดินขึ้นบันไดไปอีกกี่ขั้นก็ตาม และคุณจะไม่สามารถบอกได้อีกต่อไปว่าเขาอยู่บันไดขั้นไหนแล้ว (จะเพิ่มสัญญาณรบกวนหรือ noise ไปมากเท่าใดก็ตาม) แต่สิ่งที่คุณสามารถที่จะบอกได้แน่นอนก็คือ ณ ขณะนั้นนาย A อยู่ “ข้างบน” หรือ “ข้างล่าง” (เป็น “1” หรือ “0” นั่นเอง)
และสมมติว่า นาย A เดินขึ้นบันไดไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่คุณไม่สามารถบอกได้อีกต่อไปว่านาย A เป็น 1 หรือ 0 กันแน่ (เพิ่ม noise เข้าไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่เครื่องรับสัญญาณไม่สามารถแยกแยะได้อีกต่อไปว่าอะไรคือ “ข้อมูล” และอะไรคือ “noise” – ผู้แปล) แต่ก็นับเป็นข้อดีของโลกดิจิตอลครับ คือ อุปกรณ์ดิจิตอลจะไม่ใช้วิธี “เดา” เมื่อมันได้รับสัญญาณ มันจะทำงานได้ แต่ถ้ามันรับสัญญาณไม่ได้ มันจะไม่ทำงานเลย
(เพิ่มเติมจากผู้แปล: ถ้าสัญญาณ HDMI โดนรบกวนมากจนกระทั่งทีวีไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญญาณกับ noise ได้ล่ะก็ ทีวีของคุณจะไม่ใช้วิธีการคาดเดา แต่มันจะไม่แสดงภาพเลย)
นี่ล่ะครับเป็นเหตุผลว่าทำไมสายสัญญาณราคาถูกไม่มีผลต่อคุณภาพของสัญญาณดิจิตอล
อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าคุณเผอิญไปได้ยินใครพูดว่าเขาสามารถเห็นความแตกต่างระหว่างการใช้สาย HDMI ราคาถูกกับสายราคาแพง คุณก็สามารถหัวเราะเขาในใจได้เลย เพราะเขาได้เสียเงินจำนวนมากมายไปอย่างไร้ประโยชน์ และไร้จุดหมายครับ

หลายๆ คนอาจพูดว่า สาย HDMI ราคาแพงจะให้เสียงที่ดีกว่า นั่นก็เป็นความเชื่อที่ผิดครับ เพราะสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านสาย HDMI เป็นสัญญาณดิจิตอลเช่นเดียวกับสัญญาณวีดีโอ เพราะฉะนั้นทฤษฎีของขั้นบันไดที่ผมได้กล่าวไปแล้วก็สามารถนำมาใช้ตรงนี้ได้ ด้วย… ผมจึงขอเน้นย้ำว่า เนื่องจากมันเป็นสัญญาณดิจิตอล มันจึงไม่มีความแตกต่างอะไรเลยระหว่างสายราคาถูกกับสายราคาแพง

แหล่งที่มา
http://www.vpro.co.th/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-hdmi/



....................................................................................................................................................

สาย HDMI คุณภาพ ต่อ ราคา?


hdmi สาย HDMI คุณภาพ ต่อ ราคา?
HDMI Cable
เป็นอีกหนึ่งปัญหาโลกแตกที่กลายเป็นศึกย่อมๆ ระหว่าง Geek ผู้แน่นทฤษฏีกับ Videophile ผู้มีสายตาเยี่ยงเทพ เกี่ยวกับคุณภาพของสาย HDMI ราคาถูกและแพง ว่าคุณภาพต่างกันหรือไม่ในด้านการใช้งานจริง จริงๆ เรื่องนี้เถียงกันบอร์ดระเบิดไปหลายที่แล้ว แต่วันนี้จะเป็นมุมมองของผมเอง
สำหรับผมเองสาย HDMI ถ้ามันไม่ห่วยจริงๆ ผมมั่นใจว่ายังไงถ้ามีภาพออกมาก็คุณภาพใกล้เคียงกันแน่นอน หรือเผลอๆ อาจจะเท่ากันด้วย ผมเองไม่ได้เป็นพวกหูทองหรือตาเทพอะไรขนาดนั้น ผมมองว่าหลายคนที่เห็นว่าคุณภาพมันต่างกันจริงๆ อาจจะเพราะยังเป็นความคิดเดิมๆ จากยุค analog เสียมากกว่าเพราะเมื่อก่อนผมคงไม่เถียงว่าคุณภาพของ material ที่นำมาใช้งานมีความแตกต่างแน่นอนสำหรับยุคอนาล็อกที่ส่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ ต้องการความเที่ยงตรงสูงมาก ถ้าเกิดออกไซด์นิดๆ หน่อยๆ แน่นอนว่าแรงดันที่ได้ก็จะเปลี่ยนทำให้ตีความเพี้ยนสุดท้ายก็จะเพี้ยนทั้ง กระบวนแน่นอน ฉะนั้นการเคลือบทองตรงจุด contact เพื่อป้องกันการเกิดสนิมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับสายที่เป็น analog
แต่สำหรับสาย HDMI ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปแล้วเพราะเป็นการส่งแบบดิจิตอล ต่างจากสายแบบเก่าคือ Component, VGA, AV, S-Video อย่างสิ้นเชิง ถ้าคุณซื้อสายไม่เกิน 4 เมตรแล้วมีภาพออกมาให้คุณเห็นตามปกติก็มั่นใจได้ว่าสามารถส่งได้ครบถ้วน แน่นอนโดยที่อาการภาพเบลอ สีบูดนั้นไม่มีให้เห็นเพราะสัญญาณที่ส่งออกมานั้นเป็น 0 และ 1 เท่านั้นและสองสัญญาณนี้ความแตกต่างค่อนข้างเยอะสมควรฉะนั้นคุณภาพที่ เครื่องรับแปลออกมาจึงไม่มีการถูกลดทอนค่อนข้างสูงมาก
ผมมีคอมพิวเตอร์เครื่องนึงที่เอาไว้ต่อออกกับทีวีจอใหญ่ๆ ผมมีสายสองเส้นคือสาย VGA (ที่เป็น Analog) และสาย HDMI (ที่เป็น Digital) สายทั้งสองเส้นซื้อจากพันธุ์ทิพย์ชั้น 4 ในราคาไม่เกิน 500 บาท ผมต่อเล่นคอมด้วยความละเอียดแบบ full HD (1080p = 1920*1080px) สาย vga คุณภาพไม่เอาอ่าวเลยในเรื่องคุณภาพของ font มีจุดขาดๆ หายๆ เพียบและไม่เนียนสักนิด ส่วนนึงเพราะสัญญาณที่ถูกลดทอนไปในสาย และนี่ก็คือเหตุผลที่มาตรฐาน HDMI เข้ามามีบทบาทในวงการวิดีโอครับ ซึ่งเมื่อผมต่อด้วย HDMI ถูกๆ ก็ใช้งานได้ครบถ้วนทุกอย่าง font ดูสวยงามเหมือนในจอคอมทุกอย่าง เล่นเกม ดูหนัง ไม่มีอาการกระพริบหรือสะดุดอะไรทั้งสิ้น และผมก็ไม่เห็นว่ามันจะต่างอะไรกับสายแพงๆ ที่ผมเคยลองใช้เท่าไหร่
แน่นอนว่าการซื้อสายแพงไม่ใช่สิ่งที่ผิด เพราะสิ่งที่คุณจะได้คือ
  • ความมั่นใจ
  • คุณภาพสายที่แน่นหนาและไม่หลุดไม่หลวมง่ายๆ
  • ความหรู (สายแพงจัง งามจริงๆ (อันนี้จริงแท้แน่นอน))
  • การรับประกัน (บางยี่ห้ออาจตลอดชีพ)
แต่การซื้อสาย HDMI เส้นละหลายพันมาเพื่อต่อกับ LCD TV เพื่อหวังความละเอียดที่สวยงามกว่าผมไม่ค่อยเห็นด้วยนัก เพราะผมมองว่ามันไม่ได้ให้ความแตกต่างอะไรที่เห็นได้ชัดเจนเลย มีคนมากมายที่พูดถึงสิ่งนี้ ฉะนั้นผมขอสรุปด้วยภาพด้านล่างนี้ละกัน

TheRipHDMI3 สาย HDMI คุณภาพ ต่อ ราคา?


แหล่งที่มา
http://www.techblog.in.th/2010/04/01/hdmi-cable-cheap-and-expansive-overpriced/

 
.